ตำบลลาดบัวขาว (อำเภอบ้านโป่ง)
ลาดบัวขาว เป็นตำบลหนึ่งในการปกครองของอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ตำบลลาดบัวขาว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Lat Bua Khao |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ราชบุรี |
อำเภอ | บ้านโป่ง |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 13.62 ตร.กม. (5.26 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562)[2] | |
• ทั้งหมด | 6,754 คน |
• ความหนาแน่น | 495.90 คน/ตร.กม. (1,284.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 70110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 700515 |
ประวัติ
แก้ตำบลลาดบัวขาว จากการบันทึกของนักประวัติศาสตร์ สถิต เลิศวิชัย ได้บันทึกไว้ว่า ตำบลลาดบัวขาวเดิมเป็น "อำเภอลาดบัวขาว" ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2445 โดยเอาพื้นที่เขตตำบลท่าผา ตำบลธรรมเสน และตำบลลาดบัวขาว รวมกันตั้งเป็นอำเภอลาดบัวขาวและในขณะนั้นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอลาดบัวขาวคือบริเวณที่วัดลาดบัวขาวปัจจุบันต่อมาในปี พ.ศ. 2446 หรือรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) 124 ทางราชการได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอลาดบัวขาวไปตั้งใหม่ที่ตำบลพงตึก และได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอลาดบัวขาว เป็นอำเภอพระแท่น ตำบลลาดบัวขาว จึงขึ้นอยู่กับอำเภอพระแท่น จังหวัดราชบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2453 สมัยขุนศรีสรนานิคม หรือมหาจันทร์ ปุญสิริ เป็นนายอำเภอได้ย้ายที่ว่าการอำเภอพระแท่นจากตำบลพงตึกมาตั้งใหม่ที่หมู่บ้านถ้ำมะกา และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออำเภอพระแท่นเป็นอำเภอท่ามะกา ในปี พ.ศ. 2460 สมัยขุน รามบุรีรักษ์ (แอร่ม สุนทรศารทูล) เป็นนายอำเภอ ตำบลลาดบัวขาวจึงขึ้นอยู่กับอำเภอท่ามะกา จังหวัดราชบุรีและ ในปี พ.ศ. 2480 ทางราชการได้โอนอำเภอท่ามะกาไปขึ้นกับจังหวัดกาญจนบุรี และได้โอนตำบลลาดบัวขาวไปขึ้นกับอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีจนถึงปัจจุบัน
สภาพพื้นที่โดยทั่วไป
แก้สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญคือแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมาคือรับจ้าง และค้าขาย การคมนาคมสะดวก สำหรับนอกภาคเกษตรกรรมประชากรส่วนใหญ่ จะไปทำงานในโรงงานประเภทต่าง ๆ ภายในอำเภอบ้านโป่ง อำเภอเมืองราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียงเช่น นครปฐม กาญจนบุรี กรุงเทพฯ เป็นต้น
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้ตำบลลาดบัวขาวมีหมู่บ้านจำนวน 7 หมู่บ้าน อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาวทั้ง 7 หมู่บ้าน
- หมู่ที่ 1 บ้านท่าต้นจันทร์
- หมู่ที่ 2 บ้านขอบลาด
- หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งทอง
- หมู่ที่ 4 บ้านลาดบัวขาว
- หมู่ที่ 5 บ้านหลังโรงหีบ
- หมู่ที่ 6 บ้านท่าศาลเจ้า
- หมู่ที่ 7 บ้านรางวาลย์
อาณาเขต
แก้ตำบลลาดบัวขาว มีอาณาเขตติดต่อกับตำบล อำเภอ จังหวัด ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่งและอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลปากแรต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลท่าเสา อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ตำบลลาดบัวขาว มีหน่วยการปกครองท้องถิ่นคือ องค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาว ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่4 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540
ศาสนสถาน
แก้- วัดลาดบัวขาว หมู่ที่ 4 ตำบลลาดบัวขาว
- วัดรางวาลย์ หมู่ที่ 7 ตำบลลาดบัวขาว
สถาบันการศึกษา
แก้- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลาดบัวขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาว กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง โรงเรียนวัดลาดบัวขาว สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง โรงเรียนวัดลาดบัวขาว สังกัดสำนักงานงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- โรงเรียนอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยพยาบาล จำนวน 1 แห่ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
บูรพาจารย์
แก้"พระครูวิจิตรสารคุณ" หรือ"หลวงพ่อสุรินทร์" อดีตเจ้าอาวาสวัดลาดบัวขาว เจ้าของเหรียญหมูขวาง หมูตาม อันลือลั่นสนั่นท้องน้ำแม่กลอง และรอยสักยันต์ที่ตำรวจต้องขอร้องให้หลวงพ่อเลิกสักคือ หมูโทนที่กระเบนเหน็บ และดำดื้อแดงเกเร เพราะคนที่สักแล้วไปเป็นโจร ตำรวจจับตัวยาก ฆ่าก็ไม่ตาย
อ้างอิง
แก้- ↑ องค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาว. "สภาพทั่วไป อบต.ลาดบัวขาว." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ladbuakhaw.go.th/site/index.php?option=com_content&view=article&id=49&Itemid=82 [ม.ป.ป.]. สืบค้น 26 มิถุนายน 2563.
- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2562 ตำบลลาดบัวขาว". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)