ตำบลลุมพลี

ตำบลในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

ตำบลลุมพลี เป็นตำบลในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ตำบลลุมพลี
ตำบล
พระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ตำบลลุมพลีตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตำบลลุมพลี
ตำบลลุมพลีตั้งอยู่ในประเทศไทย
ตำบลลุมพลี
พิกัด: 14°22′12″N 100°33′00″E / 14.37000°N 100.55000°E / 14.37000; 100.55000
ประเทศไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด6.78 ตร.กม. (2.62 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด5,641 คน
 • ความหนาแน่น830 คน/ตร.กม. (2,200 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+7 (เวลามาตรฐานไทย)
รหัสไปรษณีย์13000
รหัสพื้นที่(+66) 035

ประวัติศาสตร์ แก้

ทุ่งลุมพลี เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ชื่อนี้กล่าวถึงหลายครั้งในประวัติศาสตร์อยุธยา ทุ่งลุมพลีเป็นทุ่ง 1 ใน 10 แห่งของอยุธยา มักใช้เป็นที่ปลูกข้าว และในสงครามแต่ละครั้ง มักดัดแปลงเป็นสนามรบเพื่อปกป้องราชธานีจากผู้รุกราน

ในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ปี พ.ศ. 2091 ทุ่งลุมพลีใช้เป็นที่ตั้งค่ายหลวงของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ในสงครามครั้งนี้สมเด็จพระสุริโยทัย พระอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สิ้นพระชนม์บนคอช้างระหว่างกระทำยุทธหัตถีกับตะโดธรรมราชาที่ 1หรือพระเจ้าแปรที่ทุ่งมะขามหย่องซึ่งเป็นทุ่งนาที่ติดกับทุ่งภูเขาทองและทุ่งลุมพลี ปัจจุบันทุ่งมะขามหย่องมีอ่างเก็บน้ำภูเขาทอง และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) ล้อมรอบ[1]

ในสงครามช้างเผือกปี พ.ศ. 2106 กองกำลังของพระยาพะสิม เจ้าเมืองพะสิม ได้เข้ายึดทุ่งลุมพลีเป็นที่ตั้งทัพ

ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทุ่งลุมพลียังเป็นชุมชนของเชลยศึกชาวมุสลิมซึ่งต้อนมาจากไทรบุรีและปะลิสทางตอนเหนือของมาเลเซีย[2]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

พื้นที่ทั้งหมดของตำบลลุมพลีอยู่ภายใต้การบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลลุมพลี

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ตำบลลุมพลีแบ่งเป็น 6 หมู่บ้าน[2]

หมู่ที่ ชื่อ
01. บ้านเกาะล่าง
02. บ้านย่านซื่อ
03. บ้านเกาะกลาง
04. บ้านหลังสุเหร่า
05. บ้านหัวถนน
06. บ้านหนองประทุน

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและอ่างเก็บน้ำภูเขาทองอยู่ในพื้นที่[3]

มีวัดโบราณหลายแห่งในบริเวณนี้และบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ วัดบัว (เนินดิน) วัดดอกไม้ (หายสาบสูญ) วัดจงกลม (วัดร้างที่กรมศิลปากรบูรณะ) วัดพระยาแมน (วัดร้างที่กรมศิลปากรบูรณะ) วัดปราสาท (วัดร้างที่กรมศิลปากรไม่ได้บูรณะ) วัดสี่เหลี่ยม (วัดร้างที่กรมศิลปากรบูรณะ) วัดท่าคลอง (วัดที่ยังมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่) และวัดตูม (วัดที่ยังมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่)[4]

อ้างอิง แก้