ก้ามปู

สปีชีส์ของพืช
(เปลี่ยนทางจาก ต้นจามจุรี)

ก้ามปู, ฉำฉา หรือ จามจุรีแดง (มักเรียกสั้น ๆ ว่า จามจุรี)[3] เป็นพืชในวงศ์ถั่ว (Leguminosae) ในวงศ์ย่อย Minosoideae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก มีใบขนาดเล็ก ดอกสีชมพู มีผลเป็นฝัก เมล็ดแข็ง ผลมีเนื้อสีชมพู รสหวานสัตว์เคี้ยวเอื้องชอบกินเป็นอาหาร เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก, บราซิล และเปรู ต่อมาได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในเอเชียใต้, เอเชียอาคเนย์, หมู่เกาะแปซิฟิก และฮาวาย เมล็ดเมื่อรับประทานทำให้ปวดศีรษะ อาเจียน ถ้าเป็นพิษรุนแรง ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่สม่ำเสมอ ทำให้ชักได้ [4]

ก้ามปู
ต้นจามจุรียักษ์ที่กาญจนบุรี
สถานะการอนุรักษ์

Secure  (NatureServe)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: ถั่ว
วงศ์: ถั่ว
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยราชพฤกษ์
เคลด: Mimosoid clade
สกุล: Samanea
(Jacq.) Merr.[1][2]
สปีชีส์: Samanea saman
ชื่อทวินาม
Samanea saman
(Jacq.) Merr.[1][2]
ชื่อพ้อง[1]
รายการ
    • Acacia propinqua A.Rich.
    • Albizia saman (Jacq.) F.Muell.
    • Albizzia saman (Jacq.) Merr.
    • Calliandra saman (Jacq.) Griseb.
    • Enterolobium saman (Jacq.) Prain
    • Feuilleea saman (Jacq.) Kuntze
    • Inga cinerea Willd.
    • Inga salutaris Kunth
    • Inga saman (Jacq.) Willd.
    • Mimosa pubifera Poir.
    • Mimosa saman Jacq.
    • Pithecellobium cinereum Benth.
    • Pithecellobium saman (Jacq.) Benth.
    • Pithecolobium saman (Jacq.) Benth. [Spelling variant]
    • Samanea saman (Jacq.) Merr.
    • Zygia saman (Jacq.) A.Lyons

ก้ามปูหรือจามจุรีแดงเป็นต้นไม้ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย และเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดลำพูน

นอกจากจามจุรีแดงและฉำฉาแล้ว ก้ามปูยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกตามแต่ละพื้นที่ ได้แก่ "ก้ามกราม" (กลาง), "ก้ามกุ้ง" (กทม., อุตรดิตถ์), "ตุ๊ดตู่" (ตราด), "ลัง" (เหนือ), "สารสา" (เหนือ), "สำสา" (เหนือ, อีสาน) และ "เส่คุ่" (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น[5]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Samanea saman (Jacq.) Merr". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 3 March 2020.
  2. Merrill, E.D. (1916). Journal of the Washington Academy of Sciences. 6: 47. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 115.
  4. เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552
  5. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549

แหล่งข้อมูลอื่น แก้