ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี เป็นทางรถไฟสายหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายเหนือและทางรถไฟสายใต้เข้าด้วยกัน โดยเริ่มสำรวจแนวทางการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2496 และเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2497 ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2501 - 2504 ทางรถไฟสายนี้ไม่ได้รับงบประมาณจึงหยุดการก่อสร้างชั่วคราว หลังจากนั้นเมื่อได้รับงบประมาณจึงทำการก่อสร้างต่อและเปิดเดินรถเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2506 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปิดให้บริการ |
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
ที่ตั้ง | จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี |
ปลายทาง | |
จำนวนสถานี | 1 |
การดำเนินงาน | |
รูปแบบ | รถไฟระหว่างเมือง |
ระบบ | รถไฟชานเมือง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย |
ผู้ดำเนินงาน | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
ประวัติ | |
เปิดเมื่อ | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2506 |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 78 กม. (48.47 ไมล์) |
รางกว้าง | ราง 1 เมตร ทางเดี่ยว |
ในอดีตทางรถไฟสายนี้มีสถานีรายทางมากถึง 11 สถานี (ไม่รวมชุมทางหนองปลาดุก) คือ สถานีรถไฟยางประสาท สถานีรถไฟดอนขุนวิเศษ สถานีรถไฟกำแพงแสน สถานีรถไฟหนองฟัก สถานีรถไฟทะเลบก สถานีรถไฟสะพังเขิน สถานีรถไฟศรีสำราญ สถานีรถไฟหนองผักชี สถานีรถไฟบ้านมะขามล้ม สถานีรถไฟสะแกย่างหมู และสถานีรถไฟสุพรรณบุรี ปัจจุบันทางรถไฟสายนี้ได้ยุบสถานีรายทางเหลือเพียงสถานีเดียว คือ สถานีสุพรรณบุรี ที่เหลือมีฐานะเป็นเพียงที่หยุดรถ และป้ายหยุดรถ ประกอบด้วย ป้ายหยุดรถไฟทุ่งบัว ที่หยุดรถไฟโรงเรียนการบิน ที่หยุดรถไฟศรีสำราญ ป้ายหยุดรถไฟดอนทอง และที่หยุดรถไฟมาลัยแมน ในเส้นทางนี้มีขบวนรถไฟเพียงวันละ 2 ขบวน คือ ขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 กรุงเทพ-สุพรรณบุรี-กรุงเทพ[1]
หมายเหตุ : ขบวนรถชานเมืองที่ 355 - 356 ต้นทาง/ปลายทางที่สถานีชุมทางหนองปลาดุก ไม่มีเดินรถช่วงสถานีชุมทางหนองปลาดุก - สถานีสุพรรณบุรี
อนาคตของทางรถไฟสายสุพรรณบุรี ตามรายละเอียดแผนแม่บทการพัฒนาทางรถไฟ ปี 2561 ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี จะถูกควบรวมเข้ากับทางรถไฟสาย E-W Corridor เชื่อมตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งต้นทางจากสถานีท่ากิเลน อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี รอการเชื่อมต่อกับทางรถไฟไปทวาย - ชุมทางหนองปลาดุก - สถานีหนองผักชี - สร้างทางใหม่ ไปตัดกับชุมทางบ้านภาชี ซึ่งจะลดรถไฟสินค้าที่วิ่งผ่านจากเหนือ-อิสาน-ตะวันออก ไปใต้ได้ทั้งหมด และยังสร้างโอกาสการพัฒนาการขนส่งสินค้า ระหว่าง ตะวันออก-ตะวันตก พร้อมเชื่อมต่อการเดินทางกับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย[2] รวมทั้งรถไฟสายสุพรรณบุรี อนาคตถูกตัดเส้นทางรถไฟใหม่ช่วง สุพรรณบุรี-นครสวรรค์ (MR1-7) และ สุพรรณบุรี-นครปฐม (MR1-8) เป็นหนึ่งในโครงข่าย mr map ช่วง เชียงราย-นราธิวาส[3]
โครงการพัฒนาทางรถไฟสายใหม่ ช่วงกาญจนบุรี-สุพรรณบุรี-ชุมทางบ้านภาชีแก้ไข
แนวเส้นทางจะเป็น การก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ความกว้าง 1 เมตร หรือ Meter Gauge โดยจะมีการออกแบบแนวเส้นทาง รถไฟเพื่อให้สามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 160 กม./ชม. และเพื่อความปลอดภัยการก่อสร้างทางรถไฟสาย ใหม่นี้ได้กำหนดให้มีแนวรั้วกั้นตลอดแนวเส้นทาง และออกแบบบริเวณที่เป็นจุดตัดรถไฟกับถนนเป็นจุดตัดต่างระดับ เส้นทางโครงการเริ่มต้นจากสถานีท่ากิเลนและสิ้นสุดแนวเส้นทางโครงการที่สถานีชุมทางบ้านภาชีแนวเส้นทางแบ่งเป็น 6 ช่วง คือ
- ช่วงที่ 1 จากสถานีรถไฟท่ากิเลนถึงสถานีรถไฟวังเย็น จะเป็นการก่อสร้างทางคู่ใหม่ขนานกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมโดยก่อสร้างอยู่ในเขตทางของการรถไฟเดิม ระยะทาง 23 กม.
