ตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์

(เปลี่ยนทางจาก ตำนานคนตัดไผ่)

ตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์ หรือ ทาเกโตริ โมโนงาตาริ (ญี่ปุ่น: 竹取物語โรมาจิTaketori Monogatariแปลว่า "ตำนานคนตัดไผ่") เป็น โมโนงาตาริ (ตำนาน) ประกอบด้วยองค์ประกอบของคติชาวบ้านญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 หรือ 10 ในยุคเฮอัง ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน ตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์ เป็นหนึ่งในผลงานในรูปแบบโมโนงาตาริที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่บันทึกได้

ทาเกโตริ โนะ โอกินะ นำเจ้าหญิงคางูยะกลับบ้านไปให้ภรรยา วาดโดยโทซะ ฮิโรมิจิ ราว ค.ศ. 1600

เรื่องเล่าเรื่องของคางุยะฮิเมะ เจ้าหญิงจากพระจันทร์ที่ถูกค้นพบในปล้องไม้ไผ่เรืองแสง หลังจากที่เติบโตเป็นผู้หญิงขึ้น ความงามของเธอดึงดูดชายหนุ่ม 5 คน มาขออภิเษกสมรส เจ้าหญิงคางุยะปฏิเสธทั้ง 5 อย่างอ้อม ๆ ด้วยการให้ทำภารกิจที่เป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้เสร็จ ภายหลังจักรพรรดิญี่ปุ่นหลงใหลในตัวเธอ ในตอนท้ายของตำนาน เจ้าหญิงคางุยะเปิดเผยว่าเธอมาจากสวรรค์และต้องกลับไปยังพระจันทร์[1] เรื่องเล่านี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ ตำนานเจ้าหญิงคางุยะ หรือ คางุยะฮิเมะ โนะ โมโนงาตาริ (ญี่ปุ่น: かぐや姫の物語โรมาจิKaguya-hime no Monogatari) ตามชื่อของตัวละครเอก

พื้นหลัง แก้

ตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์ นับได้ว่าเป็นผลงานโมโนงาตาริที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังเหลือรอดอยู่ แม้วันประพันธ์ของตำนานนี้ไม่สามารถรู้ชัดได้[a] บทกวีในยามาโตะโมโนงาตาริ ผลงานที่พรรณาชีวิตในราชสำนักช่วงคริสต์ศควรรษที่ 10 อ้างถึงงานสังสรรค์ชมพระจันทร์ที่จัดขึ้นในพระราชวังใน ค.ศ. 909 การกล่าวถึงควันที่ล่องลอยขึ้นสู่ฟ้าจากภูเขาฟูจิในคำนานเจ้าหญิงคางูยะ เสนอว่าภูเขาไฟยังคุกรุ่นอยู่ ณ เวลาที่ประพันธ์ตำนานเรื่องนี้ โคกินวากาชูระบุว่า ภูเขาเลิกปล่อยควันไฟใน ค.ศ. 905 หลักฐานอื่น ๆ อธิบายว่ามีการประพันธ์ตำนานนี้ขึ้นระหว่าง ค.ศ. 871 ถึง ค.ศ. 881[3]

ไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์ตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์ นักวิชาการเสนอผู้ประพันธ์หลายคน ได้แก่ มินาโมโตะ โนะ ชิตาโง (ค.ศ. 911–983) เจ้าอาวาสเฮ็นโจ สมาชิกตระกูลอิมเบะ นักการเมืองที่ขัดแย้งกับจักรพรรดิเท็มมู และนักกวีคันชิ คิ โนะ ฮาเซโอะ (ค.ศ. 842–912) นอกจากนี้ยังมีการโต้เถียงว่าตำนานนี้ประพันธ์โดยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนเป็นคณะ อีกทั้งยังโต้เถียงอีกว่าตำนานเขียนด้วยคัมบุง อักษรคานะญี่ปุ่น หรือแม้แต่กระทั่งอักษรจีน[3]

