ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106

(เปลี่ยนทางจาก ถนนเชียงใหม่-ลำพูน)

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 สายสวรรคโลก–อุโมงค์[1] เป็นถนนขนาด 2-4 ช่องจราจร มีแนวเส้นทางเริ่มจากทางเข้าสวรรคโลก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1370) อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ผ่านอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง อำเภอลี้ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และตัดเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ สิ้นสุดที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางนี้เป็นเส้นทางลัดจากถนนพหลโยธิน ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังสถานที่สำคัญ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติออบหลวง โดยไม่ต้องผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ และสามารถใช้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 108 เข้าสู่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้โดยไม่ต้องเริ่มจากตัวเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่เป็นที่นิยมนักเนื่องจากช่วงอำเภอเถิน ถึงอำเภอลี้ (รอยต่อระหว่างจังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน) เป็นทางแคบ ตัดขึ้นภูเขาสูง และคดเคี้ยวมาก จึงไม่เหมาะในการสัญจรในเวลากลางคืน โดยส่วนที่แคบและคดเคี้ยวนั้นคือส่วนที่ตัดผ่านอุทยานแห่งชาติดอยจง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106
ถนนเจริญราษฎร์(เชียงใหม่),ถนนเชียงใหม่-ลำพูน,ถนนเจริญราษฎร์(ลำพูน),ถนนอินทยงยศ,ถนนลำพูน-ป่าซาง
เส้นทางช่วงดอนไชย–อุโมงค์
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว256.359 กิโลเมตร (159.294 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
จาก ถนนจรดวิถีถ่อง ใน อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
  ถนนพหลโยธิน ใน อ.เถิน จ.ลำปาง
ทล.116 ใน อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน
ทล.114 ใน อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน
ทล.121 ใน อ.สารภี จ.เชียงใหม่
ถึง ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง ใน อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง
"ถนนต้นยาง" ช่วงอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ช่วงจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่นั้น มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์คือ มีต้นขี้เหล็กและต้นยางนาสูงใหญ่ปลูกเรียงรายตลอดสองข้างทางตั้งแต่ลำพูนจนถึงเชียงใหม่ จนเรียกกันว่าเป็น "ถนนสายต้นยาง" หรือ "ถนนต้นยาง"[2]

สำหรับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ช่วงสวรรคโลก–ดอนไชย กรมทางหลวงได้ทำการรวมเส้นทางกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1048 และทางเข้าดอนไชยหรือถนนพหลโยธินสายเก่า (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1352) บางส่วน และช่วงอำเภอสารภี-ต่อเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้มีการโอนความรับผิดชอบไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

ประวัติ

แก้

ถนนช่วงเชียงใหม่-ลำพูน เป็นเส้นทางที่ผูกพันกับปิงห่าง ต้นยาง และต้นขี้เหล็ก ในอดีตแม่น้ำปิงจะไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม เมืองหริภุญชัย และวัดอรัญญิกรัมการาม (วัดดอนแก้ว) ซึ่งเป็นสี่มุมเมืองในสมัยพระนางจามเทวี เมื่อคราวที่พญามังรายยึดครองเมืองหริภุญชัย และสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหริภุญชัย ชื่อว่า เมืองชะแว ได้เกิดน้ำท่วม จึงย้ายไปสร้างเมืองแห่งใหม่ คือ เวียงกุมกาม ทำให้แม่น้ำปิง เกิดการเปลี่ยนทางไหลผ่านเข้าในตัวเมืองหริภุญชัย และไหลผ่านหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัยในสมัยพญามังราย

ในราว พ.ศ. 2101 สมัยพญาแม่กุแม่น้ำปิงยังไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม และตัวเมืองหริภุญชัยอยู่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2101–2317 อาณาจักรบริเวณนี้อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า จนถึงราวปี พ.ศ. 2317 มีบันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพตามแม่น้ำปิง (สายปัจจุบัน) ที่ไหลผ่านทิศตะวันตกของเวียงกุมกามและเมืองหริภุญชัย ซึ่งแสดงว่าแม่น้ำปิง เกิดการเปลี่ยนร่องน้ำ ในระหว่างที่พม่าปกครองพื้นที่ดังกล่าว