- ช่วงที่ 2 หลังจากผ่านสถานีรถไฟวังเย็น จะตัดแนวเส้นทางรถไฟใหม่มาตามแนวทิศตะวันออกเป็นแนวเลี่ยงตัว จังหวัดกาญจนบุรี ที่เป็นชุมชนหนาแน่น และมีรัศมีโค้งแคบทำให้รถไฟไม่สามารถทำความเร็วได้ตามที่ต้องการ จนมาบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมที่บริเวณสถานีรถไฟท่าเรือน้อย โดยเส้นทางในช่วงนี้จะเป็นการเวนคืนเพื่อตัดแนวเส้นทางรถไฟใหม่ทั้งหมดระยะทาง 29 กม.
- ช่วงที่ 3 จากสถานีรถไฟท่าเรือน้อยถึงสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก จะเป็นการก่อสร้างทางคู่ใหม่ขนานกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมโดยก่อสร้างอยู่ในเขตทางของการรถไฟเดิม ระยะทาง 30 กม.
- ช่วงที่ 4 สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก–สถานีรถไฟหนองผักชี จะเป็นการก่อสร้างทางคู่ใหม่ขนานกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมโดยก่อสร้างอยู่ในเขตทางของการรถไฟฯ สายชุมทางหนองปลาดุก–สุพรรณบุรี โดยรูปแบบโครงสร้างทางรถไฟในช่วงที่ผ่านอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จะเป็นแบบสะพานช่วงสั้นเพราะอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากระยะทาง 63 กม.
- ช่วงที่ 5 จากสถานีหนองรถไฟผักชี–สถานีรถไฟมาบพระจันทร์จะตัดเป็นแนวเส้นทางรถไฟใหม่ทั้งหมดมาตามแนวทิศตะวันออก โดยแนวเส้นทาง จะเป็นแบบสะพานช่วงสั้นเพราะอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากระยะทาง 67.5 กม.
- ช่วงที่ 6 จากสถานีรถไฟมาบพระจันทร์–สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี จะเป็นการก่อสร้างทางคู่ใหม่ขนานกับแนวเส้นทางรถไฟเดิม โดยก่อสร้างอยู่ในเขตทางของการรถไฟฯ สายเหนือ ระยะทาง 8.5 กม. รวมระยะทางทั้งหมด 221 กม. โดยแบ่งเป็นการก่อสร้างทางคู่แนวเส้นทางใหม่ 96.5 กม. และเป็นการก่อสร้างทางคู่ใหม่ขนานกับแนว เส้นทางรถไฟเดิม 124.5 กม.
รายชื่อสถานีรถไฟ สายสุพรรณบุรีแก้ไข
ลำดับสถานีจาก กท. และธบ. | ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ | ชื่อภาษาอังกฤษ | เลขรหัส | ระยะทางจาก ธบ. | ชั้นสถานี | ตัวย่อ | อาณัติสัญญาณ | ระบบบังคับประแจ | ที่ตั้ง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตำบล | อำเภอ | จังหวัด | ||||||||||
ชุมทางหนองปลาดุก - สุพรรณบุรี | ||||||||||||
25/19 | ชุมทางหนองปลาดุก | Nong Pla Duk Junction | 4020 | 64.19 กม. | 2 | ปด. | ไฟสีสามท่า ใช้ห่วงทางสะดวก | สายลวด | หนองกบ | บ้านโป่ง | ราชบุรี | แยกไปสายใต้ กับสายน้ำตก |
– | ยางประสาท | Yang Prasat | 4022 | 71.60 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | ยะ. | – | – | บ้านยาง | เมืองนครปฐม | นครปฐม | เข้าเขตจังหวัดนครปฐม, เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[4] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2519[5] ฝ่ายการช่างโยธา
|
– | ดอนขุนวิเศษ | Don Khun Wiset | 4024 | 80.50 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | – | – | ห้วยหมอนทอง | กำแพงแสน | เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[6] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2520[7] | ||
– | กำแพงแสน | Kamphaeng Saen | 4025 | 85.30 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | กำ. | – | – | เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[8] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2519[9] | |||
26/20 | ทุ่งบัว | Thung Bua | 4026 | 87.86 กม. | ที่หยุดรถ | วบ. | – | – | รางพิกุล | |||
– | หนองฟัก | Nong Fak | 4027 | 93.00 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | นฟ. | – | – | ทุ่งบัว | เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[10] เดิมชื่อสถานี "ทุ่งขวาง" และเปลี่ยนชื่อสถานีเป็น "หนองฟัก"[11] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2515[12] | ||
27/21 | โรงเรียนการบิน | Flying Training School | 4028 | 96.40 กม. | ที่หยุดรถ | ริ. | – | – | กระตีบ | เปิดเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2531 | ||
– | ทะเลบก | Tale Bok | 4029 | 99.60 กม. | ยุบเลิกใช้งาน | ทะ. | – | – | เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[13] และเปิดเป็นสถานีมีทางสะดวก มีทางตันและชานบรรทุกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2514[14] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2520[7] | |||
– | หนองวัลย์เปรียง | Nong Wan Priang | 4031 | 104.97 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | หเ. | – | – | ทุ่งคอก | สองพี่น้อง | สุพรรณบุรี | เข้าเขตจังหวัดสุพรรณบุรี, เปิดเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2509[15][16] |
– | สะพังเขิน | Saphang Khoen | 4032 | 107.00 กม. | ยุบเลิกใช้งาน | – | – | – | เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[17] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2509[16] เนื่องจากเปิดที่หยุดรถหนองวัลย์เปรียงขึ้นมาแทน | |||
ดอนมะนาว | ||||||||||||
28/22 | ศรีสำราญ | Sri Samran | 4033 | 113.30 กม. | ที่หยุดรถ | สญ. | – | – | สองพี่น้อง | ตั้งอยู่ในเขตของเทศบาลเมืองสองพี่น้อง, ลงที่นี่สามารถไปอำเภอสองพี่น้องได้สะดวก, เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[18] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อปี 2528 | ||
– | ดอนสงวน | Dan Sa Nguan | 4035 | 118.97 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | ดน. | หัวโพธิ์ | เปิดเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2508[19] | ||||
29/23 | ดอนทอง | Don Thong | 4036 | 122.31 กม. | ที่หยุดรถ | ดถ. | – | – | วัดโบสถ์ | บางปลาม้า | ||
- | หนองผักชี | Nong Phak Chi | 4037 | 125.50 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | ผช. | - | - | ||||
- | บ้านมะขามล้ม | Ban Makham Lom | 4039 | 131.35 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | มข. | - | - | มะขามล้ม | เคยเป็นสถานี ยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2522 | ||
- | สะแกย่างหมู | Sakae Yang Mu | 4040 | 135.35 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | ส ู. | - | - | เคยเป็นสถานี ยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2515[21] | |||
30/24 | สุพรรณบุรี | Suphan Buri | 4042 | 141.60 กม. | 2 | สพ. | ป้ายเขตสถานี ใช้ห่วงทางสะดวก | คันโยก | รั้วใหญ่ | เมืองสุพรรณบุรี | สถานีประจำจังหวัดสุพรรณบุรีและเป็นสถานีเพียงแห่งเดียวของทางสายนี้
ฝ่ายการช่างโยธา
| |
31/25 | มาลัยแมน | Ma Lai Maen | – | 142.66 กม. | ที่หยุดรถ | – | - | - | เปิดเมื่อ 5 มกราคม 2539 เป็นจุดสิ้นสุดทางรถไฟสายสุพรรณบุรี |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-03-10.
