ทวิภพ เป็นชื่อหนึ่งในบทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของทมยันตี ตีพิมพ์ลงในนิตยสารสกุลไทย ใช้เวลา 2 ปี ที่นำเสนอเรื่องราวของความรักต่างภพ ระหว่างอดีตและปัจจุบันมาบรรจบกัน โดยมีเรื่องของประวัติศาสตร์บ้านเมืองมาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้มีอรรถรส ในการอ่านให้ดูเข้มขึ้น โดยตัวละคร มณีจันทร์ ผู้มีความรักต่อชาติบ้านเมืองและแผ่นดินสยาม บทประพันธ์ชิ้นนี้ คุณทมยันตี ได้ใส่รายละเอียดของความเป็นอยู่ของบุคคลในสมัยเก่าได้อย่างแนบเนียนยิ่ง เป็นนวนิยายรักที่แฝงไปด้วยเรื่องของประวัติศาสตร์บ้านเมืองและเกร็ดความรู้ทางด้านความเป็นอยู่ของบุคคลสมัยนั้นเป็นอย่างดี ถึงแม้เยาวชนหรือวัยรุ่นอ่านก็เหมาะสม เพราะไม่ได้มีความรักที่เป็นเรื่องราวของทาง "เพศ" แต่เป็นเรื่องราวความรักที่มีความผูกพันข้ามชาติที่ดูลึกซึ้ง

โครงเรื่อง แก้

มณีจันทร์ (เมณี่) นางเอกของเรื่องเป็นบุตรีของเอกอัครราชทูตไทยที่ต้องไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง มณีจันทร์ได้ซื้อกระจกบานหนึ่งมาและต่อมาได้พบว่ากระจกบานนั้น สามารถพาเธอย้อนกลับอดีตไปในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ และได้โผล่ไปที่เรือนของหลวงอัครเทพวรากร ข้าหลวงประจำกรมเจ้าท่า มณีจันทร์หายไปจากบ้านอย่างไร้ร่องรอยบ่อยครั้ง เป็นเหตุให้เพื่อนสนิทอันมีกุลวรางค์, ไรซ์ (ตรอง), ไรวัติ (หนุ่มที่มาติดพัน) ต้องเดือดร้อนตามหาตัวกัน

การปรากฏตัวของมณีจันทร์สร้างความประหลาดใจให้กับทุกคนในบ้านหลวงอัครเทพวรากรเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความฉลาดของมณีจันทร์ ทำให้คนที่ได้พบเห็นอดที่จะรักเธอไม่ได้ มณีจันทร์เดินทางข้ามภพบ่อยครั้งขึ้น เมื่อได้ทำความคุ้นเคยกับหลวงอัครเทพวรากรและคุณหญิงแสร์ มารดาของคุณหลวงแล้ว เธอก็ยิ่งรู้สึกรักและผูกพันกับหลวงอัครเทพวรากรและคนที่บ้านหลวงอัครเทพวรากรมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทุกคนรวมทั้งมณีจันทร์ก็ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไมเธอจึงเดินทางข้ามกาลเวลามาที่นี่ นอกเหนือจากที่จะมาพบกับเนื้อคู่ที่แท้จริงแล้ว ยังต้องมาช่วยกอบกู้สถานการณ์ของสยามซึ่งกำลังอยู่ในช่วงคับขัน เพราะทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งอยู่ในยุคล่าอาณานิคม กำลังจะเอาสยามเป็นแดนกันชน และลงท้ายจะแบ่งแยกประเทศออกโดยเอาแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นปักปันเขต

มณีจันทร์จึงต้องใช้ความรู้ทางด้านภาษาช่วยหลวงอัครเทพวรากรและเจ้าคุณวิศาลคดีแก้เกมของประเทศนักล่าเมืองขึ้นทั้งสอง ในขณะเดียวกันเธอก็เริ่มผูกพันกับอดีตภพและความรักที่มีต่อหลวงอัครเทพวรากรมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ปัญหาใหญ่ของบ้านเมืองจะต้องเร่งแก้ไข มณีจันทร์เองก็มีอีกปัญหาหนึ่งที่รอคอยให้เธอตัดสินใจเช่นกัน กระจกซึ่งเป็นประตูเชื่อมเวลาจะมีรอยร้าวเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เธอผ่านเข้าออก มันจะต้องแตกลงในวันหนึ่ง นั่นหมายถึงว่าเธอจะไม่สามารถเดินทางข้ามผ่านเวลาได้อีกต่อไป และเมื่อวันนั้นมาถึง มณีจันทร์จะตัดสินใจเช่นไร ระหว่างการอยู่ในภพอดีตกับหลวงอัครเทพวรากรผู้ที่รักเธอสุดหัวใจ หรือการกลับไปยังภาพที่เธอจากมา กลับไปเป็นสาวทันสมัยแห่งโลกปัจจุบันที่มีแม่ผู้เป็นที่รักรอคอยอยู่

การดัดแปลง แก้

 
ภาพยนตร์ ทวิภพ ในปี พ.ศ. 2547

จากอรรถรสในการประพันธ์ที่เป็นเลิศชิ้นนี้ของทมยันตี ทำให้ทวิภพได้รับการสร้างเป็นละครและภาพยนตร์หลายครั้ง โดยมีการแก้ไข แต่งเติม ดัดแปลงบทไปตามเจตนารมณ์ของผู้สร้างเหล่านั้น

