ถนนกษัตริย์[1] หรือ ทางส่วนพระมหากษัตริย์[2] (อังกฤษ: King's Highway) เป็นเส้นทางการค้าอันมีความสำคัญต่อตะวันออกกลาง เส้นทางเริ่มขึ้นที่อียิปต์ข้ามคาบสมุทรไซนายไปยัง อคาบา จากอคาบาก็เลี้ยวไปทางเหนือไปยังดามัสกัสและแม่น้ำยูเฟรตีส

"เส้นทางสายเวียมาริส" (สีม่วง), "ถนนกษัตริย์" (สีแดง) และอื่น ๆ ราว 1300 ก่อนคริสต์ศักราช

อาณาจักรโบราณหลายอาณาจักรรวมทั้งอีดอม, โมอับ, อัมมอน และรัฐในอราเมอันใช้เส้นทางสายนี้ในการทำการค้าขาย เส้นทางเริ่มขึ้นที่เฮลิโอโพลิสโบราณในอียิปต์ และจากที่นั่นก็ไปทางตะวันออกยังซิสมา (ปัจจุบันสุเอซ) ผ่านช่องมิทลา และป้อมอียิปต์เนเคิล และ เธเมดในทะเลทรายไซนายไปยังไอลัตและอคาบา จากที่นั่นถนนก็ขึ้นเหนือไปยังอราบาห์ ผ่านเพทรา และ มาอัน ไปยัง อดรูห์, เซลา และ ชอบัค ต่อไปยังเคอรัค และดินแดนของโมอับ ไปยัง มาดาบา, รับบาห์, อัมมอน/ฟิลาเดลเฟีย (ปัจจุบันอัมมาน), เจอราซา, โบซราห์, ดามัสกัส และ ทัดมอร์ไปสิ้นสุดลงที่ เรซาฟาบนตอนต้นของแม่น้ำยูเฟรตีส

ถนนกษัตริย์กล่าวถึงใน กันดารวิถี 20:17 -21 ว่า:

ขอให้เรายกผ่านเขตแดนของท่าน เราจะไม่ผ่านไร่นาหรือสวนองุ่นของท่าน เราจะไม่ดื่มน้ำจากบ่อ เราจะเดินไปตามทางหลวง เราจะไม่หันไปทางขวามือหรือทางซ้ายมือ จนกว่าเราจะผ่านพ้นเขตแดนของท่าน'"
แต่เอโดมกล่าวแก่ท่านว่า "ท่านจะยกผ่านไปไม่ได้เกลือกว่าเราจะยกออกมาสู้ท่านด้วยดาบ"
และคนอิสราเอลพูดกับกษัตริย์แห่งเอโดมว่า "เราจะขึ้นไปตามทางหลวง ถ้าเราดื่มน้ำของท่านไม่ว่าตัวเราหรือสัตว์ เราจะชำระเงินให้ ขอให้เราเดินผ่านไป เราไม่ต้องการอะไรอีก"
แต่ท่านตอบว่า "เจ้าจะยกผ่านไปไม่ได้" แล้วเอโดมก็ยกพลเป็นอันมากมาต่อสู้เขาทั้งหลายด้วยมืออันเข้มแข็ง
เช่นนี้แหละเอโดมปฏิเสธไม่ให้อิสราเอลยกผ่านพรมแดนของท่าน ดังนั้นอิสราเอลจึงหันไปจากท่าน[3]

สงครามของอิสราเอลไลท์กับอาณาจักรในบริเวณทรานจอร์แดนระหว่างสมัยราชอาณาจักรอิสราเอล (และราชอาณาจักรยูดาห์ต่อมา) อาจจะมีสาเหตุบางส่วนมาจากความขัดแย้งในการพยายามควบคุมเส้นทาง

ชาวนาบาเชียนใช้เส้นทางนี้ในการขนส่งสินค้าฟุ่มเฟือยที่รวมทั้งกำยาน และ เครื่องเทศจากทางตอนใต้ของ คาบสมุทรอาหรับ ระหว่างสมัยโรมันถนนกษัตริย์ได้รับการสร้างใหม่โดยจักรพรรดิทราจัน และเรียกว่า "ถนนทราเอียนาใหม่" (Via Traiana Nova) นอกจากทางการค้าแล้วเส้นทางสายนี้ก็ยังใช้เป็นเส้นทางสำคัญของการจาริกแสวงบุญของคริสเตียนที่มีจุดต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อคริสต์ศาสนารวมทั้งภูเขาเนโบ และ อัล-มักห์ทาสบนฝั่งแม่น้ำจอร์แดนที่เป็นสถานที่ที่เชื่อกันว่าที่ที่พระเยซูทรงรับศีลจุ่มจากนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ มุสลิมใช้เป็นเส้นทางสำคัญในการฮัจญีไปยังมักกะหฺจนกระทั่งออตโตมันเติร์กสร้างทาริค อัน-บินท์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16

อ้างอิง แก้

  1. "วันอาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า". อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 2556-02-03. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "วันอาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า". ศูนย์คริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-19. สืบค้นเมื่อ 2556-02-03. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. Holy Zone for Christ: กันดารวิถี 20[ลิงก์เสีย]

ดูเพิ่ม แก้