แนวเรื่องของตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์ เป็นบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์แบบดั้งเดิม (proto-science fiction) ในโครงเรื่องบางส่วนมีองค์ประกอบของบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อยู่ อาทิ การที่เจ้าหญิงคางูยะมาจากพระจันทร์ การที่สิ่งมีชีวิตนอกโลกได้รับการเลี้ยงดูโดยมนุษย์บนโลก และการที่เธอถูกพากลับไปยังพระจันทร์โดยครอบครัวสิ่งที่มีชีวิตนอกโลกจริง ภาพวาดต้นฉบับยังพรรณาให้เห็นถึงวัตถุทรงกลมบินได้คล้ายจานบิน[4] ตำนานยังมีความคล้ายคลึงกับเรื่องเล่าซูเปอร์ฮีโรในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซูเปอร์แมน[5]

เนื้อเรื่อง แก้

วันหนึ่งขณะที่เดินอยู่กลางป่า ชายแก่ผู้มีอาชีพตัดไผ่ชื่อ ทาเกโตริ โนะ โอกินะ (竹取翁) มองเห็นปล้องไผ่ที่ส่องแสงเรืองรองเข้า ด้วยความสงสัยก็ไปตัดปล้องไผ่ดู พบว่าภายในมีเด็กทารกผู้หญิงขนาดเท่าหัวแม่นอนอยู่ ทาเกโตริ โนะ โอกินะ ผู้มีความดีใจที่ได้พบเด็กน้อยน่ารักก็นำทารกกลับไปบ้านไปให้ภรรยาเลี้ยงอย่างลูก และตั้งชื่อให้ว่า คางุยะฮิเมะ (かぐや姫, "เจ้าหญิงแห่งราตรีอันเรืองรอง")

ตั้งแต่นั้นมา ทาเกโตริ โนะ โอกินะ ก็พบว่าเมื่อใดที่ตนตัดปล้องไผ่ ก็จะพบก้อนทองก้อนเล็ก ๆ อยู่ภายในปล้องไผ่ที่ตัด ไม่นานนักทาเกโตริ โนะ โอกินะ ก็มีฐานะร่ำรวยขึ้นมา คางุยะฮิเมะเองก็เติบโตขึ้นมาเป็นสตรีที่มีขนาดปกติและมีความสวยงามเป็นอันมาก ในระยะแรกทาเกโตริ โนะ โอกินะ พยายามกันไม่ให้ลูกสาวได้พบกับคนแปลกหน้า แต่ไม่นานนักความสวยงามของคางุยะก็เป็นที่เลื่องลือจนเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป จนกระทั่งมีเจ้าชายห้าพระองค์เสด็จมาขอตัวเจ้าหญิงคางุยะต่อทาเกโตริ โนะ โอกินะ และทรงพยายามหว่านล้อมให้ทาเกโตริ โนะ โอกินะ ไปบอกให้เจ้าหญิงคางุยะเลือกเจ้าชายองค์ใดองค์หนึ่งจนกระทั่งสำเร็จ เมื่อทราบว่ามีผู้มาหมายปองเจ้าหญิงคางุยะจึงวางแผนกันตนเอง โดยตั้งข้อทดสอบต่าง ๆ ที่ยากเกินกว่าที่จะทำให้สำเร็จได้ให้เจ้าชายแต่ละองค์ไปทำ เจ้าหญิงคางุยะประกาศว่าจะยอมแต่งงานกับเจ้าชายองค์ใดที่สามารถนำสิ่งที่ตนขอมากลับมาได้

คืนนั้นทาเกโตริ โนะ โอกินะ ทูลเจ้าชายแต่ละพระองค์ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เจ้าหญิงคางุยะขอให้แต่ละองค์ต้องทรงนำกลับมา เจ้าชายองค์แรกต้องไปทรงนำบาตรหินของพระโคตมพุทธเจ้ามาจากอินเดียกลับมาให้ องค์ที่สองต้องทรงนำกิ่งไม้ประดับอัญมณีจากเกาะเกาะโฮไรในประเทศจีน[6] องค์ที่สามต้องทรงไปนำเสื้อคลุมของหนูไฟจากเมืองจีนกลับมาให้ องค์ที่สี่ต้องทรงไปถอดอัญมณีจากคอมังกรมาให้ และองค์ที่ห้าต้องทรงไปหาหอยมีค่าของนกนางแอ่นกลับมา

