ตราแผ่นดินของอาเซอร์ไบจาน

ตราแผ่นดินของอาเซอร์ไบจาน ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2533[1] เป็นตราแผ่นดินที่ผสมผสานอารยธรรมดั้งเดิม และ อารยธรรร่วมสมัยเข้าไว้ด้วยกัน. อันมีเปลวไฟเป็นองค์ประกอบหลัก ดังสมญานามที่ว่า "ดินแดนแห่งเปลวไฟนิรันดร์" – สื่อถึงศาสนาโซโรอัสเตอร์ เป็นรากฐานอารยธรรมดั้งเดิมของชาวอาเซอร์ไบจาน.

ตราแผ่นดินของอาเซอร์ไบจาน
รายละเอียด
ผู้ใช้ตราสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน
เริ่มใช้17 กันยายน พ.ศ. 2533
โล่แถบสีธงชาติอาเซอร์ไบจาน ตรงกลางมีรูปเปลวไฟนิรันดร์ โดยเปลวไฟเป็นคำว่า อัลเลาะฮ์ (اللّٰه) ในภาษาอาหรับ อยู่ภายในดาวแปดแฉกสีขาว
ประคองข้างข้าวสาลีและโอ๊ก

ความหมาย

แก้

แถบสีทั้งสามที่ปรากฎบนตราแผ่นดินนั้นมาจากสีของธงชาติอาเซอร์ไบจาน. สีเขียว หมายถึง ศาสนาอิสลามซึ่งเป็นศาสนาหลัก. สีแดง หมายถึง ความก้าวหน้า และ การก้าวไปสู่ความเป็นยุโรป. สีฟ้า หมายถึง ชาวเติร์กในอาเซอร์ไบจาน. ดาวแปดแฉก หมายถึงชาวเติร์กสาขาต่างๆ รวม 8 สาขา ได้แก่ ชาวอาเซอร์ไบจาน ชาวเติร์กอานาโตเลีย(ตุรกี) ชาวชากาไต (หรือชาวอุซเบกและชาวอุยกูร์) ชาวตาตาร์ ชาวคิปชัก (ชาวคาซัค,ชาวคีร์กีซและชาวบัชกีร์) ชาวเซลจุก และชาวตุรโกมัน(เติร์กเมน).

ข้าวสาลีและโอ๊กที่รองรับตราแผ่นดินนั้น, รวงข้าวสาลี เป็นผลิตผลทางการเกษตรสำคัญที่สร้างรายได้หลักของประเทศ และ กิ่งโอ๊ก สื่อถึงพืชพรรณที่มีความอุดมสมบูรณ์

ตราแผ่นดินของอาเซอร์ไบจาน สื่อความหมายถึงอิสรภาพ และ เอกราชของอาเซอร์ไบจาน. ตรงกลางมีรูปเปลวไฟนิรันดร์ โดยเปลวไฟเป็นคำว่า "อัลเลาะฮ์" (اللّٰه) ในภาษาอาหรับ อยู่ภายในดาวแปดแฉกสีขาว. ซึ่งสื่อถึงเปลวไฟ ที่มาจากสุสาน Martyrs' Lane เพื่อรำลึกถึง ผู้เสียชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยกองทัพบกโซเวียต ในเหตุการณ์มกราทมิฬ ค.ศ. 1990 และ สงครามนากอร์โน-คาราบัค ค.ศ. 1988-1994.[2]

การใช้

แก้

ตราแผ่นดินของอาเซอร์ไบจาน ต้องแสดงไว้ที่อาคารสำนักงานของทางราชการไว้ทุกวันตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย สถานที่ดังกล่าวได้แก่:

  • ที่ทำการของประธานาธิบดี และ อาคารที่พักของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน;
  • ที่ตั้งของศาลยุติธรรม และ อาคารรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน;
  • สำนักงานสภาคณะรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐ, กองบัญชาการ และ ฐานทัพทหาร;
  • หน่วยงานของทางราชการฝ่ายบริหาร และ อาคารสำนักงานของราชการส่วนท้องถิ่นฝ่ายบริหาร;
  • อาคารสำนักงานทางการทูต และ ผู้แทนการค้าของสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้

แม่แบบ:สัญลักษณ์ของประเทศอาร์เซอร์ไบจาน