ถังบำบัดน้ำเสีย

ถังบำบัดน้ำเสีย เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียสำหรับครัวเรือน การใช้งานถังบำบัดน้ำเสียนั้น จะถูกนำมาใช้กับชุมชนในเมืองที่ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียให้บริการจากทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ บ้านเรือนในเมืองไทยส่วนใหญ่จะใช้ถังบำบัดน้ำเสียในการบำบัดน้ำ ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกาจะมีการใช้ระบบบำบัดจากรัฐบาลประมาณร้อยละ 75 ส่วนร้อยละ 25 ที่เหลือเป็นชุมชนที่อยู่ห่างไกลจะใช้ถังบำบัดน้ำเสีย[2] ประเทศในทวีปยุโรปจะจำกัดให้ใช้เฉพาะในชนบทที่ห่างไกลเท่านั้น เนื่องจากไม่มีพื้นที่สำหรับการทุ่งบำบัดน้ำเสีย

ภาพวาดแสดงภาพรวมของถังบำบัดน้ำเสีย โดยจะมีส่วนน้ำเข้า และน้ำออก และด้านบนจะเป็นฝาท่อและรูระบายอากาศ [1]

ถังบำบัดน้ำเสียในเมืองไทย จะประกอบไปด้วยสองส่วนหลักคือ ถังเกรอะ และถังกรอง โดยถังเกรอะจะมีหน้าที่ในการให้สิ่งสกปรกตกตะกอนไว้ โดยถังสำเร็จรูปจะเป็นถังเดี่ยวแต่ด้านในมีแยกออกเป็นสองส่วน

ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ
มีการติดตั้งปั๊มเพื่อเติมอากาศ โดยจะมีราคาสูงกว่า แต่กลิ่นจะน้อยกว่า
ถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ
ไม่มีการเติมอากาศ มีราคาที่ต่ำกว่า

อ้างอิง แก้

  1. Tilley, Elizabeth; Ulrich, Lukas; Lüthi, Christoph; Reymond, Philippe; Zurbrügg, Chris. Compendium of Sanitation Systems and Technologies (2nd ed.). Duebendorf, Switzerland: Swiss Federal Institute of Aquatic Science and Technology (Eawag). ISBN 978-3-906484-57-0.
  2. "Septic Tank Elimination Program". Citizens Energy Group. สืบค้นเมื่อ 2016-02-16.