เมื่อเจ้าชายองค์แรกทรงทราบว่าสิ่งที่ต้องทรงนำกลับมาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก พระองค์ก็ทรงนำบาตรอันมีค่ามาให้ แต่เมื่อเห็นว่าบาตรมิได้ส่องแสงเรืองรองตามที่บาตรศักดิ์สิทธิ์ควรจะเป็น เจ้าหญิงคางุยะก็ทราบพระองค์ทรงหลอกลวง เจ้าชายอีกสองพระองค์ก็ทรงพยายามหลอกลวงเช่นกันแต่ก็ไม่สำเร็จ เจ้าชายองค์ที่สี่ทรงเลิกพยายามเมื่อทรงประสบกับลมมรสุม ส่วนเจ้าชายองค์สุดท้ายสิ้นพระชนม์ขณะที่ทรงพยายามที่จะแสวงหาสิ่งที่เจ้าหญิงคางุยะต้องการมาให้

 
เจ้าหญิงคางุยะกลับไปจันทร์ประเทศ

หลังจากนั้นจักรพรรดิมิกาโดะ จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ก็เสด็จมาทอดพระเนตรสตรีผู้มีข่าวร่ำลือกันกันนักหนาว่ามีความสวยงาม เมื่อทรงได้เห็นพระองค์ก็ทรงตกหลุมรักเจ้าหญิงคางุยะและทรงขออภิเษกสมรสด้วย แม้ว่าจะไม่ต้องทรงผ่านการทดสอบเช่นเดียวกับเจ้าชายห้าองค์ก่อนหน้านั้น แต่เจ้าหญิงคางุยะก็ยังคงปฏิเสธ โดยทูลว่านางนั้นเป็นสตรีผู้มาจากแดนไกลที่ทำให้ไม่สามารถที่จะเข้าไปในพระราชฐานของพระองค์ได้ แต่เจ้าหญิงคางุยะก็ยังคงดำเนินการติดต่อกับมิกาโดะตลอดมา และก็ยังคงปฏิเสธคำขอของพระองค์ทุกครั้ง

ระหว่างฤดูร้อนปีนั้น เมื่อใดเห็นพระจันทร์เต็มดวงตาของเจ้าหญิงคางุยะก็จะคลอไปด้วยน้ำตา ทั้งทาเกโตริ โนะ โอกินะ และภรรยาก็พยายามถามถึงสาเหตุแต่เจ้าหญิงคางุยะก็ไม่สามารถจะบอกได้ว่ามีอะไรผิดปกติ พฤติกรรมของเจ้าหญิงคางุยะยิ่งแปลกขึ้นจนกระทั่งจนในที่สุดก็ยอมเปิดเผยว่าเธอนั้นไม่ได้มาจากโลกนี้ และถึงเวลาแล้วจะต้องเดินทางกลับไปยังบ้านเมืองที่อยู่บนจันทรประเทศ[b]

