ทากหนามม่วง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Gastropoda
ชั้นย่อย: Opisthobranchia
อันดับ: Nudibranchia
อันดับย่อย: Aeolidina
วงศ์: Fabellindae
สกุล: Flabellina
สปีชีส์: F.rubrolineata
ชื่อทวินาม
Flabellina rubrolineata
(O'Donoghue, 1929)

ทากหนามม่วง (อังกฤษ: Nudibranch, Purple-Red Flabellina) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา เช่นเดียวกับหอย และหมึก จัดอยู่ในชั้นหอยฝาเดี่ยว และเป็นกลุ่มของทากทะเล และอยู่ในอันดับ Nudibranchia

บทนำ แก้

สัตว์มหัศจรรย์ อัญมณีแห่งท้องทะเล แก้

ทากหนามม่วงถูกจัดอยู่ในอันดับย่อย (Suborder) Aeolidina ซึ่งทากกลุ่มเดียวที่มีลักษณะพิเศษ คือ ducts of the digestive glands และ cnidosacs ที่ยืนยาวออกมานอกลำตัว มีลักษณะคล้ายขนหรือหนาม ตั้งอยู่ตลอดกลางแนวลำตัว และมี cerata อยู่รอบๆข้างของ digestive glands และ cnidosacs แต่ cerataจะมีขนาดเล็กและสั้นกว่า (cereta คืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สแทน gills )

ทากหนามม่วง มีขนาดลำตัวยาว 4 เซนติเมตร รูปร่างยาว ลำตัวสีม่วงลำตัวสีม่วงอ่อนหรือสีขาว มี cerata ขึ้นเป็นกลุ่มอยู่เป็นแถว ส่วนโคนสีของ cerata จะคล้ายสีลำตัว ปลายสีม่วงแก่ ส่วนหัวมีหนวดและ Oral tentacle สีคล้ายลำตัวมีแถบสีม่วงอยู่กลางหนวด ส่วน Rhinophore จะสีเหมือน Cerata ทากหนามม่วงมีการเคลื่อนที่โดยการใช้ส่วน foot ที่อยู่ใต้ mantle คืบคลานไปตามพื้นผิวต่างๆ (การเคลื่อนที่ของทากเปลือย) การป้องกันตัวเป็นแบบเดียวกับทากหนามทั้งหลาย จะกินเข็มพิษของไฮดรอย์เข้าไป ก่อนนำมาที่ปลาย Cerata [1]

บริเวณที่พบได้ พื้นทราย /กองหิน/แนวปะการัง
พฤติกรรม อยู่ตัวเดียวหรือเป็นกลุ่ม
กินอาหาร ไฮดรอยด์ ( การกินอาหาร )
สถานภาพ Common
จุดที่พบในประเทศไทย หมู่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน จ.พังงา , เกาะพุง หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ , เกาะเฮ จ.ภูเก็ต
ความลึกที่พบ 10-20 เมตร


ภาระหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตตัวเล็ก แก้

ทากหนามม่วงมีสีสันที่สวยงามและมีรูปร่างที่แปลกตาน่าสนใจ อีกทั้งไม่สามารถหาชมได้ทั่วไปบนบก ต้องดำน้ำลงไปดูใต้ทะเลจึงเป็นที่ชื่นชอบของนักดำน้ำ และนักถ่ายภาพใต้ ทำให้มีประโยชน์ในด้านของการการท่องเที่ยว ซึ่งการดำน้ำแต่ละครั้งจะมีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร [2] แม้ทากหนามม่วงจะสามรถพบได้ทั้งฝั่งทะเลอันดามัน อ่าวไทย[3] และมีสถานะที่พบได้ค่อนข้างบ่อยครั้ง แต่เนื่องจาก ทากหนามม่วงมีขนาดเล็กจึงต้องใช้เวลาในการตามหาบ้าง

ทุกสิ่งมีชีวิตเกิดมาล้วนมีคุณค่าในตัวของสิ่งมีชีวิตเอง ทากหนามม่วงก็เช่นกัน เพราะอาหารของทากเปลือยคือสัตว์ในพวกไฮดรอยด์หรือขนนกทะเล( รูปร่างขนนก เก็บถาวร 2014-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) ทากหนามม่วงจึงทำหน้าที่ควบคุมประชากรของขนนกทะเลในแนวปะการัง ไม่ให้มีมากเกินไป เพราะการที่มีสิ่งมีชีวิตอื่นในแนวปะการังมากเกินไปจะทำให้ตัวอ่อนของปะการังไม่สามารถลงเกาะได้ [4]อีกทั้งตัวทากหนามม่วงเองก็ยังเป็นอาหารให้กับกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่นทั้งในระยะ ไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็ม จึงถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในแนวปะการัง

