ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์

นางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ (ชื่อเล่น : กุ้ง) (เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2515) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย

ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์
ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ในปี 2565
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงใหม่ เขต 1
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2515 (51 ปี)
พรรค เพื่อไทย

ประวัติแก้ไข

ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2515 เป็นบุตรของนายพรทัศน์ บูรณุปกรณ์ มีน้อง 2 คน คือ ทัศนัย บูรณุปกรณ์ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และนางสาวธารทิพย์ บูรณุปกรณ์ นักธุรกิจ นางสาวทัศนีย์ยังเป็นหลานของนายปกรณ์ บูรณุปกรณ์ อดีต ส.ส. และนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์[1] อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และปริญญาตรีบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบัน สถานภาพโสด

งานการเมืองแก้ไข

ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ เป็นนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลช้างเผือก (พ.ศ. 2546 - 2554) ต่อมาดำรงตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในสมัยของนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ก่อนที่จะลาออกมาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2554 ในนามพรรคเพื่อไทย โดยลงในเขต 1 แทนนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ที่ขึ้นไปลงในระบบบัญชีรายชื่อ และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

หลังรัฐประหารในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 ทัศนีย์ เข้ารับตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่อีกครั้ง ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2559 เธอและน้องสาวถูกนายทหารพระธรรมนูญจับกุมตัวตามคำสั่ง คสช. เนื่องจากมีการกระทำเข้าข่ายทำผิดข้อหายุยงปลุกปั่นฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ก่อนจะนำไปปรับทัศนคติภายในมณฑลทหารบกที่ 11 รักษาพระองค์ เป็นเวลา 7 วัน[2] ก่อนจะถูกปล่อยตัวในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน[3] และต่อมาเธอก็ลาออกจากตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีผลในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 1 และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย แต่ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563 เธอให้การสนับสนุนนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ซึ่งเป็นคู่แข่งของผู้สมัครที่พรรคเพื่อไทยให้การสนับสนุน[5]

ทัศนีย์ มีบทบาทในการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรหลายครั้ง อาทิ การอภิปรายกรณีที่ได้กล่าวว่าได้เขียนใบลาออกไว้ให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องออกมาตอบโต้ว่าให้เก็บไว้ใช้เอง[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก้ไข

ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. หลานบุญเลิศ ครวญ ‘เมื่อไหร่จะจบ ไม่มีที่จะยืนอยู่แล้ว’ ส.ส.เพื่อไทย แห่เมนต์ส่งกำลังใจ
  2. ทหารรวบ "ทัศนีย์" อดีต ส.ส.เชียงใหม่ หลาน "บุญเลิศ" โยงเอกสารบิดเบือนรธน.
  3. ปล่อยตัวแล้ว! “ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์” อดีตส.ส.เชียงใหม่ หลังถูกจับ คดีจม.ประชามติ
  4. https://www.matichon.co.th/region/news_271685
  5. “เพื่อชาติ” ยังไม่ส่งใครชิงนายกอบจ.เชียงใหม่ระบุเหลือเวลาอีกนาน ด้าน “ทัศนีย์” เพื่อไทยยังหนุน “บุญเลิศ” เป็นนายกสมัย 3
  6. บิ๊กตู่ โต้ ส.ส.เชียงใหม่ เก็บใบลาออกไว้ให้ตัวเอง ด้านทัศนีย์สวน มาจาก ปชช. ไม่เคยกลัวเลือกตั้งใหม่
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๔๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข