ตำบลบางตะไนย์
บางตะไนย์ เป็นตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ตำบลบางตะไนย์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Bang Tanai |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นนทบุรี |
อำเภอ | ปากเกร็ด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 4.12 ตร.กม. (1.59 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 6,798 คน |
• ความหนาแน่น | 1,650.0 คน/ตร.กม. (4,273 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 11120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 120605 |
องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะไนย์ | |
---|---|
พิกัด: 13°55′10.7″N 100°29′43.08″E / 13.919639°N 100.4953000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นนทบุรี |
อำเภอ | ปากเกร็ด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 4.12 ตร.กม. (1.59 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 6,798 คน |
• ความหนาแน่น | 1,650.0 คน/ตร.กม. (4,273 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06120606 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 43/8 หมู่ที่ 5 ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลบางตะไนย์ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลคลองข่อย และตำบลบางคูวัด (อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบางพูด
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลปากเกร็ด ตำบลเกาะเกร็ด และตำบลคลองพระอุดม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลคลองพระอุดม
ประวัติ
แก้ตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา บางตะไนย์อาศัยอยู่อย่างเป็นปึกแผ่นโดยชาวมอญจำนวนมากอาศัยพื้นที่ตามแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น บางคูวัด ในจังหวัดปทุมธานี หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 พื้นที่ตรงนี้ร้างไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญกลับมาอาศัยอดีตหมู่บ้านแห่งนี้ ปี พ.ศ. 2365 ชาวมอญจำนวนมากอพยพจากพม่า เข้ามาอาศัยในสยาม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อาศัยที่บางตะไนย์ บางพูด และคลองบ้านแหลมใหญ่ ซึ่งได้อาศัยในพื้นที่สืบมาจนถึงปัจจุบัน
ชื่อ บางตะไนย์[1] หมายถึง พื้นที่ที่ปลูกต้นข่อย ในภาษามอญเรียกพืชพันธุ์นี้ว่า คะไน แต่ภาษาไทยเรียกเพี้ยนเป็น ตะไน คำว่า บาง ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง หมู่บ้านหรือชุมชนที่ตั้งอยู่ริมน้ำ พื้นที่ของบางตะไนย์ครอบคลุมไปถึงจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีเขตติดต่อกันมีวัดบางตะไนย์อยู่ในชุมชนบางตะไนย์ แต่เมื่อมีการแบ่งเขตการปกครองของจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดปทุมธานี โดยใช้คลองบางตะไนย์เป็นแนวแบ่งเขต วัดบางตะไนย์ปัจจุบันจึงไปอยู่ในเขตจังหวัดปทุมธานี ส่วนตําบลบางตะไนย์ในเขตจังหวัดนนทบุรีไม่มีชื่อวัดบางตะไนย์
ปี พ.ศ. 2490 นายลิขิต สัตยายุทธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พร้อมกับร้อยเอกพิพัฒน์ พิพัฒน์สุรการ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแยกพื้นที่ ได้แก่ หมู่ 5 บ้านวัดบางจาก, หมู่ 6 บ้านลำภูรวย, หมู่ 7 บ้านแหลมเหนือ, หมู่ 8 บ้านแหลมกลาง ของตำบลบางตะไนย์ กับหมู่ 12 บ้านปากคลอง และหมู่ 13 บ้านคลองพระอุดม ของตำบลอ้อมเกร็ด รวมเป็น 6 หมู่บ้าน ไปตั้งเป็น ตำบลคลองพระอุดม[2]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้พื้นที่ตำบลบางตะไนย์ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 5 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 6,798 คน แบ่งเป็นชาย 3,172 คน หญิง 3,626 คน (เดือนธันวาคม 2566)[3] มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับ 10 ในอำเภอปากเกร็ด
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566[4] | พ.ศ. 2565[5] | พ.ศ. 2564[6] | พ.ศ. 2563[7] | พ.ศ. 2562[8] | พ.ศ. 2561[9] | พ.ศ. 2560[10] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
แหลมเหนือ | 2,631 | 2,375 | 2,100 | 1,874 | 1,648 | 1,494 | 1,453 |
ตาล | 2,527 | 2,289 | 2,110 | 1,989 | 1,902 | 1,782 | 1,759 |
ตำหนัก | 681 | 698 | 677 | 674 | 656 | 640 | 620 |
น้อย | 558 | 560 | 568 | 582 | 593 | 588 | 594 |
แหลม | 401 | 415 | 424 | 422 | 426 | 424 | 428 |
รวม | 6,798 | 6,337 | 5,879 | 5,541 | 5,225 | 4,928 | 4,854 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ตำบลบางตะไนย์เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลบางตะไนย์ ในปี พ.ศ. 2516[11] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลบางตะไนย์มี 5 หมู่บ้าน พื้นที่ 4.12 ตารางกิโลเมตร ประชากร 3,470 คน และ 817 ครัวเรือน[12] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลบางตะไนย์อยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะไนย์[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติความเป็นมาของตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี - องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะไนย์ จังหวัดนนทบุรี สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539