ตำบลนาป่า (อำเภอเมืองชลบุรี)

ตำบลในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย

นาป่า เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ห่างจากตัวเมืองชลบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ เทศบาลตำบลนาป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาป่าทั้งตำบล

ตำบลนาป่า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Na Pa
พิกัด: 13°23′44″N 101°1′23″E / 13.39556°N 101.02306°E / 13.39556; 101.02306
ประเทศไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอเมืองชลบุรี
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด18.30 ตร.กม. (7.07 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด38,548 คน
 • ความหนาแน่น2,106.44 คน/ตร.กม. (5,455.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 20000
รหัสภูมิศาสตร์200107
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลนาป่า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Na Pa
คำขวัญ: 
นาป่าเมืองน่าอยู่ บริหารงานโปร่งใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมสาธารณูปการ ก้าวนำด้านเศรษฐกิจ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ทต.นาป่าตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
ทต.นาป่า
ทต.นาป่า
พิกัด: 13°23′44″N 101°1′23″E / 13.39556°N 101.02306°E / 13.39556; 101.02306
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอเมืองชลบุรี
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสามารถ สุขสว่าง
พื้นที่
 • ทั้งหมด18.30 ตร.กม. (7.07 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด38,548 คน
 • ความหนาแน่น2,106.44 คน/ตร.กม. (5,455.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05200113
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลตำบลนาป่า เลขที่ 99 หมู่ 11 ตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000
โทรศัพท์0 3805 5645
โทรสาร0 3805 5575
เว็บไซต์www.napachon.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

พื้นที่ตำบลนาป่าเดิมเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าชุกชุม จนนายพรานคนหนึ่งชื่อ "พรานช่วง" ได้เข้ามาถางป่าแห่งนี้เพื่อทำนา ต่อมาได้มีผู้อพยพเข้ามาในพื้นที่เพิ่มขึ้น จนพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่นาโล่งแจ้ง จึงเป็นที่มาของชื่อ "นาป่า"[1]

เทศบาลตำบลนาป่า เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2538 ในนาม องค์การบริหารส่วนตำบลนาป่า จากนั้นได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลนาป่า เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 [2]

ปัจจุบันสำนักงานเทศบาลตำบลนาป่า ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 11 ถนนศุขประยูร ตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000

ตราสัญลักษณ์เทศบาล แก้

  • ทุ่งนา แสดงถึงพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และสื่อถึงอาชีพหลักของประชากรส่วนใหญ่ นั่นคือ เกษตรกรรม
  • ต้นไม้ แสดงถึง ต้นตาล อันมีขึ้นมากในพื้นที่ และมีการนำมาแปรรูปเป็นสินค้าท้องถิ่น คือ น้ำตาล
  • ภูเขา แสดงถึงป่าในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์

ภูมิประเทศ แก้

ภูมิประเทศในเขตตำบลนาป่ามีลักษณะเป็นที่ราบ ดินเป็นดินทราย ระดับใต้ผิวดินมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 2 เมตรเป็นดินดานและหินดาน มีภูเขาเตี้ย ๆ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่

เนื้อที่และอาณาเขต แก้

ตำบลนาป่ามีพื้นที่ทั้งหมด 18.30 ตารางกิโลเมตร (11,437 ไร่) มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังนี้

เขตการปกครอง แก้

หมู่บ้าน แก้

ตำบลนาป่าแบ่งออกเป็น 12 หมู่บ้าน ดังนี้

  • หมู่ที่ 1 บ้านนาล่าง
  • หมู่ที่ 2 บ้านท้องคุ้ง
  • หมู่ที่ 3 บ้านนาขัดแตะ
  • หมู่ที่ 4 บ้านนานอก
  • หมู่ที่ 5 บ้านบางกระแบง
  • หมู่ที่ 6 บ้านนาเขื่อน
  • หมู่ที่ 7 บ้านหนองพะเนียง
  • หมู่ที่ 8 บ้านหนองทราย
  • หมู่ที่ 9 บ้านบ่อมอญ
  • หมู่ที่ 10 บ้านไร่บน
  • หมู่ที่ 11 บ้านหนองบอน
  • หมู่ที่ 12 บ้านหนองยายรัก

