ทะเลสาบวาน (ตุรกี: Van Gölü; อาร์มีเนีย: Վանա լիճ, อักษรโรมัน: Vana lič̣; เคิร์ด: Gola Wanê; อังกฤษ: Lake Van) เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศตุรกีและที่ราบสูงอาร์มีเนีย[3][4] ตั้งอยู่ทางตะวันออกไกลของประเทศในจังหวัดวานและจังหวัดบิตลิส เป็นทะเลสาบน้ำเค็มแบบทะเลสาบโซดา ที่ได้รับน้ำมาจากธารน้ำสายเล็ก ๆ หลายสายที่ไหลลงมาจากภูเขาที่รายล้อมอยู่ ทะเลสาบวานเป็นหนึ่งในทะเลสาบปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลังจากที่ภูเขาไฟระเบิดได้สกัดทางน้ำไหลมาตั้งแต่ยุคโบราณ แม้ทะเลสาบวานตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 1,640 เมตร (5,380 ฟุต) ที่มีฤดูหนาวอันโหดร้าย แต่ด้วยความเค็มจัดจึงทำให้ไม่เกิดน้ำแข็ง แม้บริเวณทางเหนือที่ตื้นเขินก็ไม่ค่อยเป็นน้ำแข็ง[5]

ทะเลสาบวาน
ภาพจากอวกาศเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1996
(ส่วนบนของภาพอยู่ฝั่งเกือบตะวันตกเฉียงเหนือ)
ทะเลสาบวานตั้งอยู่ในประเทศตุรกี
ทะเลสาบวาน
ทะเลสาบวาน
ที่ตั้งที่ราบสูงอาร์มีเนีย เอเชียตะวันตก
พิกัด38°38′N 42°49′E / 38.633°N 42.817°E / 38.633; 42.817
ชนิดTectonic lake, ทะเลสาบน้ำเค็ม
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักลำธาร Karasu, Hoşap, Güzelsu, Bendimahi, Zilan และ Yeniköprü[1]
แหล่งน้ำไหลออกไม่มี
พื้นที่รับน้ำ12,500 ตารางกิโลเมตร (4,800 ตารางไมล์)[1]
ประเทศในลุ่มน้ำตุรกี
ช่วงยาวที่สุด119 กิโลเมตร (74 ไมล์)
พื้นที่พื้นน้ำ3,755 ตารางกิโลเมตร (1,450 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย171 เมตร (561 ฟุต)
ความลึกสูงสุด451 เมตร (1,480 ฟุต)[2]
ปริมาณน้ำ607 ลูกบาศก์กิโลเมตร (146 ลูกบาศก์ไมล์)[2]
ความยาวชายฝั่ง1430 กิโลเมตร (270 ไมล์)
ความสูงของพื้นที่1,640 เมตร (5,380 ฟุต)
เกาะAkdamar, Çarpanak (Ktuts), Adır (Lim), Kuş (Arter)
เมืองวาน, Tatvan, Ahlat, Erciş
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Coskun & Musaoğlu 2004.
  2. 2.0 2.1 Degens et al. 1984.
  3. Meiklejohn, John Miller Dow (1895). A New Geography on the Comparative Method, with Maps and Diagrams and an Outline of Commercial Geography (14 ed.). A. M. Holden. p. 306.
  4. Olson, James S.; Pappas, Lee Brigance; Pappas, Nicholas C. J., บ.ก. (1994). An Ethnohistorical Dictionary of the Russian and Soviet Empires. Westport, Connecticut: Greenwood Publishing Group. p. 40. ISBN 0313274975.
  5. "Lake Van" 1998.

บรรณานุกรม แก้