ซาบาร์ยัต (อียิปต์โบราณ: sbꜣyt,[1] คอปติก: ⲥⲃⲱ "คำแนะนำ หรือ การสอน")[2] เป็นคำศัพท์ในภาษาอียิปต์โบราณที่หมายถึงประเภทของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์ โดย sbꜣyt มีความหมายตรงตัวคือ "คำสอน" หรือ "คำแนะนำ"[3] และยังหมายถึง คำสอนทางจริยธรรมที่เขียนขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ซึ่งเน้นไปที่ "วิถีชีวิตอย่างแท้จริง" จึงถือให้ตำราคำสอนซาบาร์ยัตเป็นวรรณกรรมภูมิปัญญาของอียิปต์

ซาบาร์ยัต ในไฮเออโรกลีฟ
sbsbAAiit
Y1

sbꜣyt

ตัวอย่าง แก้

ในคำสรรเสริญแด่นักประพันธ์ผู้วายชนม์ (Eulogy of Dead Writers) ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งสมัยราชอาณาจักรใหม่ โดยบทนี้ แสดงรายนามผู้ประพันธ์ที่มีชื่อเสียงจากผลงานอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เขียนตำราคำสอนจากช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง:

มีผู้ใดในที่นี้เหมือนดั่งฮอร์เดเดฟบ้างหรือไม่?
หรือเหมือนดั่งอิมโฮเทปอีกหรือไม่?
ไม่มีครอบครัวใดจะให้กำเนิดผู้ใดอื่นมาเพื่อเราเหมือนดั่งเนเฟอร์ติ
และเคติ ผู้นำของพวกเขา
ข้าขอให้พวกเจ้าระลึกและนึกถึงในนามแห่งพทาห์เอมดเจฮูติ
คาเคเปอร์ราเซเนบ
มีผู้ใดเหมือนดั่งพทาห์โฮเทปอีกหรือไม่?
หรือไคเรสด้วยเช่นกัน?[4]

ผู้เขียนเหล่านี้แต่ละคน (ยกเว้นอิมโฮเทปที่ไม่มีผลงานใดที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันอยู่เลย) รวมทั้งพทาห์เอมดเจฮูติ[5] ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าพวกเขาเป็นผู้เขียนผลงานต่าง ๆ จากช่วงสมัยอาณาจักรกลาง โดยตำราคำสอนซาบาร์ยัตที่เก่าแก่ที่สุดมีหลายคนอ้างว่า เขียนขึ้นในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลในระหว่างช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่า แต่ในปัจจุบันมีฉันทามติกันโดยทั่วไปว่า พวกเขาแต่งตำราขึ้นมาจริง ๆ ในภายหลังโดยเริ่มตั้งแต่ในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง (ระหว่าง 1991–1786 ปีก่อนคริสตกาล) และการแสดงที่มาที่สมมติขึ้นนี้ให้แก่ผู้เขียนในช่วงอดีตอันยาวนาน อาจมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อความในตำรามีอำนาจมากขึ้น

อ้างอิง แก้

  1. Sneed, Mark R. (September 7, 2015). Was There a Wisdom Tradition: New Prospects in Israelite Wisdom Studies. SBL Press. ISBN 9781628371017 – โดยทาง Google Books.
  2. Grapow & Ermann, vol.4, pp. 85, 86
  3. A further meaning is 'punishment', cf. Grapow & Ermann, vol. 5, 288.2-289.23
  4. "The immortality of the writer". www.ucl.ac.uk.
  5. http://fs2.american.edu/dfagel/www/LoyalistInstruction.pdf[bare URL PDF]