แม้ว่าแม่น้ำปิงจะมีการเปลี่ยนร่องน้ำ แต่ยังปรากฏว่ามีการตั้งถิ่นฐานของราษฎรตามแนวแม่น้ำปิงสายเดิม (ปิงห่าง) ทำให้เกิดเส้นทางคมนาคมทางบกเลียบตามแนวแม่น้ำสายดังกล่าว เป็นเส้นทางสายหลักในการติดต่อค้าขายระหว่างชาวเมืองเชียงใหม่ และเมืองลำพูนมาจนปัจจุบัน

ถนนสายเลียบแม่น้ำปิงห่าง หรือถนนเชียงใหม่-ลำพูน มีการสร้างถนนอย่างเป็นทางการขึ้น โดยพระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่รักษาราชการมณฑลลาวเฉียง ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2438 เริ่มสร้างตั้งแต่เชิงสะพานนวรัฐ (หน้าโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียนในปัจจุบัน) เลียบตามแนวแม่น้ำปิงห่างจนถึงเมืองลำพูน

พระยาทรงสุรเดช...จะทำถนนระหว่างเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูลให้เกวียนเดินได้ด้วย การที่ไม่เปนไปโดยพลันทันทีได้เพราะขัดข้องด้วยเรื่องการภาษีอากรเมืองเชียงใหม่อยู่ ถ้าได้จัดการเรียบร้อยแล้ว พระยาทรงสุรเดชจะได้ลงมือจัดการแต่งสร้างถนนหนทางขึ้นให้สมควรแก่สมัยที่เจริญขึ้นได้

[3]

สันนิษฐานว่าถนนคงจะแล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายน พ.ศ. 2440 เพราะปีแอร์ โอร์ต (Pierre Orts) ที่ปรึกษากฎหมายชาวเบลเยี่ยมที่เดินทางขึ้นไปร่วมพิจารณาพิพากษาคดีที่นครเชียงใหม่แล้วเลยไปตรวจราชการหัวเมืองต่างๆ ในมณฑลลาวเฉียง ได้บันทึกไว้เมื่อวันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2440 ว่า

ข้าพเจ้าออกจากเชียงใหม่เมื่อเวลาบ่าย 3 โมง นับว่าเป็นการออกเดินทางที่เอิกเกริกมาก มีข้าราชการสองคนตามไปส่งพร้อมด้วยพวกเจ้าพนักงานชั้นผู้น้อย ถนนจากเชียงใหม่ไปลำพูนซึ่งข้าพเจ้าเคยกล่าวถึงด้วยความชื่นชมนั้นมิได้มีสิ่งใดพิเศษ เป็นเพียงเส้นทางที่คดเคี้ยวไปมาใต้ต้นไม้สูงหรือป่า มีธารน้ำไหลผ่านหลายแห่ง ภูมิประเทศดูเหมือนว่ามีราษฎรอาศัยอยู่หนาแน่น เราพบฝูงวัวควายที่ดูน่าชมหลายฝูง อีกราว 2 กิโลเมตรจะถึงเมืองลำพูน ข้าพเจ้าพบเจ้านายลำพูน 3 องค์ที่มาคอยรับล่วงหน้า ตอน 6 โมงครึ่งข้าพเจ้าก็มาถึงเมืองลำพูน

— Diaries of a Belgian Assistant Legal Advisor During the Reign of King Chulalongkorn 3 August 1897 - 5 January 1898

[4]

ต่อมาในคราวที่พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นข้าหลวงพิเศษขึ้นมาจัดระเบียบราชการในมณฑลตวันตกเฉียงเหนือเมื่อปลายปี ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2442) ก็ได้มีการกล่าวถึงถนนสายเชียงใหม่–ลำพูนในรายงานประชุมปรึกษาข้อราชการที่เมืองนครเชียงใหม่ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 118 ว่า