ชุมชน แก้

เทศบาลตำบลนาป่า แบ่งเขตการปกครองออกเป็นชุมชนจำนวน 16 ชุมชน ดังนี้

  • ชุมชนที่ 1 บ้านนาล่าง (หมู่ที่ 1)
  • ชุมชนที่ 2 บ้านท้องคุ้ง (หมู่ที่ 2)
  • ชุมชนที่ 3 บ้านนาขัดแตะ (หมู่ที่ 3)
  • ชุมชนที่ 4 บ้านนานอก (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนที่ 5 บ้านทุ่งบางกระแบง (หมู่ที่ 5)
  • ชุมชนที่ 6 บ้านนาเขื่อน (หมู่ที่ 6)
  • ชุมชนที่ 7 บ้านหนองพะเนียง (หมู่ที่ 7)
  • ชุมชนที่ 8 บ้านหนองทราย (หมู่ที่ 8)
  • ชุมชนที่ 9 บ้านบ่อมอญ (หมู่ที่ 9)
  • ชุมชนที่ 10 บ้านไร่บน (หมู่ที่ 10)
  • ชุมชนที่ 11 บ้านไร่บน (หมู่ที่ 11)
  • ชุมชนที่ 12 บ้านหนองยายรัก (หมู่ที่ 12)
  • ชุมชนที่ 13 ปืนใหญ่สามัคคี (หมู่ที่ 10)
  • ชุมชนที่ 14 ปริณดาสังกะสี (หมู่ที่ 12)
  • ชุมชนที่ 15 อีสเทิร์นแลนด์ (หมู่ที่ 12)
  • ชุมชนที่ 16 แฟมิลี่แลนด์ (หมู่ที่ 12)

ประชากร แก้

จากข้อมูลของกรมการปกครอง ประชากรในปลายปี พ.ศ. 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 38,548 คน แบ่งเป็นชาย 19,027 คน และเป็นหญิง 19,521 คน[3] มีจำนวนบ้านทั้งหมด 23,840 หลัง มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 2,106 คนต่อตารางกิโลเมตร สามารถแยกออกเป็นพื้นที่ได้ดังนี้

ตำบล หมูที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนบ้าน (หลัง) ประชากรชาย (คน) ประชากรหญิง (คน) รวมประชากร (คน)
นาป่า 1 นาล่าง 3,872 3,431 3,778 7,209
2 ท้องคุ้ง 1,762 1,245 1,251 2,496
3 นาขัดแตะ 438 396 391 787
4 นานอก 1,608 1,170 1,169 2,339
5 บางกระแบง 691 576 586 1,162
6 นาเขื่อน 406 309 301 610
7 หนองพะเนียง 627 473 571 1,044
8 หนองทราย 2,261 1,356 1,424 2,780
9 บ่อมอญ 2,852 2,136 2,341 4,477
10 ไร่บน 990 1,223 845 2,068
11 หนองบอน 1,862 1,392 1,272 2,664
12 หนองยายรัก 6,471 5,320 5,592 10,912

พื้นที่ตำบลนาป่า เป็นพื้นที่ที่มีเขตติดต่อกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ส่งผลให้มีประชากรแฝงจากต่างท้องที่มาเช่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีบ้านจำนวนมากที่เป็นบ้านว่าง (ไม่มีรายชื่อผู้อาศัยในบ้าน) ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างขึ้นเพื่อให้ประชากรแฝงเหล่านี้เช่าพักอาศัย ทั้งในรูปแบบของห้องแถว คอนโดมิเนียม หมู่บ้านจัดสรร และอาคารพาณิชย์ อีกทั้งยังมีบ้านที่ไม่มีเลขที่ที่ได้สร้างหรือต่อเติมอาคารจากเดิมและแบ่งให้เช่าอีกด้วย ส่งผลให้ประชากรในตำบลนาป่านั้นมีประชากรแฝงไม่ต่ำกว่า 5,000 คน

เศรษฐกิจ แก้

เดิมพื้นที่ในตำบลนาป่ามีลักษณะเป็นไร่นา แต่ปัจจุบันพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม พาณิชยการและที่อยู่อาศัย ส่งผลให้การประกอบอาชีพของประชากรเปลี่ยนแปลงไป โดยอาชีพหลักของประชากรมีดังนี้