- ↑ โครงการพัฒนารถไฟสายใหม่ ช่วงกาญจนบุรี - สุพรรณบุรี - ชุมทางบ้านภาชี สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566
- ↑ "เส้นทาง MR-Map – MR-MAP" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.71+600 "สถานียางประสาท"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500
- ↑ "ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2520 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2519)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2519
- ↑ "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.80+500 "สถานีดอนขุนวิเศษ"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
- ↑ 7.0 7.1 "ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2520 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520
- ↑ "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.85+300 "สถานีกำแพงแสน"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500
- ↑ "ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2519 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
- ↑ "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.93+000 "สถานีหนองฟัก"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500
- ↑ "กรมศิลปากรพิจารณาแล้วมีความเห็นพ้องด้วย ส่วนกระทรวงมหาดไทยมีความเห็นว่า สำหรับ สถานีทุ่งขวาง ควรใช้ชื่อสถานีว่า สถานีหนองฟัก สถานีอื่นๆนอกนั้นเหมาะสมแล้ว ณ วันที่ 26 สค. 2500 ป. ศกุนตนาค ลงนามแทนผู้ว่า". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500
- ↑ "ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
- ↑ "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.99+600 "สถานีทะเลบก"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
- ↑ "ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 เปิดสถานีทะเลบก ในทางสายสุพรรณบุรี เป็นสถานีทางสะดวก สร้างทางหลีกทาง 2 มีความยาว 502.53 สร้างทางตันมีความยาว332.23 และสร้างชานบรรทุกขนาด 10.00+60.00 เมตร". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2514
- ↑ "ตั้งชื่อที่หยุดรถสร้างขึ้นมาใหม่ในทางสายใหม่ว่า "หนองวัลย์เปรียง" ด้วยการรถไฟฯได้ให้ฝ่ายการก่อสร้างจัดสร้างที่หยุดรถขึ้นที่ กม.104+975 ระหว่างสถานีทะเลบก กับสถานีสะพังเขิน ในทางสายสุพรรณบุรี แต่ที่หยุดรถดังกล่าวยังไม่มีชื่อ จึงให้ตั้งชื่อที่หยุดรถที่จะสร้างขึ้นใหม่ตามที่กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบ สั่ง ณ วันที่ 23 มีนาคม 2509". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2509
- ↑ 16.0 16.1 "ด้วยเจ้าหน้าที่เขตก่อสร้างหนองปลาดุก ฝ่ายก่อสร้างได้จัดสร้างที่หยุดรถหนองวัลย์เปรียง ที่กม.104+975 (ระยะทางจากสถานีธนบุรี) ระหว่างสถานีทะเลบกกับสถานีสะพังเขิน ในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี (แทนการย้ายที่ตั้งสถานีสะพังเขิน) เสร็จเรียบร้อยแล้ว และให้ใช้อักษรย่อว่า"หเ" ฉะนั้นให้ยุบเลิกสถานีสะพังเขินนั้นเสีย และให้เปิดที่หยุดรถ หนองวัลย์เปรียงขึ้นใหม่แทน ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2509 เป็นต้นไป". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2509
- ↑ "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.107+000 "สถานีสะพังเขิน"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500
- ↑ "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.113+300 "สถานีศรีสำราญ"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500
- ↑ "ด้วยการรถไฟฯได้จัดสร้างที่หยุดรถขึ้นที่ กม.118/975 ระหว่างสถานีศรีสำราญ กับสถานีหนองผักชี ในทางสายสุพรรณบุรี แต่ที่หยุดรถดังกล่าวยังไม่มีชื่อ จึงได้ตั้งชื่อที่หยุดรถที่สร้างขึ้นใหม่ตามที่กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2508". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2508
- ↑ "ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
- ↑ "ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2516 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515