ตำบลมะขามล้ม
มะขามล้ม เป็นตำบลในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตำบลที่มีทางรถไฟสายสุพรรณบุรีผ่าน โดยเป็นที่ตั้งของอดีตสถานีรถไฟบ้านมะขามล้ม และอดีตสถานีรถไฟสะแกย่างหมู
ตำบลมะขามล้ม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Makham Lom |
อดีตสถานีบ้านมะขามล้มในทางรถไฟสายสุพรรณบุรี | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | บางปลาม้า |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 42.00 ตร.กม. (16.22 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 4,588 คน |
• ความหนาแน่น | 109.24 คน/ตร.กม. (282.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 720411 |
องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม | |
---|---|
อดีตสถานีสะแกย่างหมูในทางรถไฟสายสุพรรณบุรี | |
พิกัด: 14°23′15.9″N 100°04′17.6″E / 14.387750°N 100.071556°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | บางปลาม้า |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 42.00 ตร.กม. (16.22 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 4,588 คน |
• ความหนาแน่น | 109.24 คน/ตร.กม. (282.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06720414 |
ที่อยู่ที่ทำการ | หมู่ 3 ถนนเก้าห้อง-บ้านมะขามล้ม ตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 72150 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลมะขามล้ม มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลดอนโพธิ์ทอง ตำบลดอนกำยาน และตำบลทับตีเหล็ก (อำเภอเมืองสุพรรณบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบางปลาม้า
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลวัดดาว และตำบลวัดโบสถ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลวังน้ำเย็น
ประวัติ
แก้มะขามล้ม เป็นชุมชนชาวไทยพวนหรือลาวพวน ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่ม ในเขตหมู่ 3 และ 4 มีอาคารบ้านเรือนเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น (สถาปัตยกรรมแบบไทยพวน) เป็นบ้านเดี่ยว ยกพื้น หลังคากระเบื้อง โดยมีลานทรายหน้าบ้านและมีการปลูกต้นมะขามไว้มากมายในพื้นที่ อาชีพหลักของชาวบ้าน คือ การทำนา และมีการเลี้ยงปลา เป็ด ไก่ โคนม และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาเป็นอาชีพเสริม โดยมีงานบุญกำฟ้าเป็นประเพณีที่สำคัญของพื้นที่[3]
ปี พ.ศ. 2472 พระยาพิศาลสารเกษตร (พร พิมพสูตร) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี และหม่อมเจ้าธานีนิวัต เสนาบดีกระทรวงธรรมการ พิจารณายุบตำบลสะแกย่างหมู เข้ากับตำบลมะขามล้ม[4] เนื่องจากมีพื้นที่เพียง 4 หมู่บ้าน
ปี พ.ศ. 2519 นายสอน สุทธิสาร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ประกาศแยก 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ 7 บ้านดอนโก, หมู่ 8 บ้านไผ่มุ้ง, หมู่ 10 บ้านดอนยอ, หมู่ 12 บ้านวังน้ำเย็น และหมู่ 13 บ้านไผ่เง ของตำบลมะขามล้ม ออกไปตั้งเป็นตำบลวังน้ำเย็น[5] โดยอนุมัติจากนายคนึง ฦาไชย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้ตำบลมะขามล้มแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านโคกโก
- หมู่ที่ 2 บ้านโคกข่อย
- หมู่ที่ 3 บ้านมะขามล้ม
- หมู่ที่ 4 บ้านมะขามล้ม
- หมู่ที่ 5 บ้านสะแกย่างหมู
- หมู่ที่ 6 บ้านวัดโบสถ์
- หมู่ที่ 7 บ้านตะลุ่มบ้านหมี่
- หมู่ที่ 8 บ้านโพธิ์เตาเหล็ก
- หมู่ที่ 9 บ้านดอนไผ่แขวน
- หมู่ที่ 10 บ้านวัดโบสถ์
- หมู่ที่ 11 บ้านตะลุ่มบ้านหมี่
- หมู่ที่ 12 บ้านหนองกระทุ่ม
- หมู่ที่ 13 บ้านปากบาง
- หมู่ที่ 14 บ้านดอนข่อย
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ตำบลมะขามล้มเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลมะขามล้ม ในปี พ.ศ. 2517[6] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลมะขามล้มมี 14 หมู่บ้าน พื้นที่ 42.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 5,375 คน และ 1,163 ครัวเรือน[7] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลมะขามล้มอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชากรในเขตตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 21 ง): 48–85. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2542
- ↑ ประวัติตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี - แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับบางตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี มณฑลนครชัยศรี ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 86–88. วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2472
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (110 ง): 2429–2432. วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2519
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539