มิสเตอร์คอลลินซ์ (Rev. David G. Collins) กล่าวขึ้นว่า ได้ทราบข่าวจากชาวเมืองลำพูนว่าได้ตกลงกันจะปูอิฐตลอดถนนในระหว่างเมืองลำพูนแลเชียงใหม่ มิสเตอร์คอลลินซ์เห็นว่าถนนสายนี้เป็นถนนดีมาก ถ้าจะเอาอิฐปูเข้า เข้าใจว่ากลับทำให้ถนนเสียลง

ที่ประชุมได้ปรึกษากันช้านาน พระยาศรีสหเทพจึงพูดว่า ได้ฟังเสียงในที่ประชุมเห็นกันโดยมากว่าไม่ควรจะปูอิฐตามถนนในระหว่างเมืองเชียงใหม่แลเมืองลำพูน แต่ควรจะซ่อมแซมถนนให้ดีขึ้นนั้น พระยาศรีสหเทพมีความยินดีที่ได้ทราบดังนั้น ราษฎรจะได้ไม่มีความลำบากที่จะต้องทำถนน เพราะฉะนั้นจะได้ทดลองเอาอิฐปูตามถนนบางแห่งเพื่อจะได้ทราบว่าอิฐจะทนน้ำฝนได้เพียงไร และขอให้บรรดาท่านทั้งหลายที่ได้เคยไปมาตามถนนลำพูนได้โปรดชี้แจงว่าควรจะซ่อมตอนใดบ้าง

มิสเตอร์เกรก (H. W. Clarke) กล่าวว่าชาวบ้านมักจะทำนาบนถนน ควรจะมีข้อบังคับให้เปิดทางไว้ให้คนเดินได้บ้าง

มิสเตอร์แฮริซ (Rev. Dr. William Harris) ชี้แจงว่าในเรื่องทำนาบนถนนนี้ มิสเตอร์แฮริซได้ทราบเหตุเรื่องหนึ่งที่มีท่านผู้หนึ่งต้องเสียเงิน 15 รูเปียเพื่อเป็นค่าทำขวัญที่ต้องเดินตัดนาไป

พระยาศรีสหเทพจึงได้ตกลงว่าต่อไปจะได้ห้ามมิให้ราษฎรทำนาบนถนนใหญ่ แต่จะต้องเปิดทางเดินไว้ให้กว้าง 6 ฟิตเสมอ แต่ข้อที่จะห้ามนี้เฉพาะแต่ถนนใหญ่ ถ้าเป็นทางเดินเล็กน้อยไม่เป็นที่ห้ามอย่างใด

[5]

3 เดือนถัดมาจากการประชุม พ.ศ. 2443 หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ (ม.ร.ว.ประยูร อิศรศักดิ์) ข้าหลวงประจำนครเชียงใหม่ ได้มีโทรเลขรายงานไปยังกระทรวงมหาดไทยว่า

ในโทรเลข ข้าพระพุทธเจ้า หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ศก 119 ว่าถนนที่เมืองนครเชียงใหม่ ตั้งแต่สนามแข่งม้าจนถึงต่อแดนเมืองนครลำพูน หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ ได้ให้เจ้าราชบุตรเปนแม่กองใหญ่ เจ้าน้อยมหาวัน พระยาสุนทร พระยาธรรมพิทักษ์ พระยาเทพวงษ์ ท้าวขุนแก้ว เปนผู้ช่วยให้แบ่งน่าที่กันทำเปนตอน ๆ ถนนสายนี้ได้ทำเสร็จแล้ว เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม รัตนโกสินทร ศก 119 เจ้าอุปราชแลข้าราชการอีกหลายนาย พร้อมด้วยหม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ ได้ไปตรวจดูถนนสายนี้ เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าเรียบร้อยดีพอใช้ รถเทียมม้าได้ตลอดทาง แลเปนที่กว้างมาก ข้างริมคันถนน เจ้าราชบุตรได้สั่งให้ปลูกต้นยางได้ปลูกแล้วบ้าง แลยังกำลังปลูกอีกต่อไป การทำถนนสำเร็จได้โดยเร็วดังนี้ ควรเปนที่สรรเสริญเจ้าราชบุตร แลผู้ที่ช่วยทำนั้นเปนอันมาก กับทั้งเจ้าอุปราชก็ได้ช่วยเปนธุระสั่ง ในเรื่องทำถนนสายนี้โดยแขงแรง แลการทำถนนนั้นถ้าทำเสร็จแล้วไม่มีการรักษาก็คงซุดโซมเร็ว หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์จะได้จัดระเบียบการที่จะรักษาต่อไป

