ตั๊กแตนตำข้าว หรือ ตั๊กแตนต่อยมวย[1] (อังกฤษ: Mantis; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงม้า; ภาษาอีสาน: แมงพงม้า) เป็นอันดับของแมลงที่ประกอบไปด้วยแมลงมากกว่า 2,400 ชนิด 460 สกุล ใน 33 วงศ์ พบทั่วไปในภูมิอากาศเขตอบอุ่นและเขตร้อน ส่วนมากอยู่ในวงศ์ Mantidae

ตั๊กแตนตำข้าว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 145–0Ma ยุคครีเทเชียสตอนต้น–ปัจจุบัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
Arthropoda
ชั้น: แมลง
Insecta
อันดับใหญ่: Dictyoptera
Dictyoptera
อันดับ: Mantodea
ตั๊กแตนตำข้าว
Burmeister, 1838
วงศ์

ดูข้อความ

ชื่อพ้อง
  • Manteodea Burmeister, 1829
  • Mantearia
  • Mantoptera

อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการ

แก้
 
ตั๊กแตนตำข้าวเขียวในสวนหลังบ้านที่ซิดนีย์ ค.ศ. 2020

มีตั๊กแตนตำข้าวมากกว่า 2,400 ชนิด ในประมาณ 430 สกุลเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับ[2] ส่วนใหญ่พบในแถบเขตร้อน แต่บางส่วนอาศัยอยู่ในเขตอบอุ่น[3][4] การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ของตั๊กแตนตำข้าวยังคงเป็นที่พิพาท โดยตั๊กแตนตำข้าวกับตั๊กแตนกิ่งไม้ (Phasmatodea) เคยอยู่ในอันดับ Orthoptera ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกันกับแมลงสาบ (ปัจจุบันอยู่ใน Blattodea) และจิ้งหรีดหิมะ (ice crawlers; ปัจจุบันอยู่ใน Grylloblattodea) Kristensen (1991) รวม Mantodea ในแมลงสาบและปลวกเข้ากับอันดับ Dictyoptera อันดับย่อย Mantodea[5][6] ชื่อ mantodea มาจากศัพท์ภาษากรีกโบราณว่า μάντις (mantis) หมายถึง "ผู้เผยพระวจนะ" กับ εἶδος (eidos) หมายถึง "รูปร่าง" หรือ "ประเภท" ชื่อถูกตั้งโดยนักกีฏวิทยาชาวเยอรมัน เฮอร์มันน์ บูร์ไมซเทอร์ ในปี ค.ศ. 1838[7][8]

หนึ่งในการจัดหมวดหมู่แบบแรกสุดที่จัดตั๊กแตนตำข้าวไปอยู่ในวงศ์ต่าง ๆ ได้รับการเสนอโดย Beier ใน ค.ศ. 1968 ซึ่งแบ่งเป็นแปดวงศ์[9] ภายหลังจัดหมวดหมู่ใหม่เป็น 15 วงศ์ตามแบบเสนอของ Ehrmann ใน ค.ศ. 2002[10] ใน ค.ศ. 1997 Klass ได้ศึกษาอวัยวะเพศผู้ส่วนนอกและตั้งสมมติฐานว่าวงศ์ Chaeteessidae กับ Metallyticidae มีความแตกต่างจากวงศ์อื่น ๆ ในยุคแรก[11] อย่างไรก็ตาม ตามที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ Mantidae กับ Thespidae ถือเป็นpolyphyletic (จากหลายสายพันธุ์)[12] ดังนั้น วงศ์ของตั๊กแตนตำข้าวที่ปรับปรุงล่าสุดใน ค.ศ. 2019 มี 29 วงศ์[13]

แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของวงศ์ตั๊กแตนตำข้าวแบบขยาย[14][13]
Mantodea

† สกุลที่สูญพันธุ์


Eumantodea
Chaeteessoidea

Chaeteessidae


Spinomantodea
Mantoidoidea

Mantoididae


Schizomantodea
Metallyticoidea

Metallyticidae


Artimantodea
Amerimantodea
Thespoidea

Thespidae


Acanthopoidea

Angelidae




Coptopterygidae




Liturgusidae




Photinaidae



Acanthopidae







Cernomantodea
Nanomantodea
Chroicopteroidea

Chroicopteridae


Nanomantoidea

Leptomantellidae




Amorphoscelidae



Nanomantidae





Metamantodea

{SUBCLADE_Metamantodea}









ลักษณะ

แก้

ตั๊กแตนตำข้าว มีอกปล้องแรกยาว มีลักษณะท่าทีชอบยืนขยับตัวขึ้นลง ๆ คล้ายอาการยงโย้ยงหยก จึงได้รับชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า "ตั๊กแตนโยงโย่" หรือ "ตั๊กแตนยงโย้" เนื่องจากมีขาคู่หน้าที่พัฒนาให้กลายเป็นขาหนีบใช้สำหรับจับเหยื่อ เวลาเมื่อไม่ได้ใช้งาน มักจะยกขึ้นประกบกันอยู่ที่ด้านหน้าคล้ายท่ายกมือไหว้หรือการจรดมวย อันเป็นที่มาของชื่อ ส่วนหัวของตั๊กแตนตำข้าว สามารถหมุนคอได้เกือบรอบ 360 องศา จัดเป็นแมลงที่สามารถมองผ่านไหล่ของตัวเองไปด้านหลังได้ นอกจากนี้แล้วยังมีตาเดี่ยวอีกสามดวงตาอยู่ตรงกลางหน้าผากระหว่างตารวมทั้งสองข้าง ตาเดี่ยวทำหน้าที่รับแสงมากกว่ารับภาพเหมือนตารวม[15]

