ตานะฮ์ลต

(เปลี่ยนทางจาก ตานะห์ลต)

ตานะฮ์ลต (อินโดนีเซีย: Tanah Lot) เป็นหินลักษณะคล้ายเกาะที่เกิดจากการก่อตัวของหินที่ยื่นออกจากเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย บนเกาะตานะฮ์ลตเป็นที่ตั้งของปูรา (โบสถ์พราหมณ์แบบบาหลี) ที่สำคัญของชาวบาหลี เรียกว่า ปูราตานะฮ์ลต (Pura Tanah Lot) ซึ่งในปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเกาะบาหลี[1]

ปูราตานะฮ์ลต
Pura Tanah Lot
ปูราตานะฮ์ลตตั้งอยู่บนเกาะตานะฮ์ลต
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดูแบบบาหลี
เทพเดวาบารูนา (Dewa Baruna) หรือ บาตาราเซอการา (Bhatara Segara)
สถานะปูรา (โบสถ์พราหมณ์บาหลี)
ที่ตั้ง
ประเทศประเทศอินโดนีเซีย
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งDang Hyang Nirartha
ปูราบาตูโบ-ลง โบสถ์พราหมณ์อีกแห่งในบริเวณตานะฮ์ลต

คำว่า ตานะฮ์ลต (Tanah Lot) แปลว่า "ผืนดิน (ที่อยู่ใน) ทะเล"[2] หินตานะฮ์ลตเกิดจากการกัดเซาะด้วยน้ำทะเลเป็นเวลาหลายปี จึงมีลักษณะคล้ายเกาะในทะเล ห่างไปไม่ไกลเป็นที่ตั้งของปูราบาตูโบ-ลง (Pura Batu Bolong) ซึ่งตั้งอยู่บนหินที่ถูกกัดเซาะเป็นเหมือนโค้งสะพาน

เชื่อกันว่าปูราตานะฮ์ลตสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยดัง ฮียัง นีราร์ทา (Dang Hyang Nirartha) หลังท่านได้เดินทางผ่านมาเห็นกับตานะฮ์ลต ท่านได้ตัดสินใจมาอยู่อาศัยและพักผ่อนที่นี่ และได้ชักชวนกับชาวประมงในพื้นที่สร้างศาลเจ้าเพื่อบูชาเทพแห่งท้องทะเลของบาหลีขึ้นมา[3] เทพประจำตานะฮ์ลตคือ เดวาบารูนา (Dewa Baruna; เทวพรุณ) หรือ บาตาราเซอการา (Bhatara Segara; ภารัตสาคร) เทพแห่งทะเลหรือวิญญาณแห่งทะเล ส่วนนีราร์ทาผู้ก่อสร้างปูราก็ได้รับการบูชาที่นี่เช่นกัน[4]

ปัจจุบัน ปูราตานะฮ์ลตเป็นหนึ่งในปูราเจ็ดแห่งกลางทะเลของบาหลี บริเวณที่ฐานของเกาะเต็มไปด้วยงูทะเลพิษ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นทวารบาลของปูรา อันเป็นลูกหลานของงูยักษ์ที่เกิดมาจากเซอเล็นดัง (สายสะพายแบบพื้นเมืองอินโดนีเซีย) ของนีราร์ทาเมื่อครั้งท่านสร้างปูราแห่งนี้

ราวปี ค.ศ. 1980 หน้าผาของปูราเริ่มทลายลงมาบางส่วน และเกาะเริ่มเกิดการทรุดตัวอย่างหนัก[5] รัฐบาลญี่ปุ่นในขณะนั้นจึงได้ให้รัฐบาลอินโดนีเซียกู้ยืมเงินจำนวน 800 พันล้านรูปียะฮ์ (ประมาณ 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] หรือ 4 พันล้านบาทไทย)[7] ในปัจจุบัน กว่าหนึ่งในสามของเกาะตานะฮ์ลตสร้างขึ้นด้วยหินสังเคราะห์ที่ตกแต่งจนเหมือนและกลมกลืนไปกับหินธรรมชาติ

อ้างอิง แก้

  1. South-East Asia on a shoestring. Lonely Planet South-East Asia: On a Shoestring. Lonely Planet Edition 7. Lonely Planet Publications, 1992. ISBN 0-86442-125-7, ISBN 978-0-86442-125-8. 922. pp257
  2. Philip Hirsch, Carol Warren. The politics of environment in Southeast Asia: resources and resistance. Publisher Routledge, 1998 ISBN 978-0-203-03017-2. 325 pages. pp 242-244
  3. South-East Asia on a shoestring. Lonely Planet South-East Asia: On a Shoestring. Lonely Planet Edition 7. Lonely Planet Publications, 1992. ISBN 0-86442-125-7, ISBN 978-0-86442-125-8. 922. pp257
  4. "Tanah Lot". balistarislad.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-10. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.
  5. Pringle, p 192-194
  6. 1980 exchange rate of US $1 to Rp 6000 from Gordon De Brouwer, Masahiro Kawai. Indonesian Rupiah in Exchange rate regimes in East Asia Vol 51. Publisher: Routledge, 2004. ISBN 0-415-32281-2, ISBN 978-0-415-32281-2. 466 pages
  7. ใช้อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 30 บาทไทย