  • ร้อยละ 60 แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ในจำนวนนี้รวมไปถึงประชากรแฝงจากต่างพื้นที่ และแรงงานต่างด้าว
  • ร้อยละ 25 ค้าขาย/พาณิชยกรรม เนื่องด้วยการขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชน ประชากรในพื้ันที่ได้มีการเปิดร้านค้าขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ทั้งในละแวกชุมชน
  • ร้อยละ 5 การบริการ เช่น รถรับจ้าง ซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ บริการทำความสะอาด
  • ร้อยละ 10 อื่น ๆ เช่น ประกอบกิจการ โรงแรม ปั๊มน้ำมัน โรงงานอุตสาหกรรม จัดสรรที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การศึกษา แก้

มีสถานศึกษาจำนวน 4 แห่ง ดังนี้

  • สังกัดเทศบาลตำบลนาป่า
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท้องคุ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 เปิดสอนระดับเตรียมอนุบาล
  • สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา ชลบุรี เขต 1
    • โรงเรียนวัดท้องคุ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 เปิดสอนระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนต้น
    • โรงเรียนนาป่ามโนรถ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 เปิดสอนระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา
    • โรงเรียนวัดนาเขื่อน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 เปิดสอนระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา
    • โรงเรียนวัดราษฎร์สโมสร ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

การสาธารณสุข แก้

ประชากรในพื้นที่ตำบลนาป่า มีการใช้บริการจากหน่วยงานสาธารณสุขจากภาครัฐ ดังนี้

  • หน่วยบริการปฐมภูมิ
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่า (บ้านท้องคุ้ง) ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่า ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
    • ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี ตั้งอยู่หมู่ที่ 7[4]
  • หน่วยบริการทุติยภูมิ

ศาสนสถาน แก้

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีศาสนสถานในตำบลดังนี้

  • วัดในพระพุทธศาสนา จำนวน 3 วัด
    • วัดท้องคุ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
    • วัดราษฎร์สโมสร ตั้งอยู่หมู่ที่ 11
    • วัดนาเขื่อน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6
  • สำนักชี จำนวน 1 แห่ง
    • สำนักชีรุ่งรัศมี ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
  • ศาลเจ้า จำนวน 2 แห่ง
    • ศาลเจ้าทุ่งบางกระแบง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
    • ศาลเจ้าซำเต๋า ตั้งอยู่หมู่ที่ 11

การคมนาคม แก้

  • ถนนสายหลัก
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 (ถนนศุขประยูร) เป็นเส้นทางหลักในการเข้าสู่ตัวเมืองชลบุรี
    • ถนนศิริรักษ์ เป็นเส้นทางเข้าสู่ตำบลหนองไม้แดง
    • ถนนท้องคุ้ง-หนองรี เป็นเส้นทางสู่ตำบลหนองรี
    • ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ถนนมอเตอร์เวย์) เป็นเส้นทางหลักในการเข้าสู่กรุงเทพมหานคร โดยมีด่านเก็บค่าผ่านทางพนัสนิคม (เขตเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ) ในการเข้าออกทางหลวงพิเศษนี้
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 (ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี)
  • รถโดยสารประจำทาง
    • สาย 1633ก ชลบุรี-หัวไผ่
    • สาย 1633ข ชลบุรี-ปรกฟ้า
    • สาย 1633ข ขลบุรี-หนองตำลึง
    • สาย 1633ข ขลบุรี-สัตพงษ์
    • สาย - ขลบุรี-หนองไม้แดง-ดอนหัวฬ่อ
    • สาย 265 ชลบุรี-นครราชสีมา
    • สาย 52 กรุงเทพ-พนัสนิคม

ตลาดสด แก้

  • ตลาดสดโรงสี ตั้งอยู่หมู่ที่ 1

สาธารณูปโภค แก้

  • ไฟฟ้า ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาป่า ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชลบุรี โดยมีไฟฟ้าใช้ร้อยละ 100
  • ประปา ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาป่า ใช้น้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค สาขาชลบุรี (ชั้นพิเศษ) แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ในบางหมู่บ้านยังใช้ระบบประปาหมู่บ้านและแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 2018-04-10.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-29. สืบค้นเมื่อ 2018-04-10.
  3. http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showVillageData.php?rcode=20680107&statType=1&year=60
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-01. สืบค้นเมื่อ 2018-04-10.