ทวี สุรฤทธิกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวี สุรฤทธิกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตเลขานุการของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช[1][2] อดีตนายกรัฐมนตรี
ทวี สุรฤทธิกุล | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2502 |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติ
แก้ทวี สุรฤทธิกุล เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2502 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท สาขาวิชาการปกครอง จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
แก้ทวี สุรฤทธิกุล เคยเป็นเลขานุการส่วนตัวของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็น "ผู้ช่วยศาสตราจารย์" เคยเป็นประธานกรรมการประจำสาขาวิชา(คณบดี)รัฐศาสตร์ 2 รอบ (2547-2551 และ 2557-2558)เคยเป็นรักษาการรองอธิการบดี มสธ. 2559 - 2561 เป็นกรรมการหลักสูตรผู้นำการเมืองยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย 2547 ถึง ปัจจุบัน เป็นกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์ฯ 2552 ถึง ปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2549 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในภาคส่วนของนักวิชาการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ผศ.ทวี ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส. และขึ้นเวทีราชดำเนิน ซึ่งนำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รวมทั้งได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม[3] ของสมาชิกพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
- พ.ศ. 2554 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ความภักดีกับแรงยึดเหนี่ยวทางการเมือง (2)
- ↑ พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัยจาก ไทยโพสต์
- ↑ "ผศ.ทวี" ชี้ชัด!! นิรโทษฯเป็นกม.เลว-สร้างหายนะให้สังคม ลั่นออกมาสู้กับความชั่วช้าป้องประชาธิปไตย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๗๕, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๑๘๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๐๑, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