[6]

จากโทรเลขนี้ ทำให้ทราบว่าผู้ที่ปลูกต้นยางตลอดสองข้างทางถนนในเขตเชียงใหม่ คือเจ้าราชบุตร (เจ้าน้อยคำตื้อ) บุตรของเจ้าอุปราช (บุญทวงษ์) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดเป็นคนปลูกต้นขี้เหล็กในถนนฝั่งลำพูน

ส่วนถนนทางด้านเมืองลำพูน ปรากฏในโทรเลขที่เจ้าอินทยงยศโชติ เจ้านครลำพูน รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 188 ว่า

เจ้านครลำพูนพร้อมกับพระยาศรีสหเทพได้จัดที่นอกเวียงข้างเหนือทำเป็นตลาดหลวงใหญ่ตลอดออกไปจากถนนในเวียง เจ้านครลำพูนรับก่ออิฐถนนก่ออิฐตั้งตะแคงอย่างถนนในกรุงเทพฯ แต่เมืองนครลำพูนไปจนต่อเขตร์แดนเมืองนครเชียงใหม่ กำหนดจะแล้วใน 4 เดือน

[7]

พ.ศ. 2448 ได้มีการปรับปรุงและขยายผิวถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนอีกครั้ง ตามใบบอกของพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่รักษาราชการมณฑลพายัพ ลงวันที่ 26 กรกฎาคม ร.ศ. 124 ว่า

ถนนสายนครเชียงใหม่ไปนครลำพูนที่ทำไว้แล้วแต่ก่อนแคบไปบ้าง กว้างไปบ้างไม่เท่ากัน และชำรุดทรุดโทรมไปมาก ถนนสายนี้เป็นทางสำคัญลูกค้าได้อาไศรย์ใช้ล้อเกวียนเป็นประโยชน์ในการค้าขายแลคนเดินทางมาก เค้าสนามหลวงนครเชียงใหม่กับนครลำพูนได้ตกลงกันจะช่วยซ่อมแซมทำให้ดีขึ้น...ได้ให้มิศเตอร์โรเบิตตี้ที่ข้าหลวงโยธาออกไปเป็นผู้แนะนำ แลในแขวงเชียงใหม่จัดให้เจ้าบุรีรัตน์กับกรมการแขวงป่ายางเป็นผู้ดูแล ส่วนแขวงลำพูนจัดให้เจ้าราชภาติกะวงษ์เป็นผู้ดูแล ทั้งสองกองนี้ได้ขอแรงราษฎรมาช่วยทำเดือนเศษจึงแล้วเสร็จ ถนนสายที่ทำนี้ทำโดยกว้าง 3 วา ยาว 665 เส้น

[8][9]

