ตำบลสวาย (อำเภอปรางค์กู่)

ตำบลในอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

ตำบลสวาย ตั้งอยู่ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอปรางค์กู่ ประมาณ 8 กิโลเมตร

ตำบลสวาย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Sawai
ประเทศไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอปรางค์กู่
พื้นที่
 • ทั้งหมด23.21 ตร.กม. (8.96 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2556)
 • ทั้งหมด4,134 คน
 • ความหนาแน่น180 คน/ตร.กม. (460 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33170
รหัสภูมิศาสตร์330709
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

  • ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบจังหวัดสุรินทร์ และตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ
  • ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
  • ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
  • ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลกุดหวายอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

ประวัติ แก้

ตำบลสวายเป็นตำบลที่แยกออกจากตำบลตูม ชื่อตำบลสวายตั้งตามชื่อหมู่บ้าน คือบ้านสวาย ซึ่งคำว่า "สวาย" ภาษาท้องถิ่นหมายถึงมะม่วง มีจำนวนหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาไทยอีสาน (ส่วย,เขมร)

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครอง แก้

ตำบลสวายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10หมู่บ้าน ได้แก่

ชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่
1. บ้านสวาย หมู่ที่ 1
2. บ้านแสนแก้ว หมู่ที่ 2
3. บ้านขาม หมู่ที่ 3
4. บ้านทับขอน หมู่ที่ 4
5. บ้านท่าคอยนาง หมู่ที5
6. บ้านกระโพธิ์น้อย หมู่ที่ 6
7. บ้านไผ่ หมู่ที่ 7
8. บ้านสนิท หมู่ที่ 8
9. บ้านขามเหนือ หมู่ที่ 9
10. บ้านน้ำอ้อม หมู่ที่ 10

เนื้อที่ แก้

มีทั้งสิ้น ประมาณ 23.21 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 14,506.25 ไร่

สภาพทั่วไป แก้

ขององค์การบริหารส่วนตำบลสวาย เป็นที่ดอนส่วนมาก อุณหภูมิเฉลี่ย 38-42 องศาเซลเซียส

การศึกษา แก้

ด้านการศึกษา แก้

สถานศึกษา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลผักไหมประกอบด้วย ดังนี้

  1. โรงเรียนเด็กก่อนเกณฑ์ (ศูนย์เด็กวัดสวาย) จำนวน 1 แห่ง
  2. โรงเรียนประถม จำนวน 3 แห่ง
  3. โรงเรียนมัธยม จำนวน 1 แห่ง

ศาสนา แก้

  1. วัด/สำนักสงฆ์จำนวน 3 แห่ง

สาธารณสุข แก้

  1. สถานีอนามัยประจำหมู่บ้าน/ตำบล จำนวน 1 แห่ง

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ แก้

  1. แร่ธาตุ/น้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติ พื้นที่ตำบลสวายเป็นพื้นที่ดอนไม่มีทรัพยากรธรรมชาติประเภทแร่ธาตุ/น้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติ
  2. คุณภาพอากาศ ดี
  3. คุณภาพเสียง ดี
  4. คุณภาพน้ำผิวดิน พอใช้ (มีปัญหาเรื่องสารพิษตกค้างที่มาจากการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงของเกษตรกร
  5. คุณภาพน้ำชายฝั่ง มีหมู่บ้านฝั่งห้วยทับทันมักจะประสบกับปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนขาดน้ำใช้ในฤดูแล้ง
  6. ป่าไม้ พื้นที่ตำบลไม่มีพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

  • ฤดูร้อน ประมาณเดือน มกราคม - พฤษภาคม อากาศจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30 - 35 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน ประมาณเดือน มิถุนายน - ตุลาคม จะมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,000 มิลลิเมตร/ปี
  • ฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม อากาศจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 13 - 15 องศาเซลเซียส