ตราแผ่นดินของเบอร์มิวดา
ตราแผ่นดินของเบอร์มิวดาเริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2453 โดยมีที่มาจากเหตุการณ์ที่เรือของอังกฤษที่นำโดยเซอร์จอร์จ ซอมเมอร์แตกอยู่ นอกชายฝั่งเบอร์มิวดาระหว่างทางมุ่งสู่เวอร์จิเนีย ภาพทีอยู๋ในโล่ที่สิงห์โตคาลีบานถือโล่อันเล็ก (สิงห์โตคาลีบาน คือสัตว์ในตำนานเป็นมนุษย์ที่มีอุปนิสัยคล้ายสัตว์ตัวหนึ่ง) โล่แสดงภาพเรือเดินสมุทรชนโขดหินโสโครกจนล่มลงท้องทะเล ในมหาสมุทรมีเกลียวคลื่นเกิดจากฟองของแก๊สมีเทน โดยแก๊สดังกล่าวอยู่ใต้ท้องทะเลในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา โดยเมื่อแก๊สเหล่านี้ขึ้นสู่พื้นผิว มันจะทะยานสู่อากาศ และขยายตัวเป็นวงกว้างและก่อตัวเป็นฟองแก๊สขนาดใหญ่ เมื่อเรือลำใดผ่านเข้าไปในบริเวณนั้น ก็จะเข้าไปสู่ฟองแก๊สมีเทนขนาดยักษ์ จนทำให้เรือเหล่านี้สูญเสียการควบคุม และจมลงในที่สุด ซึ่งตราอาณานิคมดังที่ได้กล่าวมาข้า่งต้น โดยมูลเหตุของการออกแบบตราดังกล่าวนี้ บอกเล่าถึงที่มาของอาณานิคมแห่งนี้ว่าผู้ก่อตั้งอาณานิคมเป็นลูกเรือซีเวนเจอร์ (Sea Venture) ซึ่งจมลงในปี ค.ศ. 1609 (พ.ศ. 2152) โดยมาจากวรรณกรรมของ วิลเลียม เชคสเปียร์ ที่ประพันธ์บทละครเรื่องหนึ่ง ชื่อเรื่อง The Thempest ขึ้นในปี ค.ศ. 1611 (พ.ศ. 2154) สิงห์โตคาลีบานถือโล่ที่บรรจุภาพดังกล่าว อันเล็ก อยู่ในโล่ใหญ่พื้นสีขาวโดย สิงห์โตคาลีบานยืนถือโล่อันเล็กบนแถบสีเขียวขนาดเล็ก ที่บนผืนหญ้า
ตราแผ่นดินของเบอร์มิวดา | |
---|---|
รายละเอียด | |
ผู้ใช้ตรา | สมเด็จนางเจ้าวิกตอเรีย (ประกาศใช้ครั้งแรก) สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 (แก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้แบบตราปัจจุบัน) |
เริ่มใช้ | พ.ศ. 2418(ตราอาณานิคมแบบแรก) 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 (ประกาศใช้แบบตราปัจจุบัน) |
โล่ | สิงห์โตคาลีบานถือโล่อันเล็ก (สิงห์โตคาลีบาน คือสัตว์ในตำนานเป็นมนุษย์ที่มีอุปนิสัยคล้ายสัตว์ตัวหนึ่ง) โล่แสดงภาพเรือเดินสมุทรชนโขดหินโสโครกจนล่มลงท้องทะเล ในมหาสมุทรมีเกลียวคลื่นเกิดจากฟองของแก๊สมีเทน |
คำขวัญ | ลิทัวเนีย: "Quo Fata Ferunt"" ("") |
ตราย่อ / ตรารุ่นก่อนหน้า | |
การใช้ | รัฐบาลเบอร์มิวดา ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร |
ตราแผ่นดิน (ตราอาณานิคม) ในยุคแรกเมื่อปีค.ศ. 1875 (พ.ศ. 2418) โดยมีลักษณะเป็นรูปเรือสามลำที่แล่นในมหาสมุทร โดยเรือลำใหญ่ที่อยู่ตรงกลางกำลังแล่นเข้าสู่อู่แห้ง ซึ่งสันนิษฐานว่าในความเป็นจริงที่ว่าเกาะแห่งนี้คือฐานสำหรับการหยุดพักระหว่างการสัญจรทางเรือ[1]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้