เมื่อวันที่จะต้องกลับใกล้เข้ามา จักรพรรดิมิกาโดะทรงส่งทหารมาล้อมบ้านเพื่อป้องกันไม่ให้ชาวจันทรประเทศมาเอาตัวเจ้าหญิงคางุยะไปได้ แต่เมื่อทูตจาก "สรวงสวรรค์" มาถึงประตูบ้านของทาเกโตริ โนะ โอกินะ ทหารที่มารักษายามต่างก็ตาบอดกันไปตาม ๆ กันเพราะความแรงของแสงที่เรืองออกมา เจ้าหญิงคางุยะประกาศว่าแม้ว่าตนเองจะมีความรักเพื่อนหลายคนบนมนุษย์โลกแต่ก็จำต้องเดินทางกลับไปยังจันทรประเทศซึ่งเป็นบ้านเมืองที่แท้จริงของตนเอง จากนั้นเจ้าหญิงคางุยะก็เขียนจดหมายร่ำลาขออภัยต่อทาเกโตริ โนะ โอกินะ ภรรยา และต่อจักรพรรดิมิกาโดะ และมอบเสื้อคลุมให้บิดามารดาเลี้ยงไว้เป็นที่ระลึก จากนั้นก็นำยาอายุวัฒนะ (elixir of life) แนบไปกับจดหมายให้แก่ทหารยามไปถวายพระจักรพรรดิ เมื่อยื่นจดหมายให้แล้วและเอาเสื้อคลุมขนนกพาดไหล่เสร็จเจ้าหญิงคางุยะก็ลืมความคิดถึงและทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับมนุษยโลกจนหมดสิ้น ขบวนชาวทูตสวรรค์นำเจ้าหญิงคางุยะกลับไปยังจันทรประเทศ ทิ้งทาเกโตริ โนะ โอกินะและภรรยาไว้กับความโศกเศร้าจนในที่สุด

ฝ่ายทหารยามเมื่อได้รับสาส์นและยาอายุวัฒนะแล้ว ก็นำกลับไปถวายและทูลรายงานถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อพระจักรพรรดิ เมื่อพระองค์ก็ทรงอ่านจดหมายแล้วก็ทรงเต็มตื้นไปด้วยความโทมนัส และตรัสถามข้าราชบริพารว่า "ภูเขาลูกใดที่สูงที่สุดที่ใกล้สรวงสวรรค์ที่สุด?" ซึ่งข้าราชบริพารก็ทูลว่าเป็นมหาภูเขาแห่งแคว้นซูรูงะ พระองค์ก็มีพระบรมราชโองการให้นำจดหมายของเจ้าหญิงคางุยะไปยังยอดเขาและเผา ด้วยความหวังว่าความคิดคำนึงถึงนางของพระองค์จะล่องลอยตามสายควันขึ้นไปถึงเจ้าหญิงคางุยะได้ นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีพระบรมราชโองการให้เผาผอบยาอายุวัฒนะที่ถ้าผู้ใดได้กินผู้นั้นก็จะเป็นอมตะตามไปด้วย เพราะไม่มีพระราชประสงค์ที่จะดำรงชีวิตไปตลอดกาลโดยปราศจากเจ้าหญิงคางุยะ

ตำนานกล่าวต่อไปว่าคำว่า (ญี่ปุ่น: 不死โรมาจิ fushiทับศัพท์:  หรือ “fuji”;  (อมตะ)) หรือ “ฟูจิ” จึงกลายมาเป็นชื่อของภูเขา และคำในอักษรคันจิสำหรับภูเขาคือ 富士山 ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ภูเขาที่เต็มไปด้วยนักรบ" ที่มาจากเมื่อกองทัพของพระจักรพรรดิเดินขึ้นไปบนภูเขาเพื่อที่จะไปปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ และกล่าวกันว่าควันจากการเผาจดหมายและยาอายุวัฒนะยังคงลอยระล่องขึ้นไปบนสรวงสวรรค์มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ (ในอดีตภูเขาฟูจิเป็นภูเขาที่คุกรุ่นมากกว่าในปัจจุบัน)

ความสัมพันธ์ทางวรรณกรรม แก้

เนื้อหาของตำนานมาจากเรื่องราวที่เล่าขานกันมาก่อนหน้าที่จะเขียนเป็นเรื่องราวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชื่อตัวเอกของเรื่อง ทาเกโตริ โนะ โอกินะ ปรากฏในกวีนิพนธ์ชุด มันโยชู (万葉集) ที่รวบรวมขึ้นราว ค.ศ. 759 (โคลงที่ 3791) ในสมัยนาระ ในโคลงนี้ ทาเกโตริ โนะ โอกินะ พบกลุ่มสตรีที่ขับกลอนให้ฟัง ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่าเรื่องราวเกี่ยวกับคนตัดไผ่และสตรีลึกลับเป็นเรื่องราวที่เล่าขานกันมาก่อนหน้านั้น[7][8]

การนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ก็มาเกิดขึ้นอีกในราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ใน คนจากุโมโนงาตาริชู (เล่มที่ 31, บทที่ 33) แต่ความเกี่ยวข้องกับตำนานยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่[9]

Banzhu Guniang แก้

เมื่อหนังสือ "Jinyu Fenghuang" (金玉凤凰) ซึ่งเป็นหนังสือจีนเกี่ยวกับตำนานทิเบตได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1957[10] เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 นักค้นคว้าวรรณกรรมญี่ปุ่นพบว่า "Banzhu Guniang" (班竹姑娘) ซึ่งเป็นตำนานเรื่องหนึ่งในหนังสือที่ว่ามีความคล้ายคลึงกับ "ตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์"[11][12] แต่นักค้นคว้าบางคนก็ไม่เห็นด้วยว่ามีความละม้ายคล้ายคลึงกันจริง

แต่การศึกษาเรื่องนี้ในคริสต์ทศวรรษ 1980 พบว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่ความสัมพันธ์กันอย่างง่าย ๆ ตามที่เชื่อกันมาแต่เดิม โอะกุสึ (Okutsu) [13] ให้คำอธิบายอย่างยืดยาวถึงการค้นคว้าและให้ความเห็นว่าหนังสือ “Jinyu Fenghuang” เป็นหนังสือที่เขียนสำหรับเด็ก ฉะนั้นบรรณาธิการก็อาจจะถือโอกาสปรับให้เหมาะสมกับผู้อ่าน นอกจากนั้นแล้วหนังสือรวมตำนานทิเบตเล่มอื่นก็ไม่มีเรื่องใดที่คล้ายคลึงกับ “ตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์”[13]

ชาวทิเบตเองที่เกิดในทิเบตก็เขียนว่าไม่ทราบว่าเรื่องราวของคนตัดไผ่[14] นักค้นคว้าผู้เดินทางไปเสฉวนพบว่านอกไปจากผู้ที่อ่าน “Jinyu Fenghuang” แล้ว นักค้นคว้าท้องถิ่นในเฉิงตูก็ไม่มีผู้ใดทราบเรื่องคนตัดไผ่[15] และชาวทิเบตในเขตปกครองตนเองทิเบตและเชียง งาวา ก็ไม่มีผู้ใดทราบเรื่องเช่นกัน[15]

คนตัดไผ่ในวัฒนธรรมสมัยนิยม แก้

ความที่ตำนานเรื่องคนตัดไผ่เป็นตำนานที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายจึงทำให้มีผู้นำโครงเรื่องไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง

ภาพยนตร์ แก้

  • ค.ศ. 1987: ภาพยนตร์เรื่อง "Taketori Monogatari" (เจ้าหญิงจันทรา) โดย คง อิจิกาวะ
  • บิกเบิร์ด (ตัวละครในเรื่อง เดอะมัปเปตส์) ไปดูละครที่แสดงโดยเด็กเรื่อง "ตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์" ในภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์เรื่อง "บิกเบิร์ดในญี่ปุ่น" นอกจากนั้นแล้วบิกเบิร์ดก็ยังได้รับความช่วยเหลือจากสตรีใจดีชื่อคางูยะฮิเมะ เมื่อถูกแยกจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ไปด้วยกันจนตลอดเรื่อง

