ต่วย'ตูน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ต่วย'ตูน เป็นนิตยสารพ็อกเกตบุ๊กรายปักษ์ รวมเรื่องสั้นและขำขัน ก่อตั้งโดย วาทิน ปิ่นเฉลียว หรือ "ต่วย" ภายหลังบริหารงานโดยบุตรของวาทิน คือ ดาว ปิ่นเฉลียว และ ดุลย์ ปิ่นเฉลียว เริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ. 2514
ต่วย'ตูน | |
---|---|
บรรณาธิการ | ดล (ดุล) ปิ่นเฉลียว, เรณุกา (ดาว) ปิ่นเฉลียว |
บรรณาธิการคนก่อน | วาทิน ปิ่นเฉลียว, อุดร จารุรัตน์ |
ประเภท | รวมเรื่องสั้นและขำขัน |
นิตยสารราย | ปักษ์ |
ผู้พิมพ์ | พี.วาทิน พับลิเคชั่น |
ปีที่ก่อตั้ง | พ.ศ. 2509 |
วันจำหน่ายฉบับแรก | กันยายน พ.ศ. 2514 |
วันจำหน่ายฉบับสุดท้าย — (ฉบับที่) |
กันยายน พ.ศ. 2567 ปีที่ 54 เล่มที่ 1 |
บริษัท | พี.วาทิน พริ้นติ้ง จำกัด |
ประเทศ | ไทย |
ต่วย'ตูน ออกฉบับเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 เป็นฉบับสุดท้าย และปิดตัวลงด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ[1]
ประวัติ
แก้เมื่อ พ.ศ. 2509 วาทิน ปิ่นเฉลียว และ ประเสริฐ พิจารณ์โสภณ นักเขียนจากนิตยสารชาวกรุง ร่วมกันตั้งสำนักพิมพ์ชื่อ "สำนักพิมพ์ประเสริฐ-วาทิน" และรวบรวมการ์ตูนที่วาทินวาดในนิตยสารชาวกรุง รวมเล่มเป็นพ็อกเกตบุ๊กในชื่อ "รวมการ์ตูนของต่วย" พิมพ์ออกมาขายเป็นชุด ๆ ต่อมาจึงพิมพ์เรื่องสั้น โดยขอต้นฉบับจากบรรดานักเขียนอาวุโส และเพื่อน ๆ พี่ ๆ ที่เป็นนักเขียนในสมัยนั้น เช่น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, รัตนะ ยาวะประภาษ, นพพร บุญยฤทธิ์, วสิษฐ เดชกุญชร รวมกับการ์ตูนของวาทิน ออกเป็นนิตยสารรายสะดวก ใช้ชื่อว่า "รวมการ์ตูนต่วยและเรื่องขำขันจากชาวกรุง"
ต่อมามีคนท้วงติงว่า ชื่อหนังสือยาวเกินไปเรียกยากจำยาก จึงตัดชื่อหนังสือเหลือ ต่วย'ตูน และเริ่มพิมพ์เป็นรายเดือนฉบับแรกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2514 และพิมพ์ ต่วย'ตูน พิเศษ เป็นนิตยสารรายเดือน มีเนื้อหาเกี่ยวเกร็ดประวัติศาสตร์ เรื่องน่ารู้ เรื่องลึกลับ เรื่องแปลกและเรื่องผี ฉบับแรกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2517
งานเขียนในต่วย'ตูน ค่อนข้างหลากหลาย ประกอบด้วยนักเขียนจากหลายวิชาชีพ ทั้งแพทย์ ครู วิศวกร ทหาร ตำรวจ นักการเมือง ข้าราชการ แบ่งออกได้เป็นหลายยุค
- ยุคแรก ประกอบด้วยนักเขียน ได้แก่ ประมูล อุณหธูป (ทองคำเปลว), หลวงเมือง, กระจกฝ้า, ลาวัลย์ โชตามระ (จอหงวน อัมพร หาญนภา), 'รงค์ วงษ์สวรรค์, ระวี พรเลิศ, ชิน ดนุชา,รัตนะ ยาวะประภาษ, นพพร บุญยฤทธิ์, วสิษฐ เดชกุญชร และนักเขียนอาวุโส เช่น ฮิวเมอร์ริสต์ (อบ ไชยวสุ), หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, พลอากาศเอกหะริน หงสกุล, ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
- ยุคที่สอง เป็นนักเขียนมีชื่อจากนิตยสารชาวกรุง มาจากหลายสาขาอาชีพ ได้แก่ ปัญญา ฤกษ์อุไร, ชาตรี อนุเธียร, ประเทือง ศรีสุข, วิชัย สนธิชัย, ประจักษ์ ประภาวิทยากร , โอภาส โพธิ์แพทย์, อุดร จารุรัตน์, เสรี ชมภูมิ่ง, อนันต์ แจ้งกลีบ
- ยุคที่สาม เตชะพิทย์ แสงสิงห์แก้ว เขียนเรื่องเกี่ยวกับญี่ปุ่น, ชัยชนะ โพธิวาระ เขียนเรื่องเกี่ยวกับอินเดีย, ฉุ่ย มาลี, พัฒนพงศ์ พ่วงลาภ
- ยุคที่สี่ เริ่มใช้นักเขียนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนรักการอ่าน และสร้างนักเขียนใหม่ขึ้นมา เช่น พล.อ.โอภาส โพธิแพทย์, สุขุม นวลสกุล, ทัศน์ทรง ชมภูมิ่ง, ขุนสรรพันเรือง, โปรดเถิดดวงใจ ฯลฯ
อ้างอิง
แก้- ↑ "ต่วย'ตูน เผยสาเหตุปิดตำนานกว่า 50 ปี ขอบคุณนักอ่านทุกคน เปิดช่องทางคืนเงินสมาชิก". matichon.co.th. 2024-09-02.