ต้นไม้แห่งการรู้ถึงความดีและความชั่ว

ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ ต้นไม้แห่งการรู้ถึงความดีและความชั่ว (ฮีบรู: עֵץ הַדַּעַת טוֹב וָרָע, อักษรโรมัน: ʿêṣ had-daʿaṯ ṭōḇ wā-rāʿ ,[ʕesˤ hadaʕaθ tˤov wɔrɔʕ] ) เป็นต้นไม้หนึ่งในสองต้นที่ปรากฏในเรื่องราวของสวนเอเดนในปฐมกาล 2–3 พร้อมกับต้นไม้แห่งชีวิต นักวิชาการบางคนแย้งว่าต้นไม้แห่งการรู้ถึงความดีและความชั่วเป็นอีกชื่อหนึ่งของต้นไม้แห่งชีวิต[1]

อาดัมและเอวา - สรวงสวรรค์ (Adam and Eve - Paradise) วาดโดย ลูคัส ครานัค ผู้อาวุโส ต้นไม้แห่งการรู้ถึงความดีและความชั่วอยู่ทางด้านขวา

ในปฐมกาล แก้

เรื่องเล่า แก้

ปฐมกาล 2 บรรยายว่า พระเจ้าทรงให้ชายชื่ออาดัมอยู่ในสวนเอเดน โดยอนุญาตให้กินผลไม้จากต้นไม้ได้ทุกต้น ยกเว้นผลของต้นไม้แห่งการรู้ถึงความดีและความชั่ว พระเจ้าทรงสร้างหญิงชื่อเอวาหลังจากมอบคำสั่งนี้ให้อาดัม ในปฐมกาล 3 มีงูมาโน้มน้าวให้เอวาให้กินผลไม้ต้องห้ามจากต้นไม้แห่งการรู้ถึงความดีและความชั่ว และเอวาก็ให้อาดัมกินด้วย พระเจ้าจึงขับไล่ทั้งคู่ออกจากสวนเอเดน

ความหมายของ ความดีและความชั่ว แก้

วลีในภาษาฮีบรู טוֹב וָרָע ( "tov wa-raʿ" ) แปลตรงตัวว่า "ความดีและความชั่ว" นี่อาจเป็นตัวอย่างของอุปมาโวหารประเภทหนึ่งที่เรียกว่า merism ซึ่งเป็นเครื่องมือทางวรรณกรรมที่จับคู่คำตรงข้ามเข้าด้วยกันเพื่อสร้างความหมายทั่วไป ทำให้วลี "ความดีและความชั่ว" สามารถแปลความอย่างง่ายว่า "ทุกสิ่ง" สิ่งนี้มีปรากฏในคำแสดงออกของอียิปต์ว่า "ชั่ว-ดี" ซึ่งปกติใช้เพื่อหมายถึง "ทุกสิ่ง"[2] ในวรรณคดีกรีก โฮเมอร์ยังใช้เครื่องมือนี้ในฉากที่เทเลมาคัสกล่าวว่า "ข้า [ต้องการ] รู้ทุกสิ่ง ความดีและความชั่ว" แม้ว่าคำที่ใช้คือ – ἐσθλός สำหรับ "ความดี" และ χερείων สำหรับ "ความชั่ว" – ควรมีความหมาย "เหนือกว่า" และ "ด้อยกว่า" มากกว่า [3] อย่างไรก็ตาม หากเข้าใจวลีว่า "ต้นไม้แห่งการรู้ถึงความดีและความชั่ว " ว่าหมายถึงต้นไม้ที่มีผลไม้ที่ให้ความรู้ในทุกสิ่ง วลีนี้ก็ไม่จำเป็นต้องแสดงถึงแนวคิดทางศีลธรรมเสมอไป มุมมองนี้เสนอขึ้นโดยนักวิชาการหลายคน[2][4][5]

เมื่อพิจารณาถึงบริบทของการไม่เชื่อฟังพระเจ้า การตีความอื่น ๆ ของนัยของวลีนี้ก็จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาเช่นกัน โรเบิร์ต อัลเตอร์เน้นประเด็นที่ว่าเมื่อพระเจ้าห้ามไม่ให้อาดัมกินผลไม้จากต้นไม้นั้น พระองค์ตรัสว่าถ้าอาดัมทำเช่นนั้น "พวกเจ้าจะตาย" ภาษาฮีบรูของคำพูดนี้อยู่ในรูปแบบที่ใช้เป็นประจำในคัมภีร์ไบเบิลฮีบรู สำหรับการออกคำสั่งประหารชีวิต[6]

อย่างไรก็ตาม มีการตีความทางวิชาการสมัยใหม่จำนวนมาเกี่ยวกับคำว่า הדעת טוב ורע (Hada'at tov wa-ra "การรู้ถึงความดีและความชั่ว") ในปฐมกาล 2–3 ว่าอาจหมายถึงสติปัญญา สัพพัญญุตา ความรู้เรื่องเพศ การเลือกปฏิบัติทางศีลธรรม วุฒิภาวะ และคุณลักษณะอื่น ๆ นักวิชาการนาทาน เฟรนช์กล่าวว่าคำนี้น่าจะหมายถึง "ความรู้สำหรับการจัดการการมอบรางวัลและการลงโทษ" เสนอความเห็นว่าความรู้ที่พระยาเวห์ห้ามแต่มนุษย์ยังได้รับในปฐมกาล 2-3 เป็นภูมิปัญญาสำหรับการใช้อำนาจสูงสุด[7]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Makowiecki, Mark (2020-12-12). "Untangled Branches: The Edenic Tree (s) and the Multivocal WAW". The Journal of Theological Studies. 71 (2): 441–457. doi:10.1093/jts/flaa093. ISSN 0022-5185.
  2. 2.0 2.1 Gordon, Cyrus H.; Rendsburg, Gary A. (1997). The Bible and the ancient Near East (4th ed.). New York: W.W. Norton & Co. p. 36. ISBN 978-0-393-31689-6. merism.
  3. Homer, Odyssey, 20:309–310.
  4. Harry Orlinsky's notes to the NJPS Torah.
  5. Wyatt, Nicolas (2001). Space and Time in the Religious Life of the Near East. A&C Black. p. 244. ISBN 978-0-567-04942-1.
  6. Alter 2004.
  7. French, Nathan S. (2021). A Theocentric Interpretation of הדעת טוב ורע: The Knowledge of Good and Evil as the Knowledge for Administering Reward and Punishment. FRLANT 283. Vandenhoeck & Ruprecht (1. ed.). Göttingen. ISBN 978-3-525-56499-8. OCLC 1226310726.{{cite book}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้