ทองสัมฤทธิ์เบนิน

ทองสัมฤทธิ์เบนิน หรือ เบนินบรอนซ์ (อังกฤษ: Benin Bronzes) เป็นกลุ่มของแผ่นโลหะประดับบางและประติมากรรมโลหะจำนวนมากกว่าหนึ่งพันชิ้น[a] ที่เคยประดับพระราชวังของราชอาณาจักรเบนินที่ซ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของประเทศไนจีเรีย เบนินบรอนซ์เป็นหนึ่งในกลุ่มของตัวอย่างที่ดีที่สุดของศิลปะเบนิน สร้างขึ้นตั้งแต่ในศตวรรษที่สิบสามเป็นต้นมาโดยชาวเอโด

บรรดาทองสัมฤทธิ์เบนินที่จัดแสดงในบริติชมิวเซียม

ในปี 1897 แผ่นโลหะเบนินและวัตถุอื่น ๆ ได้ถูกปล้นไปจากราชอาณาจักรเบนินโดยกองกำลังอังกฤษระหว่างการเดินทางลงโทษราชอาณาจักรเบนิน[3] วัตถุจำนวนสองร้อยชิ้นได้ถูกนำไปส่งมอบให้กับบริติชมิวเซียมในกรุงลอนดอน ในขณะที่ที่เหลือถูกขโมยและอยู่ภายใต้ครอบครองของพิพิธภัณฑ์อื่น ๆ ในทวีปยุโรป[4] ในปัจจุบันชิ้นงานส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การดูแลของบริติชมิวเซียม[3] เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา[5]

เบนินบรอนซ์ได้นำไปสู่การยอมรับวัฒนธรรมแอฟริกาและศิลปะแอฟริกาในยุโรปที่มากขึ้น แรกเริ่มเดิมทีเป็นเรื่องที่ดูเป็นไปไม่ได้ที่จะค้นพบว่ากลุ่มคนที่ "ควรจะป่าเถื่อนและใช้ชีวิตแบบบรรพกาล" จะสามารถรังสรรค์ชิ้นงานที่มีความสวยงามและซับซ้อนเช่นนี้ได้[6] บางส่วนถึงกับเข้าใจผิดว่าการทำเหล็กในเบนินนั้นได้รับมาจากพ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามาติดต่อกับชาวเบนินในยุคสมัยใหม่ตอนต้น[6] แต่ในความเป็นจริงแล้วอาณาจักรเบนินเคยเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมแอฟริกามายาวนานก่อนการเข้ามาของชาวโปรตุเกสเสียอีก[7] และเป็นที่ประจักษ์ว่างานบรอนซ์เหล่านี้สร้างสรรค์ขึ้นในเบนินด้วยวัฒนธรรมพื้นถิ่น ชิ้นงานหลายชิ้นมีอายุเก่าแก่ถึงศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนการติดต่อกับชาวโปรตุเกส ส่วนชิ้นงานส่วนมากอายุราวศตวรรษที่สิบห้าและสิบหก เชื่อกันว่า "ยุคทอง" ของหัตถกรรมลมโลหะเบนินนั้นอยู่ในรัชสมัยของเอซีกี (fl. 1550) และเอเรโซเยน (1735–50) ที่ซึ่งงานหัตถกรรมเหล่านี้มีคุณภาพสูงสุด[8]

ชิ้นงานโลหะเหล่านี้หล่อขึ้นด้วยวิธีลอสท์-แวกซ์ และยอมรับกันว่าเป็นหนึ่งในบรรดาประติมากรรมที่ดีที่สุดที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยวิธีนี้[9]

อ้างอิง แก้

หมายเหตุ แก้

  1. จำนวนที่แน่นอนของเบนินบรอนซ์ยังไม่เป็นที่ชัดเจน[1] แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ระบุว่าอยู่ที่หนึ่งพันถึงหลายพันชิ้น โดย Nevadomsky ระบุว่ามีอยู่รวม 3,000 ถึง 5,000 ชิ้น[2]

อ้างอิง แก้

  1. Dohlvik 2006, p. 7.
  2. Nevadomsky 2005, p. 66.
  3. 3.0 3.1 "British museums may loan Nigeria bronzes that were stolen from Nigeria by British imperialists". The Independent. 24 June 2018. สืบค้นเมื่อ 14 December 2018.
  4. Greenfield 2007, p. 124.
  5. Benin Diplomatic Handbook, p. 23.
  6. 6.0 6.1 Meyerowitz, Eva L. R. (1943). "Ancient Bronzes in the Royal Palace at Benin". The Burlington Magazine for Connoisseurs. The Burlington Magazine Publications, Ltd. 83 (487): 248–253. JSTOR 868735.
  7. "Benin and the Portuguese". Khan Academy. สืบค้นเมื่อ 26 November 2018.
  8. Greenfield 2007, p. 122.
  9. Nevadomsky 2004, pp. 1, 4, 86–8, 95–6.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้