ทักษะชีวิต (อังกฤษ: Life skills) เป็นสมรรถภาพในการมีพฤติกรรมที่เป็นการปรับตัวที่ดี ซึ่งช่วยให้มนุษย์รับมือกับความจำเป็น/ความต้องการและปัญหาชีวิตของตนเอง[1] หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นสามัตถิยะทางจิต-สังคม (psychosocial competency)[2] มีทักษะจำนวนหนึ่งที่จะได้จากการสอนหรือการปฏิบัติโดยตรงเพื่อใช้ไขปัญหาและคำถามที่มีอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ทักษะที่ว่าจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคาดหวังของสังคม แต่ทักษะที่ช่วยให้อยู่เป็นสุข (well-being) และช่วยให้พัฒนาเป็นสมาชิกทางสังคมที่มีส่วนและก่อประโยชน์ จะพิจารณาว่าเป็นทักษะชีวิต

รายการและหมวดหมู่ แก้

กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เสนอว่า ไม่มีกำหนดแน่นอนเกี่ยวกับทักษะทางจิตสังคมดังที่ว่า[3] แต่ UNICEF ก็ยังให้รายการทักษะทางจิต-สังคมและทักษะระหว่างบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีรวมทั้งที่จำเป็น นอกจากการรู้หนังสือและความรู้พื้นฐานทางคณิต แต่เพราะทักษะในแต่ละวัฒนธรรมไม่เหมือนกันและจะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับช่วงชีวิต จึงเป็นแนวคิดที่ยืดหยุ่นได้โดยธรรมชาติ

ทักษะชีวิตสามารถเกิดโดยเป็นการสังเคราะห์ มีทักษะที่เกิดจากการปฏิบัติ เช่น มุกตลก ที่ช่วยบุคคลให้รู้สึกว่าตนสามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ และให้มองกลับแล้วรู้สึกว่าสถานการณ์ยังรับมือได้ ทักษะชีวิตเป็นสิ่งที่ช่วยให้คลายความหวาดกลัว ความโกรธ ความเครียด และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี[4] ยกตัวอย่างการสังเคราะห์เช่น การตัดสินใจบ่อยครั้งต้องใช้การคิดวิเคราะห์ (เช่น มีทางออกอย่างไรบ้าง) และการกำหนดค่านิยมของตนเองให้ชัดเจน (อะไรเป็นเรื่องสำคัญสำหรับฉัน หรือว่า ฉันรู้สึกอย่างไรในเรื่องนี้) โดยที่สุดแล้ว การทำงานร่วมกันของทักษะต่าง ๆ เป็นตัวบ่งผลทางพฤติกรรมที่สำคัญ โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับกลยุทธ์อื่น ๆ[5]

ทักษะชีวิตต่าง ๆ กันเริ่มตั้งแต่ความรู้เรื่องการเงิน[6] การป้องกันสารเสพติด จนกระทั่งถึงถึงเทคนิคที่ใช้รับมือกับปัญหาความพิการเช่น ออทิซึม

ทักษะชีวิต แก้

องค์การอนามัยโลกกำหนดทักษะชีวิตที่สำคัญไว้ว่ารวม[7]

ส่วนหลักสูตรทักษะชีวิตที่ออกแบบเพื่อนักเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษาบ่อยครั้งเน้นการสื่อสารและทักษะอื่น ๆ ที่เอาไปปฏิบัติได้ ที่จำเป็นเพื่อใช้ชีวิตด้วยตนเอง และเพื่อนักเรียนที่มีปัญหาทางพัฒนาการ ความพิการ และอื่น ๆ[8]

การเป็นพ่อแม่ แก้

พ่อแม่บ่อยครั้งเป็นผู้สอนทักษะชีวิต โดยอ้อมคือผ่านสังเกตการณ์และประสบการณ์ของเด็ก หรือโดยตรงคือสอนทักษะหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ นอกจากนั้นแล้ว การเป็นพ่อแม่เองก็เป็นทักษะชีวิตซึ่งสามารถสอนได้หรืออาจรู้เองโดยธรรมชาติ การสอนทักษะเพื่อรับมือการตั้งครรภ์และความเป็นพ่อแม่ สามารถเป็นไปได้พร้อมกับพัฒนาการทางทักษะอื่น ๆ สำหรับเด็ก ซึ่งอำนวยพ่อแม่ให้แนะแนวทางเด็กเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

มีโปรแกรมทักษะชีวิตหลายอย่างที่สามารถให้ เมื่อโครงสร้างและความสัมพันธ์ที่ดีทางครอบครัวทั่วไปเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะการละเลยของพ่อแม่ การหย่าร้าง หรือเป็นเพราะปัญหาในเด็ก (เช่นการติดสารเสพติดหรือพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ) ยกตัวอย่างเช่น องค์การแรงงานระหว่างประเทศช่วยสอนทักษะชีวิตกับอดีตแรงงานเด็กและนักเรียนที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อช่วยให้หลีกเลี่ยงหรือฟื้นสภาพจากการกระทำทารุณต่อเด็กแบบแย่ที่สุด[9]

การป้องกันพฤติกรรมเทียบกับพัฒนาการเชิงบวก แก้

มีโปรแกรมสอนทักษะชีวิตที่เพ่งการป้องกันพฤติกรรมบางอย่าง แต่โปรแกรมเช่นนี้อาจมีประสิทธิผลน้อย องค์กรให้บริการครอบครัวและเด็กของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาสนับสนุน[10] ให้ใช้โปรแกรมพัฒนาเยาวชนเชิงบวก (Positive Youth Development ตัวย่อ PYD) แทนที่โปรแกรมที่ได้ผลน้อยกว่าเหล่านั้น โดย PYD ให้ความสนใจต่อจุดแข็งของบุคคลแทนที่จะสนใจจุดอ่อนที่อาจจะมีแต่ยังไม่ปรากฏ ซึ่งองค์กรพบว่า ผู้ที่ได้รับการฝึกผ่านโปรแกรมเช่นนี้รู้สึกมั่นใจ มีส่วนร่วม ไวความรู้สึกคนอื่น และเปิดใจมากกว่าวิธีการแบบป้องกัน[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Life Skills Education for Children and Adolescents in Schools, World Health Organization, 1997
  2. Best Thomas - A study on stress and its correlatives with family environment.
  3. "Global evaluation of life skills education programmes" (PDF). unicef.org (Evaluation Report). New York: United Nations Children’s Fund. Augest 2012. p. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ September 2, 2014. While there has been convergence on what the broad groups of core psychosocial skills might be, there is no definitive list or categorization of the skills involved and how they might relate to one another. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. "Humor Therapy - Topic Overview". WebMD. สืบค้นเมื่อ 2016-10-25.
  5. "UNICEF - Search Results". unicef.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-01. สืบค้นเมื่อ 2015-10-20.
  6. "USA Funds Life Skills". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 2016-11-08.
  7. Partners in Life Skills Education, World Health Organization, 1999
  8. "Puget Sound ESD - excellence & equity in education | Pre-K-12 Life Skills Curriculum Guide". psesd.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-23. สืบค้นเมื่อ 2015-10-20.
  9. "Improving Vocational and Life Skills of Ex-Child Labourers and at Risk Children Aged 15 to 17 Years". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-26. สืบค้นเมื่อ 2016-11-08.
  10. "Home | Family and Youth Services Bureau | Administration for Children and Families". acf.hhs.gov. สืบค้นเมื่อ 2015-10-20.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้