กัลปพฤกษ์
กัลปพฤกษ์[1][2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia bakeriana ชื่อสามัญ: Pink Shower[3], Wishing tree) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบได้มากในประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย[4] พุ่มใบแบนกว้าง ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ชัยพฤกษ์ (ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี), กาลพฤกษ์ เป็นต้น
กัลปพฤกษ์ | |
---|---|
Cassia bakeriana | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | ถั่ว Fabales |
วงศ์: | ถั่ว Fabaceae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ Caesalpinioideae |
สกุล: | Cassia Cassia Craib |
สปีชีส์: | Cassia bakeriana |
ชื่อทวินาม | |
Cassia bakeriana Craib | |
ชื่อพ้อง | |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้กัลปพฤกษ์เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูงประมาณ 10–15 เมตร เปลือกนอกสีเทาลำต้นมีรอยเป็นเส้นเล็กน้อยแตกกิ่งก้านพุ่งสู่ด้านบนไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบเป็นแผงมีใบย่อยประมาณ 5–6 คู่ออกเรียงตรงกันตามก้านใบเป็นคู่ๆใบบางเรียบปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 2–4 เซนติเมตร ใบยาวประมาณ 4–7 เซนติเมตร
ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้านมีกลิ่นหอมมีสีชมพูแกมขาวดอกบานจะมีความกว้างประมาณ 2–3 เซนติเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ ตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองผลเป็นฝักกลม ยาว มีสีดำ เมื่อแก่เนื้อในฝักมีสีขาวกั้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นจะมีเมล็ดเรียงอยู่ภายใน ฝักหนึ่งยาวประมาณ 15–30 เซนติเมตร มีลักษณะใบ เป็นพุ่มใบแบนกว้าง
ประโยชน์
แก้- เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อน ๆ เปลือกฝักและเมล็ดทำให้อาเจียน ลดไข้
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
การดูแล
แก้- แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
- น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อยถึงปานกลาง ควรให้น้ำ 7–10 วัน/ครั้ง
- ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินปนทราย
- ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1.2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3–4 ครั้ง
การปลูก
แก้นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนควรปลูกให้ห่างบริเวณบ้านพอสมควรเพราะเป็นไม้ที่มีการแตกกิ่งก้าน สาขากว้างใหญ่ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 2 ผสมดินปลูก
การขยายพันธุ์
แก้การเพาะเมล็ด การตอน วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
โรคและศัตรู
แก้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคพอสมควร
ในวรรณกรรม
แก้นานาทุมาผลธา | ผกากอบเป็นอาจิณ | |
รายรอบสโรทกคือนิล | ฉัตรกั้นกำบังสูรย์ |
เกิดกัลปพฤกษ์พฤกษอุฬาร | ธนาสารก็สมบูรณ์ | |
ประสงค์ใดปนโดยจิตนุกูล | ทุกสิ่งสรรพโภคา | |
— สมุทรโฆษคำฉันท์ |
ภาพ
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556.
- ↑ เต็ม สมิตินันทน์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557.
- ↑ Pink Shower Tree (Cassia bakeriana), สืบค้นเมื่อ 2021-04-01
- ↑ กัลปพฤกษ์ (Cassia bakeriana Craib.) (PDF), สืบค้นเมื่อ 2021-04-01
- พระยาวินิจวนันดร (2553). ไม้ประดับที่เป็นของไทย และ ตำนานไม้ต่างประเทศบางชะนิดในเมืองไทย. ใน อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพคุณวิไล อมาตยกุล ท.จ.ว., ภ.ป.ร. ๔ (หน้า 99) กรุงเทพฯ : พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน.
- http://www.maipradabonline.com/maimongkol/kunrapapouk.htm เก็บถาวร 2007-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.itis.usda.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=500059 เก็บถาวร 2004-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ITIS 500059
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Cassia bakeriana