ตำบลหนองปลิง (อำเภอนครหลวง)

ตำบลในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

หนองปลิง เป็นตำบล 1 ใน 12 ของอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟมาบพระจันทร์ในทางรถไฟสายเหนือและทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นสถานีรถไฟเพียงแห่งเดียวของอำเภอนครหลวง แยกเป็นตำบลออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477[1] ก่อนที่จะยุบรวมกับตำบลบ้านชุ้ง และตำบลบ่อโพงในปี พ.ศ. 2483 และตั้งเป็นตำบลดังเดิมในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งเดิมแรกตั้งตำบลมีชื่อว่า "ตำบลบางหนองปลิง"[2]

ตำบลหนองปลิง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Nong Pling
สถานีรถไฟมาบพระจันทร์
ประเทศไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อำเภอนครหลวง
พื้นที่
 • ทั้งหมด11.04 ตร.กม. (4.26 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด2,175 คน
 • ความหนาแน่น197.01 คน/ตร.กม. (510.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 13260
รหัสภูมิศาสตร์140309
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ตำบลหนองปลิงมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง
 
 
 
อบต.หนองปลิง
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง
พิกัด: 14°24′21.6″N 100°38′05.4″E / 14.406000°N 100.634833°E / 14.406000; 100.634833
ประเทศ  ไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อำเภอนครหลวง
จัดตั้ง • 24 สิงหาคม 2516 (สภาตำบลหนองปลิง)
 • 6 กรกฎาคม 2547 (อบต.หนองปลิง)
พื้นที่
 • ทั้งหมด11.04 ตร.กม. (4.26 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[3]
 • ทั้งหมด2,175 คน
 • ความหนาแน่น197.01 คน/ตร.กม. (510.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06140305
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 1 ถนนบ้านดาบ – มาบพระจันทร์ ตำบลหนองปลิง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13260
เว็บไซต์nhongpling.org
  ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

ตำบลหนองปลิงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านมาบพระจันทร์ (Ban Map Phra Chan) หมู่ 11 (เดิม) โอนมาจากตำบลบ่อโพง
หมู่ 2 บ้านดอนกลาง (Ban Don Klang) หมู่ 6 (เดิม) โอนมาจากตำบลบ้านชุ้ง
หมู่ 3 บ้านหนองโคก (Ban Nong Khok) หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลบ้านชุ้ง
หมู่ 4 บ้านสระขุด (Ban Sa Khut) -
หมู่ 5 บ้านหนองปลิง (Ban Nong Pling) -

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่ตำบลหนองปลิง มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลิงทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลหนองปลิงที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[4] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิงในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[5]

ตำบลหนองปลิงไม่ได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลในช่วงปี พ.ศ. 2538–2542 เนื่องจากมีเงื่อนไขของจำนวนประชากรไม่ถึงเกณฑ์ (2,000 คนขึ้นไป)[6] ซึ่งปกติจะทำให้ต้องยุบเข้ากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง ในปี พ.ศ. 2547 ตำบลหนองปลิงมีประชากร 2,046 คน[7] จึงมีการพิจารณาและให้ยกฐานะสภาตำบลหนองปลิงขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล

ประชากร แก้

พื้นที่ตำบลหนองปลิงประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 5 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,175 คน แบ่งเป็นชาย 1,055 คน หญิง 1,120 คน (เดือนธันวาคม 2564)[8] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 8 ในอำเภอนครหลวง

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2564[9] พ.ศ. 2563 [10] พ.ศ. 2562[11] พ.ศ. 2561[12] พ.ศ. 2560[13] พ.ศ. 2559[14] พ.ศ. 2558[15]
หนองโคก 586 600 598 604 629 627 628
มาบพระจันทร์ 579 581 562 564 566 562 565
สระขุด 510 506 508 496 477 476 475
หนองปลิง 353 348 351 352 355 350 341
ดอนกลาง 147 149 148 149 150 148 150
รวม 2,175 2,184 2,167 2,165 2,177 2,163 2,159

การคมนาคม แก้

ทางถนนจากถนนสายเอเชีย (ทางหลวงหมายเลข 32) หลักกิโลเมตรที่ 78 เลี้ยวขวาเข้าอำเภอนครหลวงตามทางหลวงหมายเลข 3053 ประมาณ 500 เมตร เลี้ยวขวาเข้าถนน รพช. สายบ้านดาบ – มาบพระจันทร์ ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตรและมีทางรถไฟสายเหนือและทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตัดผ่านพื้นที่ โดยพื้นที่ตำบลหนองปลิงมีสถานีรถไฟทั้งหมด 1 สถานี และ 1 ป้ายหยุดรถไฟ ได้แก่

  • สถานีรถไฟมาบพระจันทร์ ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 บ้านมาบพระจันทร์ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 78.98 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ใช้ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบไฟสีสามท่า (Three Aspect) ใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Base Interlocking) ตัวย่อสถานี คือ บจ. มีขบวนรถให้บริการทั้งหมด 17 ขบวน
    • แบ่งเป็นขบวนรถในทางรถไฟสายเหนือ 13 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถเร็ว 112 (ดช.–กท.), ขบวนรถธรรมดา 201/202 (กท.–พล.–กท.), ขบวนรถธรรมดา 207/208 (กท.–นว.–กท.), ขบวนรถธรรมดา 209/210 (กท.–ตล.–กท.), ขบวนรถชานเมือง 301/302 (กท.–ลบ.–กท.), ขบวนรถชานเมือง 303 (กท.–ลบ.), ขบวนรถชานเมือง 313/314 (กท.–ภช.–กท.), ขบวนรถชานเมือง 318 (ลบ.–กท.)
    • แบ่งเป็นขบวนรถในทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ 4 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถเร็ว 145 (กท.–อบ.), ขบวนรถชานเมือง 339 (กท.–กค.), ขบวนรถชานเมือง 341/342 (กท.–กค.–กท.)
  • ป้ายหยุดรถไฟบ้านดอนกลาง ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 บ้านดอนกลาง เป็นป้ายหยุดรถไฟ ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 82.31 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ตัวย่อ คือ ลก. มีขบวนรถให้บริการทั้งหมด 8 ขบวน
    • แบ่งเป็นขบวนรถในทางรถไฟสายเหนือ 4 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถชานเมือง 301/302 (กท.–ลบ.–กท.), ขบวนรถชานเมือง 303 (กท.–ลบ.), ขบวนรถชานเมือง 318 (ลบ.–กท.)
    • แบ่งเป็นขบวนรถในทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ 4 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถเร็ว 234 (กท.–สร.), ขบวนรถชานเมือง 339 (กท.–กค.), ขบวนรถชานเมือง 341/342 (กท.–กค.–กท.)

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ เพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 51 (0 ก): 309–311. วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2477
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1434–1447. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  3. ประชากรในเขตอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสภาตำบลขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF): 1–3. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
  6. การจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565
  7. "ประชากรในเขตท้องที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.

แม่แบบ:ตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา