ถนนทหาร
ถนนทหาร เป็นถนนสายสั้น ๆ ในพื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีความกว้าง 12 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร[1] ระยะทาง 1.47 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มต้นต่อจากถนนประดิพัทธ์ที่แยกสะพานแดง จุดตัดกับถนนพระรามที่ 5 และถนนเตชะวณิช มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ข้ามคลองเปรมประชากรที่สะพานแดง ผ่านสถานที่ราชการของกองทัพไทยหน่วยงานต่าง ๆ ตัดกับถนนสามเสนและถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ที่แยกเกียกกาย ผ่านสัปปายะสภาสถาน และสิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา
ถนนทหาร | |
---|---|
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 1.47 กิโลเมตร (0.91 ไมล์) |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศตะวันออก | ถนนประดิพัทธ์ ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
แยกเกียกกาย ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร | |
ปลายทางทิศตะวันตก | ท่าเรือเกียกกาย ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
ระบบทางหลวง | |
คาดว่าในสมัยก่อนนั้น พื้นที่รอบถนนเส้นนี้เป็นพื้นที่โล่ง ไม่มีชุมชนอยู่อาศัย จนกระทั่งต่อมากองทัพไทยได้นำหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาตั้งบริเวณถนนเป็นจำนวนมากตั้งแต่ถนนประดิพัทธ์ช่วงก่อนถึงแยกเทอดดำริ ถนนเส้นที่ต่อเนื่องมาจากถนนประดิพัทธ์จึงมีชื่อว่า ถนนทหาร มาจนถึงปัจจุบัน[2] การตั้งหน่วยงานของกองทัพไทยซึ่งถือเป็นสถานที่ราชการ ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถขยายถนนทหารเพื่อเพิ่มช่องจราจรได้[1]
ปัจจุบันมีการก่อสร้างสะพานเกียกกายขึ้น มีแนวเส้นทางแยกจากถนนจรัญสนิทวงศ์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาเป็นทางยกระดับซ้อนทับบนถนนทหารตลอดเส้นทาง[3]
สถานที่บนถนน
แก้หน่วยงานของกองทัพไทย
แก้- กรมการทหารสื่อสาร
- กรมสรรพาวุธทหารบก
- กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
- กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
- กรมการอุตสาหกรรมทหาร
สถานที่อื่น ๆ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "เล็งขยาย 8 เลน ถนนทหาร- สามเสน รับสภาเกียกกาย". Home Buyers. 31 ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เศรษฐบุตร, นรนิติ (5 ธันวาคม 2019). "วันก่อการที่หัวมุมถนนประดิพัทธ์ตัดทางรถไฟสายเหนือ". ไทยโพสต์. สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กทม.อัปเดต 'สะพานเกียกกาย' เผยเส้นตาย 2 ตอนแรก พ.ย. 2568". สำนักข่าวอิศรา. 31 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)