วรรณกรรม แก้

  • ในหนังสือ "Mikrokosmos" โดย อาซูกะ ฟูจิโมริ เจ้าหญิงคางูยะเป็นลูกสาวของจ้าชายโชโตกุ ที่เป็นผู้มีความโหดร้ายและตามใจตนเอง ครั้งหนึ่งคางูยะเห็นแก่ความสนุกก็เอาก้อนทองชิ้นเล็กจากท้องพระคลังไปซ่อนไว้ในปล้องไผ่เพื่อให้คนตัดไผ่มาพบ คนตัดไผ่ก็โดนกล่าวหาว่าขโมยสมบัติของท้องพระคลังและถูกลงโทษโดยการประหารชีวิต ซึ่งเค้าเรื่องตรงกับเมื่อทาเกโตริ โนะ โอะกินะไปพบทารกคางูยะฮิเมะในปล้องไผ่

อนิเมะ และ มังงะ แก้

  • ในซีรีส์อนิเมะ/มังงะเทพอสูรจิ้งจอกเงิน” ตัวเอกในเรื่องอินุยาฉะสวมฮาโอะริที่ทำด้วยขนของหนูไฟ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มาจากตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์ โครงเรื่องในภาพยนตร์ “เทพอสูรจิ้งจอกเงิน” เรื่องที่สอง “The Castle Beyond the Looking Glass” เป็นเรื่องที่เนื้อเรื่องส่วนใหญ่แล้วมาจากโครงเรื่องของตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์โดยตรง
  • Planet Ladder” โดย ยูริ นารุชิมะเป็นเรื่องราวที่คล้ายคลึงกับตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์ใหม่ที่เป็นเรื่องของเด็กหญิงชื่อคางูยะผู้พบว่าตนเองเป็นเจ้าหญิงผู้มีหน้าที่ที่จะต้องเป็นผู้คุ้มครองหนึ่งในเก้าโลก
  • เรื่องที่สิบเอ็ดของ “เซเลอร์มูน” มีพื้นฐานมาจากเรื่องราวของเจ้าหญิงคางูยะ[16] ในภาพยนตร์อนิเมะ “เซเลอร์มูน” ตัวละครเอกห้าตัวต่างก็มีหน้าที่ที่จะต้องหาและพิทักษ์เจ้าหญิงจันทรา ผู้ทรงถูกส่งตัวมายังมนุษยโลกเพื่อให้ทรงได้รับความปลอดภัยจากสงครามที่เกิดขึ้นบนจันทรประเทศ
  • ในอนิเมะเรื่อง "ลิลพรี สามสาวไอดอลป๊อป" ก็มีตัวละครหลักในเรื่องอย่าง นัทสึกิ ซาซาฮาร่า ที่มีการใช้ชีวิตที่คล้ายคลึงกับเจ้าหญิงคางูยะ และเมื่ออยู่ในดินแดนเทพนิยาย จะอยู่ในฐานะของเจ้าหญิงคางูยะอีกด้วย
  • ตอนหนึ่งของ “โดราเอมอน” ห้างสรรพสินค้าของคริสต์ศตวรรษที่ 22 ส่ง “ชุดหุ่นยนต์คางูยะ” มาให้ “โดราเอมอน
  • ภาพยนตร์อนิเมะซีรีส์ “Oh! Edo Rocket” นอกจากจะมีพื้นฐานมาจากเรื่องราวของเจ้าหญิงคางูยะแล้วก็ยังใช้เนื้อเรื่องด้วยอย่างจงใจ อนิเมะแปลงมาจากบทละครเวที
  • ตอนที่ 14 ของ มุชิชิชื่อ “ในกรง” มีพื้นฐานมาจากเรื่องของเจ้าหญิงคางูยะ ในตอนนี้คู่สมรสที่ไม่มีลูกก็มีลูกขึ้นมาเมื่อได้ไม้ไผ่สีขาวมันมาเป็นเจ้าของ ลูกที่เกิดมาก็เกิดมาในกระบอกไม้ไผ่
  • "The Tale of Princess Kaguya" โดย "สตูดิโอจิบลิ" ในปี 2014 ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของโปรดิวเซอร์ "เซอิจิโร อุจิอิเอะ" และผลงานการกำกับของ "อิซาโอะ ทาคาฮาตะ"
  • ในมังงะเรื่อง "จะยังไงภรรยาของผมก็น่ารัก" ภูมิหลังของนางเอกอย่าง "ยูซากิ สึคาสะ" เป็นการเล่าต่อจากตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์ โดยเธอเป็นลูกสาวของคนตัดไผ่ เมื่อเธอป่วยและกำลังจะสิ้นใจ พ่อของเธอจึงนำยาอายุวัฒนะที่ความจริงควรจะถูกเผามาให้เธอกิน ก่อนที่เธอจะฟื้นและพบว่าตนมีความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายอย่างรวดเร็ว เธอจึงได้รับความจริงจากพ่อ สึคาสะถูกตามล่าแต่ก็สามารถเอาตัวรอดมาได้ และได้ตะโกนเรียกหาเจ้าหญิงคางูยะให้กลับมาทำให้เธอเป็นมนุษย์ปกติ แต่ก็ไม่เป็นผล เธอจึงอยู่อย่างโดดเดี่ยวตลอด 1400 ปีจนได้พบกับ "ยูซากิ นาสะ" นาสะสัญญาว่าจะทำให้เธอเป็นมนุษย์ปกติให้ได้ ก่อนที่จะแต่งงานกัน นาสะจึงเป็นคนรักคนแรก และคนเดียวของเธอในตลอด 1400 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งคางูยะก็ได้กลับมาบนโลกอีกครั้งในฐานะลูกศิษย์ของนาสะ

