ต่อตระกูล ยมนาค
รองศาสตราจารย์ ต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เคยทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมักนิยมออกสื่อเพื่อวิพากษ์วิจารณ์เรื่องต่างๆ ในสังคม
ต่อตระกูล ยมนาค | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2490 |
ประวัติ
แก้ต่อตระกูล ยมนาค เป็นบุตรชายคนเล็กในจำนวน 3 คน ของ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ยมนาค อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลและสมาชิกวุฒิสภา กับคุณหญิงสำอาง ยมนาค[1] เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2490 มีพี่ชายคือ รศ. ต่อพงษ์ ยมนาค อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพี่สาว เอื้อพันธ์ วรทรัพย์ อดีตอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ต่อตระกูล จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท M.S.C.E.จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา, ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโนวา เซาท์อีสเทิร์น สหรัฐอเมริกา และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 4111 (วปรอ.4111)
ต่อตระกูล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จแทนพระองค์ พระราชทานพิธีมงคลสมรส กับภัทราดา (ดิษยมณฑล) ยมนาค ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติ Bangkok Internationa Preparatory & Secondary School[2] มีบุตรธิดา 2 คน คือ พิมภัทร์ ยมนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติบางกอกเพรพ และ ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ปัจจุบัน เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
แก้บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
- อดีตรองศาสตราจารย์ ในภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อดีตวิศวกรที่ปรึกษาบริหารจัดการงานก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ควบคุมดูแลการประมูลจัดซื้อจัดจ้างในงานก่อสร้างภาคเอกชนมูลค่ารวมกว่า 25,000 ล้านบาท
- อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
- อดีตที่ปรึกษาสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
- อดีตที่ปรึกษา สหพันธ์ธุรกิจบริการออกแบบและก่อสร้างแห่งประเทศไทย
- อดีตอุปนายกสมาคมพ่อค้าไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- อดีตกรรมการบริหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- อดีตประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- อดีตประธานคณะทำงานติดตามศึกษาการทุจริตและปฏิบัติธรรมภิบาล สถาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- อดีตประธานกรรมการกองทุน สปต. (กองทุนสื่อประชาสังคมต้านคอรัปชั่น)
- อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- อดีตประธานคณะกรรมการธรรมาภิบาล บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด มหาชน
- อดีตกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด มหาชน
- อดีตอนุกรรมการ ฝ่ายมาตรการป้องกันการทุจริต ปปช.
- อดีตที่ปรึกษาของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- อดีตประธานอนุกรรมการตรวจสอบการทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด CTX 9000 ในสนามบินสุวรรณภูมิ ของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ด้วย
- อดีตอุปนายก สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา
- อดีตบรรณาธิการ นิตยสารอินทีเนีย
- อดีตพิธีกรในรายการ "เวทีเสรี" และ "โกปี๊เตี่ยม" ทางสถานีโทรทัศน์ TTV1 และ TTV2
- อดีตอาจารย์พิเศษ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิทยาการจัดการ (จัดการงานก่อสร้าง)
- กรรมการอำนวยการโรงเรียน Bangkok International Preparatory & Secondary School
- ผู้อำนวยการหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- ประธานกรรมการบริษัท วิศวกรรมที่ปรึกษา ต่อตระกูล ยมนาค และคณะ จำกัด (TACE)[3] (โดยได้รับเลือกจากกระทรวงการคลังให้เป็นบริษัทที่ปรึกษาบริหารโครงการก่อสร้างศูนย์กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต)
- เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ออกมาร่วมเคลื่อนไหวในการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อตรวจพบความทุจริตในรัฐบาลในส่วนของโครงการการก่อสร้างหลายแห่ง เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เยอรมนี :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์เกียรติคุณแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นกางเขนเกียรติคุณ
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญเกอเธ่
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.thaioldbooks.com/product.html?id=5204
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-25. สืบค้นเมื่อ 2013-09-07.
- ↑ http://www.tace.co.th
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๔๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๓๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๗, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