หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม

(เปลี่ยนทางจาก ทองแท่ง ทองแถม)

หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร (2 สมัย) อดีตอธิบดีกรมศุลกากร และผู้อำนวยการธนาคารออมสิน

ทองแท่ง ทองแถม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
7 สิงหาคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 มิถุนายน พ.ศ. 2456
เสียชีวิต22 กันยายน พ.ศ. 2529 (73 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา

ประวัติ

แก้

หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2456 เป็นโอรสของหม่อมเจ้าทองชมพูนุท ทองแถม[1] กับหม่อมหลวงแฉล้ม ทองแถม (สกุลเดิม อิศรเสนา) หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง สมรสกับคุณหญิงจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา (สกุลเดิม วาระศิริ) ธิดาของพระยาวาระศิริศุภเสวี (เอ. วัน วาระศิริ) และคุณหญิงจิตรลดา วาระศิริ มีบุตรธิดา 5 คน ดังนี้

  1. หม่อมหลวงหญิงจารุพันธุ์ (ทองแถม) ทองใหญ่
  2. หม่อมหลวงหญิงอุษาวดี (ทองแถม) วีรบุตร
  3. พันตำรวจโท หม่อมหลวงทองถวัลย์ ทองแถม
  4. หม่อมหลวงหญิงสุจีรา (ทองแถม) วิศิษฏ์กุล
  5. พันเอก หม่อมหลวงพงษ์ชมพูนุท ทองแถม

หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2529

การทำงาน

แก้

หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อปี พ.ศ. 2501 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมธนารักษ์ ในปี พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2506[2] เป็นอธิบดีกรมศุลกากร ในปี พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2515 ในระหว่างนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในระหว่างปี พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2514 และเคยเป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (พ.ศ. 2515 - 2518) รวมถึงเป็นผู้จัดตั้งสถาบันธนาคารออมสินนานาชาติประจำภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน[3]

หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เว็บไซต์ราชสกุลทองแถม. ลำดับราชสกุลทองแถม เก็บถาวร 2013-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2556
  2. ผู้บริหารกรมธนารักษ์
  3. "เกี่ยวกับธนาคาร > > พิพิธภัณฑ์ธนาคาร > > ผู้ก่อตั้ง > ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน > พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๒๕๑๘". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-22. สืบค้นเมื่อ 2019-09-30.
  4. "วุฒิสภาไทย ชุดที่ 3" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-07. สืบค้นเมื่อ 2019-09-30.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๖, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๐๘, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๐๓ ง หน้า ๓๐๔๗, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘๙, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๓ ง หน้า ๒๘๒๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๖