ภาพยนตร์ แก้

ทวิภพโด่งดังเป็นประวัติการณ์เมื่อมีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ กำกับโดยเชิด ทรงศรี สร้างโดยเชิดไชย ภาพยนตร์ จัดจำหน่ายโดยสหมงคลฟิล์ม ออกฉายในปี พ.ศ. 2533 โดยฉัตรชัย เปล่งพานิช รับบทหลวงอัครเทพวรากร ส่วนบทมณีจันทร์ ในครั้งแรกวางตัวปรียานุช ปานประดับ และถ่ายทำไปบางส่วน แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นจันทร์จิรา จูแจ้ง และได้ถ่ายทำใหม่จนเสร็จสมบูรณ์ และในปี พ.ศ. 2547 กำกับโดยสุรพงษ์ พินิจค้า สร้างโดยฟิล์มบางกอก นำแสดงโดยรังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง และฟลอเรนซ์ วนิดา เฟเวอร์

ละครโทรทัศน์ แก้

ละครทวิภพออกอากาศทางช่อง 7 เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 โดยสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ผู้ถือลิขสิทธิ์นวนิยายฉบับปี พ.ศ. 2537 นำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ นำแสดงโดยศรัณยู วงษ์กระจ่าง และสิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์

ในปี พ.ศ. 2554 โดยดาราวิดีโอนำละครเรื่องนี้กลับมาสร้างอีกครั้ง นำแสดงโดยอรรคพันธ์ นะมาตร์ และเขมนิจ จามิกรณ์ กำกับโดยมานพ สัมมาบัติ ซึ่งเสียชีวิตในขณะที่ละครยังถ่ายทำไม่เสร็จ ทางดาราวิดีโอจึงมอบหมายให้เพ็ญลักษณ์ อุดมสิน กำกับละครต่อ

รายชื่อนักแสดง แก้

ปี พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2554
รูปแบบการนำเสนอ ภาพยนตร์ 35 มม. ละคร ช่อง 7 ภาพยนตร์' ละครเวที ละครเวที ละคร ช่อง 7
ผลิตโดย เชิดไชย ภาพยนตร์ ดาราวิดีโอ ฟิล์มบางกอก ซีเนริโอ ดาราวิดีโอ
บทการแสดง ธม ธาตรี จิตราภา สุรพงษ์ พินิจค้า
วิมล ศิริไพบูลย์
ถกลเกียรติ วีรวรรณ นันทวรรณ รุ่งวงศ์พาณิชย์
กำกับการแสดงโดย เชิด ทรงศรี จรูญ ธรรมศิลป์ สุรพงษ์ พินิจค้า ถกลเกียรติ วีรวรรณ มานพ สัมมาบัติ
เพ็ญลักษณ์ อุดมสิน
คุณหลวงอัครเทพวรากร ฉัตรชัย เปล่งพานิช ศรัณยู วงษ์กระจ่าง รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
ภูธเนศ หงษ์มานพ
ปกรณ์ ลัม อรรคพันธ์ นะมาตร์
มณีจันทร์ / เมณี่ จันทร์จิรา จูแจ้ง สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ ฟลอเรนซ์ วนิดา เฟเวอร์ ปนัดดา เรืองวุฒิ
สุธาสินี พุทธินันท์
นัท มีเรีย เขมนิจ จามิกรณ์
หลวงเจนพาณิช อานัส ฬาพานิช
ดร.ตรอง สรจักร เกษมสุวรรณ กลศ อัทธเสรี - ภคชนก์ โวอ่อนศรี เจษฎา ด่านปาน ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
กุลวรางค์ มณฑากานต์ เชื่อมแก้ว รุ้งทอง ร่วมทอง ผาณิต เจียรวิบูลยานนท์ ทิพย์อาภา ชื่นประดิษฐ์ ชลเลขา ละงู กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า
ประยงค์ อรอนงค์ ปัญญาวงศ์ ฝนทิพย์ วัชรตระกูล
พ.ต.ไรวัติ ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ศตวรรษ ดุลยวิจิตร พีรุตษ์ ตุลานนท์ กริช หิรัญพฤกษ์ - พิชยดนย์ พึ่งพันธ์
คุณหญิงแสร์ อรวรรณ โปร่งมณี อรัญญา นามวงศ์ - โฉมฉาย ฉัตรวิไล ดวงดาว จารุจินดา
มาลิดา เมตตา รุ่งรัตน์ ดวงใจ หทัยกาญจน์ เทวีรัตน์ ลีลานุช วิยะดา โกมารกุล ณ นคร ปวีณา ชารีฟสกุล ปภัสรา เตชะไพบูลย์
ม้วน / นุ่ม สิริยา วงษ์รักไทย เมตตา รุ่งรัตน์ สุภาภรณ์ เฉี่อยจันอัค ปวันรัตน์ นาคสุริยะ วชิรา เพิ่มสุริยา
เจ้าคุณวิศาลคดี สักกะ จารุจินดา รอง เค้ามูลคดี ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
คุณหญิงสรเดช จารุวรรณ ปัญโญภาส ปนัดดา โกมารทัต
จอห์น โอริเวอร์ บีเวอร์
ปีแอร์ ปรีดา ตันเต็มทรัพย์
ขาบ เอกรินทร์ อารีรักษ์
อิ่ม กมลพรรณ ทานตะวิรยะ
หลวงไกร เคลลี่ ธนะพัฒน์
คุณหนูดาว สกุลรัตน์ ใจซื่อ ภิรัญชญา คเชนทร์นุกูล

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้