หมายเหตุ แก้

  1. ต้นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดย้อนรอยไปยัง ค.ศ. 1592[2]
  2. บางตำนานก็กล่าวว่าเจ้าหญิงคางูยะถูกส่งมายังมนุษย์โลกชั่วคราวเพื่อเป็นการลงโทษเพราะไปทำความผิดเข้า แต่บางตำนานก็ว่าถูกส่งตัวมาซ่อนไว้ในโลกเพื่อความปลอดภัยระหว่างสงครามที่เกิดขึ้นบนสรวงสวรรค์

อ้างอิง แก้

  1. Katagiri et al. 1994: 81.
  2. Katagiri et al. 1994: 95.
  3. 3.0 3.1 Keene, Donald (1999). Seeds in the Heart: Japanese Literature from Earliest Times to the Late Sixteenth Century. Columbia University Press. pp. 434–441. ISBN 978-0-231-11441-7.
  4. Richardson, Matthew (2001). The Halstead Treasury of Ancient Science Fiction. Rushcutters Bay, New South Wales: Halstead Press. ISBN 978-1-875684-64-9. (cf. "Once Upon a Time". Emerald City (85). September 2002. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.)
  5. "The Tale of the Princess Kaguya". The Source Weekly. Bend, Oregon. 2014. สืบค้นเมื่อ 11 May 2020.
  6. McCullough, Helen Craig (1990). Classical Japanese Prose. Stanford University Press. pp. 30, 570. ISBN 0-8047-1960-8.
  7. Horiuchi (1997:345-346)
  8. Satake (2003:14-18)
  9. Yamada (1963:301-303)
  10. 田海燕 (ed.) (1957). 金玉凤凰 (ภาษาจีน). Shanghai: 少年儿童出版社. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  11. 百田弥栄子 (1971). "竹取物語の成立に関する一考察". アジア・アフリカ語学院紀要 (ภาษาญี่ปุ่น). 3.
  12. 伊藤清司 (1973). かぐや姫の誕生―古代説話の起源 (ภาษาญี่ปุ่น). 講談社.
  13. 13.0 13.1 奥津 春雄 (2000). 竹取物語の研究 (ภาษาญี่ปุ่น). 翰林書房. ISBN 4-87737-097-8.
  14. テンジン・タシ (ed.); 梶濱 亮俊 (trans.) (2001). 東チベットの民話 (ภาษาญี่ปุ่น). SKK. {{cite book}}: |author1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  15. 15.0 15.1 繁原 央 (2004). 日中説話の比較研究 (ภาษาญี่ปุ่น). 汲古書院. ISBN 4-7629-3521-2.
  16. [1]

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้