วงศาคณาญาติในน่านน้ำไทย แก้

ทากเปลือยในสกุลนี้ทั่วโลกมี 30 ชนิด แต่ในประเทศไทยมีการรายงานพบเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้น คือ F.biocolor , F.exoptata , F.indica , และ F.rubrolieata ซึ่งจะสัมพันธ์กับการกระจายทางภูมิศาสตร์ในเขต Indo-West Pacifi และเขต Circumtropical [5]โดยในแต่ละพื้นที่ที่พบก็จะมีลักษณะหรือสีที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดของอาหารที่กิน[6][7] การศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการโดยการใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมในทากสกุลนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษา โดยเฉพาะทากเปลือยที่กล่าวมายังไม่ข้อมูลการศึกษาทางพันธุกรรมเลย แต่มีการศึกษาในทากเปลือยชนิด F. verrucosa ที่ลักษณะของรูปร่างที่แตกต่างกัน ( 2 From) ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้ตำแหน่งของยีน COI ในไมโตคอนเดรียและยีน 5.8S-ITS2 ในนิเคลียส ซึ่งได้ผลการทดลองว่าทั้ง 2 form เป็นชนิดเดียวกัน แต่มีรูปร่างที่แตกต่างกันเท่านั้น [8]

ปรับเปลี่ยนเพื่ออยู่รอด แก้

การป้องกันตัวเข็มพิษจากไฮดรอยด์ แก้

ทากหนามม่วงและทากในกลุ่ม Arminina จะมีการนำเข็มพิษที่ได้จากการกินเข็มพิษไฮดรอยด์เข้าไป จากนั้นจะเคลื่อนเข็มพิษไปยังปลาย cerata และ cnidosacs เพื่อใช้ป้องกันตัวเมื่อมีศัตรูมาทำร้าย โดยเข็มพิษจะถูกปล่อยออกไป เมื่อศัตรูมาสัมผัส ([1])[9]

การเพิ่มพื้นที่การรับกลิ่น แก้

ทากหนามม่วงและทากเปลือยทุกชนิดจะมีอวัยวะที่เรียกว่าไรโนฟอร์ (Rhinophore)ซึ่งเป็นอวัยวะที่ไว้ใช้ในการรับสัมผัสสารเคมีในมวลน้ำ ซึ่งเปรียบได้กับการดมกลิ่น ทากเปลือยแต่ละชนิดจะมีรูปแบบของไรโนฟอร์ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด การมีไรโนฟอร์รูปแบบต่างๆจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับสัมผัสสารเคมีได้มากขึ้น ซึ่งทากหนามม่วงจะมีไรโนฟอร์แบบ Perfoliate [10]

การหายไปของเหงือก (Gills) แก้

ทากเปลือยทุกชนิดจะมีเหงือกเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สกับน้ำทะเล โดยปกติเหงือกจะอยู่บริเวณหลังของทากเปลือย แต่ในทากหนามม่วงจะมีการลดรูปและปรับเปลี่ยนไปของเหงือก โดยเหงือกจะกลายเป็น Cerata ที่เป็นเส้นๆลักษณะคล้ายกับ ducts of the digestive glands ที่อยู่ตลอดแนวลำตัว และยังมี Cnidosacs ที่ปลาย Cerata อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันสิ่งมีชีวิตที่จะมาตอดกินเหงือกของทากหนามม่วง[11]

อ้างอิง แก้

หนังสือและเอกสารอ้างอิง

  1. สุชนา ชวนิชย์ วรณพ วิยกาจญจน์ และLarry G. Harris. 2554. ชีววิทยาของทากเปลือย. กรุงเทพฯ. 56 หน้า
  2. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ธีระพงศ์ ด้วงดี และ ณรงค์พล สิทธิทวีพัฒน์. 2551. คู่มืออันดามัน หอยทะเลไทย. กรุงเทพฯ. 321 หน้า
  3. Chavanich, S.Viyakarn, V. Sanpanich, K. Harris, L.G. (2013). Diversity and occurrence of nudibranchs in Thailand. Marine Biodiversity, 43(1), 31-36
  4. สุชนา ชวนิชย์ และวรณพ วิยกาจญจน์. 2552 ปะการัง. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.สวนจิตรลดา กรุงเทพฯ. 100 หน้า
  5. Kuiter H.R. , Debelius H., 2007. Nudibranchs of the World. IKAN-Unterwasserachiv. Germany. 390 p.
  6. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ธีระพงศ์ ด้วงดี และ ณรงค์พล สิทธิทวีพัฒน์. 2551. คู่มืออันดามัน หอยทะเลไทย. กรุงเทพฯ. 321 หน้า
  7. Kuiter H.R. , Debelius H., 2007. Nudibranchs of the World. IKAN-Unterwasserachiv. Germany. 390 p.
  8. Eriksson R. , Nygren A. , Sundberg P. (2005). Genetic evidence of phenotypic polymorphism in the aeolid nudibranch Flabellina verrucosa (M. Sars, 1829) (Opisthobranchia: Nudibranchia). Organisms, Diversity & Evolution 6 (2006) 71-76.<http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1439609205000772#>
  9. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ธีระพงศ์ ด้วงดี และ ณรงค์พล สิทธิทวีพัฒน์. 2551. คู่มืออันดามัน หอยทะเลไทย. กรุงเทพฯ. 321 หน้า
  10. สุชนา ชวนิชย์ วรณพ วิยกาจญจน์ และLarry G. Harris. 2554. ชีววิทยาของทากเปลือย. กรุงเทพฯ. 56 หน้า
  11. สุชนา ชวนิชย์ วรณพ วิยกาจญจน์ และLarry G. Harris. 2554. ชีววิทยาของทากเปลือย. กรุงเทพฯ. 56 หน้า