พฤติกรรม

แก้

ตั๊กแตนตำข้าวเป็นสัตว์ล่าเหยื่อเท่านั้น ดังนั้นมันจึงมักไม่กินเนื้อที่ไม่ได้ล่ามาด้วยตนเอง แต่ก็มีผู้เลี้ยงตั๊กแตนตำข้าวสามารถป้อนอาหารให้มันได้เป็นสัตว์เลี้ยง แมลงเป็นอาหารหลักของตั๊กแตนตำข้าว แต่ตั๊กแตนตำข้าวที่มีขนาดใหญ่สามารถกินสัตว์อื่นที่มีขนาดเล็กกว่าได้ เช่น แมงป่อง, สัตว์เลื้อยคลาน, กบ, นก, งูขนาดเล็ก, ปลา แม้กระทั่งแมลงสาบ

ตั๊กแตนตำข้าวสามารถอำพรางตนให้เหมือนกับสิ่งแวดล้อมได้ โดยปกติแล้ว ตั๊กแตนตำข้าวตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มาก และเมื่อผสมพันธุ์เสร็จแล้ว ตั๊กแตนตำข้าวเป็นแมลงที่มีพฤติกรรมดุร้าย ก้าวร้าว ตัวเมียจะจับตัวผู้กินเป็นอาหารตามสัญชาตญาณ

ตั๊กแตนตำข้าวเป็นแมลงที่มีขั้นตอนการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือไม่มีระยะดักแด้ ตั๊กแตนตำข้าวเมื่อฟักออกจากไข่มีขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้ายมด แต่ละครั้งที่มีการลอกคราบขนาดและรูปร่างก็จะเปลี่ยนแปลงไปโดยปีกจะยาวขึ้น หลังการลอกคราบครั้งสุดท้าย 2-3 สัปดาห์ ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิด การผสมพันธุ์อาจใช้เวลานานเป็นวัน หรือแล้วแต่ความพอใจของตั๊กแตนตำข้าว หลังจากการผสมพันธุ์ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ตัวเมียจะเริ่มวางไข่เป็นกลุ่มอัดเรียงกันแน่นเป็นฝักซึ่งจะวางได้ติดต่อกันไปได้ 3-6 ฝัก ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 5-6 สัปดาห์ [15]

อ้างอิง

แก้
  1. "ตั๊กแตนตำข้าว , ตั๊กแตนต่อยมวย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-22.
  2. Otte, Daniel; Spearman, Lauren. "Mantodea Species File Online". สืบค้นเมื่อ 17 July 2012.
  3. Hurd, I. E. (1999). "Ecology of Praying Mantids". ใน Prete, Fredrick R.; Wells, Harrington; Wells, Patrick H.; Hurd, Lawrence E. (บ.ก.). The Praying Mantids. Johns Hopkins University Press. pp. 43–49. ISBN 978-0-8018-6174-1.
  4. Hurd, I. E. (1999). "Mantid in Ecological Research". ใน Prete, Fredrick R.; Wells, Harrington; Wells, Patrick H.; Hurd, Lawrence E. (บ.ก.). The Praying Mantids. Johns Hopkins University Press. p. 231. ISBN 978-0-8018-6174-1.
  5. Costa, James (2006). The Other Insect Societies. Harvard University Press. pp. 135–136. ISBN 978-0-674-02163-1.
  6. Capinera, John L. (2008). Encyclopedia of Entomology. Vol. 4. Springer. pp. 3033–3037. ISBN 978-1-4020-6242-1.
  7. Essig, Edward Oliver (1947). College entomology. Macmillan Company. pp. 124, 900. OCLC 809878.
  8. Harper, Douglas. "mantis". Online Etymology Dictionary.
  9. Beier, M. (1968). "Ordnung Mantodea (Fangheuschrecken)". Handbuch der Zoologie. 4 (2): 3–12.
  10. Ehrmann, R. 2002. Mantodea: Gottesanbeterinnen der Welt. Natur und Tier, Münster.
  11. Klass, Klaus-Dieter (1997). The external male genitalia and phylogeny of Blattaria and Mantodea. Zoologisches Forschungsinstitut. ISBN 978-3-925382-45-1.
  12. Martill, David M.; Bechly, Günter; Loveridge, Robert F. (2007). The Crato Fossil Beds of Brazil: Window into an Ancient World. Cambridge University Press. pp. 236–238. ISBN 978-1-139-46776-6.
  13. 13.0 13.1 Schwarz CJ, Roy R (2019) The systematics of Mantodea revisited: an updated classification incorporating multiple data sources (Insecta: Dictyoptera) Annales de la Société entomologique de France (N.S.) International Journal of Entomology 55 [2]: 101–196.
  14. Grimaldi, David (28 July 2003). "A Revision of Cretaceous Mantises and Their Relationships, Including New Taxa (Insecta: Dictyoptera: Mantodea)". American Museum Novitates (3412): 1–47. doi:10.1206/0003-0082(2003)412<0001:AROCMA>2.0.CO;2. hdl:2246/2838.
  15. 15.0 15.1 พิสุทธิ์ เอกอำนวย, คู่มือคนรักแมลง 2 การเลี้ยงด้วง (มีนาคม พ.ศ. 2552) หน้า 250. 255 หน้า ISBN 978-974-660-832-9

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Mantodea ที่วิกิสปีชีส์
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Mantodea