ถ้ำบาตู (ทมิฬ: பத்து மலை; ปาตูมาไล) เป็นเขาหินปูนที่ภายในมีถ้ำและเทวาลัย ตั้งอูย่ในอำเภอกมบัก รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย ชื่อของถ้ำมาจากคำภาษามลายู batu แปลว่า 'หิน'[1] ชื่อดั้งเดิมของเขาบาจูคือ กาปัลตังกัง (Kapal Tanggang) ซึ่งมาจากตำนานซีตังกัง[2]

ถ้ำบาตู
บันไดทางขึ้นเข้าสู่ถ้ำบาตูและเทวรูปพระขันธกุมาร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตกมบัก
เทพพระขันธกุมาร
ที่ตั้ง
รัฐเซอลาโงร์
ประเทศมาเลเซีย
ถ้ำบาตูตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย
ถ้ำบาตู
ที่ตั้งในประเทศมาเลเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์3°14′14.64″N 101°41′2.06″E / 3.2374000°N 101.6839056°E / 3.2374000; 101.6839056
สถาปัตยกรรม
ประเภทสถาปัตยกรรมทราวิฑ
เสร็จสมบูรณ์1920
เว็บไซต์
batucaves.org

ประวัติศาสตร์ แก้

เดิมทีถ้ำบาตูเป็นถ้ำตามธรรมชาติที่มีบันทึกการเข้ามาหาและเก็บกวาโน กระทั่งถ้ำบาตูกลายมาเป็นศาสนสถานโดยเค. ตัมพูสามี ปิลไล พ่อค้าชาวทมิฬอินเดีย ผู้ที่ก่อนหน้าได้สร้างศรีมหามริอัมมันเทวาลัยในกัวลาลัมเปอร์ สังเกตเห็นทางเข้าถ้ำที่เป็นรูปคล้าย อักษรวี และเกิดความประสงค์จะสร้างเป็นเทวาลัยบูชาพระชันธกุมาร ในปี 1890 ได้อัญเชิญมูรติ (เทวรูป) ของศรีมุรุคันสวามี (พระชันธกุมาร) ขึ้นประดิษฐานในถ้ำที่ปัจจุบันเรียกว่า ถ้ำเทวาลัย (Temple Cave) นับตั้งแต่ปี 1892 ได้มีการจัดเทศกาลไตปูสัม (Thaipusam) ประจำปีชึ้นที่นี่เรื่อยมา

ในปี 1920 ได้มีการสร้างบันไดไม้ขึ้นไปยังบนเทวาลัย และในคริสต์ทศวรรษ 1930 บันไดดังกล่าวเริ่มสึกหรอตามกาลเวลา ผู้บริหารเทวาลัยในเวลานั้น รามจันทรัน ไนฑู (Ramachandran Naidu) เสนอโครงการสร้างบันไดคอนกรีต โครงการได้รับอนุมัติในปี 1939 และก่อสร้างเสร็จในปี 1940 ไม่นานก่อนถึงเทศกาลไตปูสัมในปีนั้น[3] ปัจจุบันบันไดคอนกรีตขึ้นถ้ำมีจำนวน 272 ขั้น

ในเดือนสิงหาคม 2018 ได้เริ่มต้นทาสีบันไดทั้ง 272 ขั้น แต่ละขั้นเป็นสีต่าง ๆ กัน ทันทีเมื่อทาสีเสร็จ เทวาลัยถูกเจ้าหน้าที่รัฐแจ้งว่าการตกแต่งทาสีนี้อาจขัดต่อกฎหมายที่คุ้มครองถ้ำบาตูในฐานะโบราณสถานของรัฐ[4][5]

ธรรมชาติ แก้

เขาถ้ำบาตูและถ้ำย่อยในถ้ำบาจูมีพืชและสัตว์มากมายหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่เติบโตเฉพาะในสิ่งแวดล้อมที่เป็นหินปูน มีการบันทึกข้อพืชมีท่อลำเลียงทั้งหมด 269 สายพันธุ์ ในจำนวนนี้ 56 สายพันธุ์ (21%) เป็นพืชคัลซิไฟล์ (โตได้เฉพาะบนหินปูน)[6]

นอกจากนี้ในถ้ำบาตูยังมีถ้ำย่อยอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ได้พัฒนาสร้างสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งสามารถพบสัตว์และพืชมากมาย เช่น แมงมุมแทรปดอร์ (trapdoor spiders หรือ Liphistius batuensis)[7] ในถ้ำมีค้างคาวราว 21 สายพันธุ์ โดยเฉพาะค้างคาวผลไม้ (Eonycteris) หลายสายพันธุ์[2]

อ้างอิง แก้

  1. Lim, Teckwyn; Yussof, Sujauddin; Ashraf, Mohd. (2010). "The Caves of Batu Caves: a Toponymic Revision". Malayan Nature Journal. 62: 335–348.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 Ong, Dylan Jefri (2020). Kiew, Ruth; Zubaid Akbar Mukhtar Ahmad; Ros Fatihah Haji Muhammad; Surin Suksuwan; Nur Atiqah Abd Rahman; Lim Teck Wyn (บ.ก.). Batu Caves: Malaysia's Majestic Limestone Icon. Kuala Lumpur: Malaysian Cave and Karst Conservancy. p. 44. ISBN 978-967-17966-0-3.
  3. Tajuddin, Iskandar (2016-01-24). "'It began with prayer to Lord Muruga' | New Straits Times". NST Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-05.
  4. Bavani, M. (30 August 2018). "Batu Caves temple committee steps into trouble". Star. สืบค้นเมื่อ 31 August 2018.
  5. "Temple gets stunning paint job (shame it might be illegal)". BBC. 31 August 2018. สืบค้นเมื่อ 31 August 2018.
  6. Kiew, Ruth (2014-09-12). "Checklist of vascular plants from Batu Caves, Selangor, Malaysia". Check List (ภาษาอังกฤษ). 10 (6): 1420–1429. doi:10.15560/10.6.1420. ISSN 1809-127X.
  7. T.W. Lim and S.S. Yussof (2009). "Conservation status of Batu Caves Trapdoor Spider (Liphistius batuensis Abraham (Araneae, Mesothelae)): A preliminary survey. 61: 121-132". Malayan Nature Journal. 62 (1): 121–132.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้