สาละ
สาละ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malvales |
วงศ์: | Dipterocarpaceae |
สกุล: | Shorea |
สปีชีส์: | S. robusta |
ชื่อทวินาม | |
Shorea robusta Roth | |
ชื่อพ้อง | |
Vatica robusta |
สาละ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Shorea robusta) เป็นพืชในวงศ์ Dipterocarpaceae เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู เป็นที่ประทับของพระเจ้า ในทางพุทธศาสนาต้นสาละคือต้นที่พระนางสิริมหามายายืนเหนี่ยวกิ่งมีประสูติการพระราชโอรส ไม่ใช่ต้นสาละลังกา[2] เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความสำคัญในอินเดีย ใช้ในการก่อสร้างโดยเฉพาะกรอบประตูและหน้าต่าง
ความสำคัญทางศาสนา
แก้ในศาสนาฮินดู ถือว่าสาละเป็นไม้โปรดของพระวิษณุ[3] คำว่าสาละมาจากภาษาสันสกฤต (शाल, śāla, แปลตรงตัว "บ้าน") ชื่ออื่น ๆ ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อัศวกรรณ (ashvakarna) ชิรปรรณ (chiraparna) และ สรรชะ (sarja) ต้นสาละมักจะสับสนกับต้นอโศก (Saraca indica) ในวรรรณคดีอินเดียโบราณ ศาสนาเชนเชื่อว่าพระมหาวีระองค์ที่ 24 ติรถันกะระ จะตรัสรู้ใต้ต้นสาละ
ศาสนาพุทธ
แก้ชาวพุทธเชื่อว่าพระนางสิริมหามายาประสูติพระโคตมพุทธเจ้าใต้ต้นสาละในลุมพินีวัน (ตอนใต้ของประเทศเนปาลในปัจจุบัน) ระหว่างเดินทางกลับไปยังกรุงเทวทหะ[4] และพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานใต้ต้นสาละคู่[5] นอกจากนั้นยังเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นสาละ 2 องค์ คือพระโกณฑัญญพุทธเจ้าและพระเวสสภูพุทธเจ้า
ในศาสนาพุทธ การบานในช่วงสั้น ๆ ของดอกสาละเป็นสัญลักษณ์ของการไร้ความสามารถและความรุ่งโรจน์ที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ในญี่ปุ่นสิ่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในช่วงเริ่มต้นของ เรื่องเล่าของเฮอิเกะ – เรื่องเล่าของความตกต่ำและรุ่งเรืองของตระกูลที่เคยมีอำนาจ (ญี่ปุ่น: 沙羅雙樹の花の色、盛者必衰の理を顯す; โรมาจิ: 'Jōshahissui no kotowari wo arawasu'; ทับศัพท์: "สีของดอกสาละแสดงความจริงว่าความรุ่งเรืองจะต้องตกต่ำลง")[6]
ในประเทศศรีลังกา ชาวพุทธมักเข้าใจว่าต้น Couroupita guianensis เป็นต้นสาละที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ[7]
การใช้ประโยชน์
แก้สาละเป็นไม้เนื้อแข็งที่สำคัญในอินเดีย เมื่อตัดครั้งแรกสีอ่อนและสีจะเข้มขึ้นเมื่อสัมผัสกับอากาศ เนื้อไม้มีเรซินและทนทาน เหมาะกับการทำกรอบประตูและหน้าต่าง ใบแห้งของสาละใช้ทำจานใบไม้และชามใบไม้ทางเหนือและตะวันออกของอินเดีย ซึ่งหลังจากใช้งานจะกลายเป็นอาหารของแพะ ใบสดใช้กินกับหมาก และของว่าง ในเนปาล ใช้ใบไปทำเป็นจานและชามเช่นกัน
เรซินของสาละใช้เป็นยาฝาดตามตำราอายุรเวท[8] ใช้เป็นธูปในงานฉลองของศาสนาฮินดู เมล็ดและผลของสาละใช้เป็นแหล่งของน้ำมันตะเกียงและน้ำมันมังสวิรัติ
รวมภาพ
แก้-
เปลือกไม้
-
ใบแก่
-
ช่วงผลิดอก
อ้างอิง
แก้- ↑ Ashton, P. (1998). "Shorea robusta". IUCN Red List of Threatened Species. 1998: e.T32097A9675160. doi:10.2305/IUCN.UK.1998.RLTS.T32097A9675160.en.
- ↑ จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555. ISBN 9786167376462.
- ↑ Satish Kapoor. "Sacred trees". Prabhuddha Bharata. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14.
- ↑ Buswell, Robert Jr; Lopez, Donald S Jr, บ.ก. (2013). Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton, NJ: Princeton University Press. p. 724. ISBN 9780691157863.
- ↑ "Maha-parinibbana Sutta: The Great Discourse on the Total Unbinding" (DN 16)" (ภาษาอังกฤษ). แปลโดย Thanissaro Bhikkhu. 1998. สืบค้นเมื่อ 2015-06-29.
- ↑ "Chapter 1.1". The Tale of the Heike. แปลโดย Helen Craig McCullough. Stanford University Press. March 1, 1990. ISBN 978-0804718035.
- ↑ L.B.Senaratne (September 16, 2007). "The revered 'Sal Tree' and the real Sal Tree". The Sunday Times, Sri Lanka. ISSN 1391-0531.
- ↑ George King, Sir (August 28, 2016). "Sala, Asvakarna". The Materia Medica Of The Hindus. Udoy Chand Dutt (Creator). Wentworth Press. ISBN 978-1372443275.