อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ

(เปลี่ยนทางจาก ถ้ำปลา)

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทางภาคเหนือของไทย มีเนื้อที่ประมาณ 305,000 ไร่ (ประมาณ 511 ตารางกิโลเมตร หรือ 200 ตารางไมล์)

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ
Pha Suea Waterfall
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ
จุดแสดงที่ตั้ง
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ
อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ (ประเทศไทย)
ที่ตั้งจังหวัดแม่ฮ่องสอน, ประเทศไทย
เมืองใกล้สุดอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
พิกัด19°30′8″N 98°0′23″E / 19.50222°N 98.00639°E / 19.50222; 98.00639
พื้นที่511 กม.2
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนแนวเทือกเขาจะทอดยาวตามแนวเหนือใต้ มียอดเขาที่สำคัญได้แก่ ดอยลาน ดอยตองหมวก ดอยกิ่งกอม ดอยแหลม ดอยปางฮูง ดอยหน้าแข้งช้าง ฯลฯ ดอยลานเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1,918 เมตร จากระดับน้ำทะเลความสูงของพื้นที่ 300-1,900 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ความสูงเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร จากระดับน้ำทะเล และอยู่ในเขตลุ่มน้ำหลักของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ ลุ่มน้ำปาย แม่น้ำของ น้ำแม่สะงา และน้ำแม่สะงี

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

มีลักษณะภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อน แบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือ

  • ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเล และมหาสมุทรทำให้อากาศชุ่มชื้น และมีฝนตกชุก โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในรอบปี
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ ได้รับอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง โดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม เป็นเดือนที่เกิดหมอกมากที่สุดประมาณ 21-26 วัน ส่วนมากเกิดในตอนรุ่งเช้า
  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคม จะมีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยเฉพาะเดือนเมษายน จะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดในรอบปี

ทรัพยากรป่าไม้ แก้

ชนิดของป่าที่พบจำแนกชนิดป่าได้ 6 ประเภท ดังนี้

1. ป่าผสมผลัดใบ หรือป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 30% พบบริเวณพื้นที่ราบเชิงเขา และที่ลาดชันตามไหล่เขา ชนิดไม้สำคัญได้แก่ ตะแบก ประดู่ มะค่าโมง แดง ไทร งิ้วป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบไม้ไผ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก

2. ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest) ส่วนใหญ่จะเป็นผืนป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 35% สภาพดินค่อนข้างลึก มีความชุ่มชื้นสูง ชนิดไม้สำคัญ ได้แก่ ยาง ประดู่ ตีนเป็ด ไม้จำพวกวงศ์ก่อ นอกจากนี้ตามพื้นล่างจะพบ หวาย ขิง ข่าป่า และเฟินมากมาย เป็นต้น

3. ป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest) เป็นป่าผลัดใบพบตามสันเขา และตามบริเวณที่ลาดชัน ที่ระดับความสูงประมาณ 300-900 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ครอบคลุมพื้นทีประมาณ 15% สภาพดินค่อนข้างตื้น มีก้อนหินโผล่ และกรวด-ลูกรังปน ช่วงฤดูแล้งเกิดไฟไหม้ป่า เป็นประจำทำให้พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่แคระแกรน ชนิดไม้สำคัญได้แก่ เต็ง รัง ตะแบกนา มะค่าแต้ เป็นต้น

4. ป่าสนเขา (Pine Forest) เป็นป่าที่พบในบริเวณพื้นที่ที่มีความสูงประมาณ 200-1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5% ลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีทั้งสนสองใบ และ สนสามใบ และส่วนใหญ่จะขึ้นปะปนอยู่กับป่าเต็งรัง ไม้พื้นล่างส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา เป็นต้น

5. สวนป่า (Forest Planation) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 10% ได้แก่

  • สวนป่าหมอกจำแป่-แม่สะงา
  • โครงการพระราชดำริปางตอง 1 (ห้วยมะเขือส้ม)
  • โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)
  • โครงการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งขวาตอนล่าง (1) และ (2)
  • สวนป่าห้วยผา พันธุ์ไม้ที่ใช้ในการปลูก ได้แก่ สัก สนสามใบ คูน

6. ป่าเสื่อมโทรม (Distarbed Forest) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5% พื้นที่เหล่านี้ได้ถูกราษฎรเข้าบุกรุกแผ้วถางเพื่อทำการเกษตร แต่ปัจจุบันทางราชการได้ผลักดันออก และปัจจุบันราษฎรได้ปล่อยทิ้งร้างจนสภาพป่าเริ่มฟื้นคืนสภาพ

ทรัพยากรสัตว์ป่า แก้

จากการสำรวจทรัพยากรสัตว์ป่า ข้อมูลส่วนใหญ่จากการพบสัตว์ป่าโดยตรง ตลอดจนชีววิทยาบางประการ แยกออกได้ ดังนี้

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

สิ่งที่น่าสนใจได้แก่

  • ถ้ำปลา ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยผา ตำบลห้วยผา ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปชมได้ทุกฤดูกาล บริเวณโดยรอบเป็นลำธารและป่าเขา ถ้ำปลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.50 เมตร ภายในแอ่งน้ำมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา และมีปลาขนาดใหญ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก คือ ปลาพลวงหิน หรือปลามุง หรือปลาคัง ซึ่งเป็นปลาที่มีเกล็ดขนาดใหญ่ในวงศ์เดียวกันกับปลาคาร์ป และถึงแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครจับไปรับประทานหรือทำอันตราย เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า หากใครนำไปรับประทานแล้วจะต้องมีอันเป็นไป โดยภายในถ้ำมีรูปปั้นฤๅษีอยู่เป็นเทพารักษ์ผู้ปกปักรักษาถ้ำและปลา[3] นอกจากนี้แล้วยังมีปลาชนิดอื่น ๆ เช่น ปลากระแห, ปลาช่อนงูเห่า [4]
  • น้ำตกผาเสื่อ เป็นน้ำตกที่ไหลมาจากน้ำตกแม่สะงาในพม่า เป็นน้ำตกขนาดกลางสูงประมาณ 10 เมตร กว้าง 15 เมตรในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำไหลเต็มหน้าผากว้างทำให้ดูมีรูปร่างคล้ายเสื่อปูลาด จึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตกผาเสื่อส่วนในฤดูแล้งจะมีน้ำน้อย แต่ก็มีถือว่าเป็นน้ำตกที่มีน้ำตลอดปี แม้จะสามารถมองเห็นหินที่สวยงามเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจแต่ทางอุทยานไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำเพราะน้ำค่อนข้างเชี่ยวและเป็นเหวลึกช่วงที่เหมาะสมจะไปท่องเที่ยวคือเดือนกรกฎาคม–กันยายน น้ำตกผาเสื่อตั้งอยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป่ ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร

รูปภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Sutthipibul, Vasa; Ampholchantana, Chantanaporn; Dulkull Kapelle, Peeranuch; Charoensiri, Vatid; Lukanawarakul, Ratana, บ.ก. (2006). "Tham Pla - Namtok Pha Suea National Park". National Parks in Thailand. (free online from the publisher). National Park, Wildlife and Plant Conservation Department. p. 103. ISBN 974-286-087-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-16. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
  2. "Tham Pla - Namtok Pha Suea National Park". Department of National Parks (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-09. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
  3. "Tham Pla Forest Park". Lonely Planet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
  4. ดร. ชวลิต วิทยานนท์. ปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544. 115 หน้า. หน้า 42. ISBN 9789744726551

แหล่งข้อมูลอื่น แก้