รายชื่อทางแยก

แก้
รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ทิศทาง: สวรรคโลก–อุโมงค์
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  สวรรคโลก–ดอนไชย
สุโขทัย 0+000 เชื่อมต่อจาก: ทางเข้าโรงพยาบาลสวรรคโลก
  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1370 ไปอำเภอศรีสำโรง บรรจบ  ทล.101   ถนนจรดวิถีถ่อง เข้าเมืองสวรรคโลก บรรจบ   ทล.101
สะพานพัฒนาภาคเหนือ 3 ข้ามแม่น้ำยม
  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1195 ไปอำเภอศรีสำโรง ไม่มี
4+500 สท.4006 สท.4006 ไปบ้านหนองกลับ ไม่มี
ไม่มี   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1201 ไปอำเภอศรีสัชนาลัย
  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 ไปอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 ไปบ้านสารจิตร, อำเภอศรีสัชนาลัย
27+300 ทางเข้าบ้านแม่ทุเลา สท.4008 สท.4008 ไปบ้านลำโชค, อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
ไม่มี   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1330 ไปบ้านแม่ท่าแพ, อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1415 ไปอำเภอทุ่งเสลี่ยม ไม่มี
ลำปาง 91+000 แยกเถินบุรินทร์     ถนนพหลโยธิน ไปจังหวัดตาก     ถนนพหลโยธิน ไปอำเภอเมืองลำปาง
แยกดอนไชย   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ไปจังหวัดลำพูน ไม่มี
ตรงไป:   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1352 ไปถนนพหลโยธิน
  ดอนไชย–ลำพูน
ลำปาง 93+700 แยกดอนไชย   ทล.106 จากจังหวัดตาก, อำเภอสวรรคโลก   ทล.1352 จาก จังหวัดลำปาง
94+055 สะพาน ข้ามแม่น้ำวัง
101+400   ทางหลวงชนบท ลป.3021 ไปบ้านล้อมแรด ไม่มี
ลำพูน 46+900 แยกโรงพยาบาลลี้   ทล.1087 ไปบ้านก้อทุ่ง, อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ไม่มี
50+000 แยกเมืองลี้ ไม่มี   ทล.1274 ไปลำปาง
68+495 แยกแม่เทย ไม่มี   ทล.1219 ไปอำเภอทุ่งหัวช้าง
73+992 แยกแม่ตืน   ทล.1103 ไปอำเภอดอยเต่า ไม่มี
113+262 สะพาน ข้ามแม่น้ำลี้
118+533 แยกม่วงโตน   ทล.1010 ไปอำเภอเวียงหนองล่อง ไม่มี
128+802 แยกแม่อาว ไม่มี   ทล.1184 ไปอำเภอทุ่งหัวช้าง
133+300 แยกสันห้างเสือ ทล.1031 (เดิม) ไปอำเภอเวียงหนองล่อง, อำเภอจอมทอง ไม่มี
139+675 แยกสะปุ๋ง   ทล.116 ไปอำเภอสันป่าตอง   ทล.116 ไปเชียงใหม่
145+848 แยกสบทา   ทล.1156 ไปอำเภอเวียงหนองล่อง, อำเภอจอมทอง ไม่มี
146+135 สะพาน ข้ามแม่น้ำกวง
149+556 แยกท่าจักร
(แยกเลี่ยงเมืองลำพูนด้านใต้)
ถนนเลี่ยงเมืองลำพูน ไปบรรจบ ทล.11, เชียงใหม่, ลำปาง   ทล.1033 ไปอำเภอแม่ทา
153+903 ตรงไป:   ถนนลำพูน–ป่าซาง เข้าเมืองลำพูน
  ดอนไชย–ลำพูน (ในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองลำพูน)
ลำพูน แยกประตูลี้  ถนนอินทยงยศ ไปบรรจบ ถนนเจริญราษฎร์ เข้าเมืองลำพูน ถนนประตูลี้ ไปสนามกีฬา
ตรงไป: ถนนรอบเมืองใน/ถนนรอบเมืองนอก ไปบรรจบ   ทล.114
  ลำพูน–อุโมงค์ (ในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองลำพูน)
ลำพูน ไม่มี   ถนนวังขวา ไปอำเภอป่าซาง, เชียงใหม่, ลำปาง
  ถนนจามเทวี ไปอำเภอสันป่าตอง ไม่มี
