ตำบลพุนพิน

ตำบลในอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

พุนพิน เป็น 1 ใน 16 ตำบลของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ซึ่งเป็นทางแยกระหว่างทางรถไฟสายใต้กับทางรถไฟสายคีรีรัฐนิคมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายสุราษฎร์ธานี–พังงา–ท่านุ่น และในอนาคตมีแผนจะขยายไปถึงท่านุ่น

ตำบลพุนพิน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Phunphin
สถานีรถไฟชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ในพื้นที่หมู่ 1 บ้านทุ่งโพธิ์
สถานีรถไฟชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ในพื้นที่หมู่ 1 บ้านทุ่งโพธิ์
ประเทศไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอพุนพิน
พื้นที่
 • ทั้งหมด13.20 ตร.กม. (5.10 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด2,416 คน
 • ความหนาแน่น183.03 คน/ตร.กม. (474.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84130
รหัสภูมิศาสตร์841709
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลพุนพิน
อบต.พุนพินตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
อบต.พุนพิน
อบต.พุนพิน
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลพุนพิน
พิกัด: 9°07′27.7″N 99°11′39.2″E / 9.124361°N 99.194222°E / 9.124361; 99.194222
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอพุนพิน
จัดตั้ง • 5 กรกฎาคม 2516 (สภาตำบลพุนพิน)
 • 2540 (อบต.พุนพิน)
พื้นที่
 • ทั้งหมด13.20 ตร.กม. (5.10 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด2,416 คน
 • ความหนาแน่น183.03 คน/ตร.กม. (474.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06841717
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 111 หมู่ที่ 1 ถนนพุนพิน–ไชยา ตำบลพุนพิน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130
เว็บไซต์www.phunphin.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ตำบลพุนพินมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลศรีวิชัย (อำเภอพุนพิน)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลท่าข้าม (อำเภอพุนพิน)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลท่าข้าม (อำเภอพุนพิน)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหัวเตยและตำบลมะลวน (อำเภอพุนพิน)

ประวัติ แก้

พื้นที่ตำบลพุนพินตั้งอยู่ริมแม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุมดวง มีประวัติศาสตร์ยาวนาน สืบเนื่องกรณีสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช พบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน โดยเฉพาะจักรที่ทำจากโลหะสัมฤทธิ์และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง และเศษภาชนะดินเผาจากเปอร์เซีย สนับสนุนข้อสันนิษฐานว่าเป็นรัฐโบราณตามเอกสารจีนที่เรียกว่า "พันพัน" ถือเป็นเมืองท่าสำคัญทั้งการค้าและศาสนาที่รุ่งเรืองในอดีตเมื่อ 1,300 ปีก่อน เป็นที่มาของชื่ออำเภอในปัจจุบัน ซึ่งใช้ชื่อว่าอำเภอ "พุนพิน" ตั้งแต่แรกตั้ง[2] ใน พ.ศ. 2463 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอ "ท่าข้าม"[3] และใน พ.ศ. 2482 ได้กลับมาใช้ชื่ออำเภอ "พุนพิน"[4] ดังเดิม เพื่อรักษาไว้ซึ่งชื่อประวัติศาสตร์แห่งท้องถิ่น อีกทั้งประชาชนในท้องที่คุ้นชินชื่อ "พุนพิน" มากกว่า

ตำบลพุนพินได้รับการจัดตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 พร้อมกับการตั้งอำเภอ[5] เดิมมีการปกครองทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ซึ่งในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2481 ได้โอนพื้นที่หมู่ที่ 1–3 (ในขณะนั้น) ของตำบลพุนพิน ไปขึ้นกับตำบลท่าข้าม และโอนพื้นที่หมู่ที่ 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลพุนพิน ไปขึ้นกับตำบลมะลวน[6] และในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 ได้โอนพื้นที่หมู่ที่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลพุนพิน ไปขึ้นกับตำบลท่าข้าม[7] และในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ได้แยกพื้นที่หมู่ที่ 1 (บ้านดอนทราย) และหมู่ที่ 5 (บ้านหัวเขา) ของตำบลพุนพิน รวมกับพื้นที่หมู่ที่ 7 (บ้านทุ่งอ่าว) ของตำบลลีเล็ด ไปจัดตั้งเป็นตำบลศรีวิชัย[8] จึงทำให้เขตตำบลพุนพินเหลือการปกครองเพียง 3 หมู่บ้าน จนปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

ตำบลพุนพินแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งโพธิ์ (Ban Thung Pho)
หมู่ที่ 2 บ้านดอนเนียง (Ban Don Niang)
หมู่ที่ 3 บ้านสระพัง (Ban Saphang)

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่ตำบลพุนพินมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลพุนพิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพุนพินทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลพุนพินที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2516[9] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลพุนพินใน พ.ศ. 2540[10]

ประชากร แก้

พื้นที่ตำบลพุนพินประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 3 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,370 คน แบ่งเป็นชาย 1,158 คน หญิง 1,212 คน (เดือนธันวาคม 2564)[11] เป็นตำบลที่มีประชากรน้อยเป็นอันดับสองในอำเภอพุนพิน

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2564[12] พ.ศ. 2563 [13] พ.ศ. 2562[14] พ.ศ. 2561[15] พ.ศ. 2560[16] พ.ศ. 2559[17] พ.ศ. 2558[18]
ดอนเนียง 881 879 858 851 856 867 873
ทุ่งโพธิ์ 789 794 784 795 799 797 791
สระพัง 700 670 661 653 646 641 647
รวม 2,370 2,343 2,303 2,299 2,301 2,305 2,311

อ้างอิง แก้

  1. ประชากรในเขตอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (8): 143. วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2449
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอพุนพิน มาตั้งที่ตำบลท่าข้ามเรียกว่าอำเภอท่าข้าม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0 ก): 159. วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2463
  4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482
  5. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลสุราษฎร์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 489–498. วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2464
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 13–14. วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2482
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้ง, ยุบ, เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (2 ง): 4–6. วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2492
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (104 ง): 2221–2224. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2519
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  18. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.