ถนนรอบเมืองใน ไปอำเภอป่าซาง ถนนรอบเมืองใน ไปเชียงใหม่, ลำปาง
ตรงไป:   ถนนเจริญราษฎร์ ไปเชียงใหม่
  ลำพูน–อุโมงค์
ลำพูน 158+556 เชื่อมต่อจาก:   ถนนเจริญราษฎร์ จากเมืองลำพูน
160+085
(แยกเลี่ยงเมืองลำพูนด้านเหนือ)
ถนนเลี่ยงเมืองลำพูน ไปอำเภอแม่ทา   ทล.1136 ไปบรรจบ ทล.11, ลำปาง
แยกป่าเห็ว   ถนนป่าเห็ว–ริมปิง ไปตำบลริมปิง, อำเภอสันป่าตอง, บรรจบทล.1015 ไม่มี
  เชียงใหม่-ลำพูน(ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่)
เชียงใหม่ แยกกองทราย   ทล.121 ไปอำเภอหางดง   ทล.121 ไปอำเภอสันกำแพง
สะพานเวียงกุมกามโบราณสถาน 132 ทล.132 ไปอำเภอหางดง 132 ทล.132 ไปอำเภอสันกำแพง
แยกหนองหอย   ถนนมหิดล ไปแม่ฮ่องสอน,   ท่าอากาศยานเชียงใหม่   ถนนมหิดล ไปอำเภอสันกำแพง
แยกสะพานนวรัฐ   ถนนเจริญเมือง เข้าเมืองเชียงใหม่   ถนนเจริญเมือง ไป อำเภอสันกำแพง บรรจบ   ถนนเชียงใหม่-สันกำแพง
แยกขัวนครพิงค์ฝั่งตะวันออก   ถนนแก้วนวรัฐ เข้าเมือง เชียงใหม่   ถนนแก้วนวรัฐ ไป อำเภอดอยสะเก็ด,เชียงราย
แยก ร.9 ฝั่งตะวันออก ถนนรัตนโกสินทร์ เข้าเมือง เชียงใหม่ ถนนรัตนโกสินทร์ ไป สามแยกสุสานสันกู่เหล็ก,สถานีอาเขต,อำเภอสันทราย,อำเภอดอยสะเก็ด
  ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง ไป ดอยสุเทพ,อำเภอแม่ริม   ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง ไป เชียงราย,ลำพูน,ลำปาง
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สิ่งสืบเนื่อง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-12-27.
  2. หนึ่งเดียวในไทย ถนนต้นยางนาอายุกว่า 150 ปี นับพันต้น รุกขมรดกของแผ่นดิน
  3. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ ม.๕๘/๓๙ เรื่อง ซ่อมและสร้างถนนกับที่ว่าการมณฑลพายัพ (๔ มีนาคม ๑๑๔ – ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๑๖)
  4. ปีแอร์ โอร์ต . พิษณุ จันทร์วิทัน (แปล). ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สายธาร, 2546.
  5. เจ้าราชบุตร. (อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีเจ้าราชบุตร(วงษต์วัน ณ เชียงใหม่) ป.ช., ป.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2561). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร 2516.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, โทระเลขข้าหลวงประจำนครเชียงใหม่ แลใบบอกข้าหลวงประจำเมืองน่าน, เล่ม 17, ตอน 12, 17 มิถุนายน ร.ศ. 119, หน้า 114.
  7. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ ม.๕๘/๔๒ เรื่อง พระยาศรีสหเทพ ตรวจจัดราชการต่างๆ ในมณฑลพายัพ (๓๐ มกราคม – ๒๖ มีนาคม ๑๑๘).
  8. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ ม.๕๘/๔๖ เรื่องก่อสร้างซ่อมถนนถนนหนทาง แลตะพานในมณฑลพายัพ (๒๗ กรกฎาคม ๑๒๐ – ๓๐ สิงหาคม ๑๒๔).
  9. วรชาติ มีชูบท. ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน.
  • คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมาย เหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ, วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดลำพูน, 2542, หน้า 275-277.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้