ตราแผ่นดินของรัสเซีย
ตราแผ่นดินของรัสเซีย ประกอบด้วยรูปนกอินทรีสองหัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของรัสเซีย อินทรีสองหัวมีความหมายแสดงถึงความกว้างใหญ่ของประเทศรัสเซีย โดยแต่ละหัวหันไปทางซ้ายและขวา หมายถึงการดูแลดินแดนของรัสเซียทั้งทางฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก และส่วนไม้คทาหมายถึงอำนาจ ส่วนลูกโลกประดับกางเขนหมายถึงนิติบัญญัติ ตราแผ่นดินนี้มีต้นแบบสืบเนื่องมาจากตราแผ่นดินในช่วงต้นของจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการฟื้นฟูตราแผ่นดินนี้ขึ้นมาอีกครั้ง จากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ได้มีการบังคับใช้ตามรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
ตราอาร์มของสหพันธรัฐรัสเซีย | |
---|---|
ตราอาร์มรุ่นต่าง ๆ | |
รายละเอียด | |
ผู้ใช้ตรา | สหพันธรัฐรัสเซีย |
เริ่มใช้ | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (บังคับใช้) |
เครื่องยอด | มงกุฎทั้งสามของพระราชวงศ์จักรพรรดิรัสเซีย |
โล่ | พื้นหลังสีแดง, นักบุญจอร์จบนหลังม้าในชุดคลุมสีฟ้าสดระหว่างเดินทางเพื่อไปพิชิตมังกรอันดุร้าย |
ประคองข้าง | นกอินทรีสองหัวและพื้นหลังสีแดง |
ส่วนประกอบอื่น | ไม้คทา, ลูกโลกประดับกางเขน |
ตราแผ่นดินของรัสเซียสมัยต่างๆ
แก้-
ตราแผ่นดินของรัสเซียในศตวรรษที่ 15
-
ตราแผ่นดินของรัสเซียในศตวรรษที่ 17
-
ตราแผ่นดินของจักรวรรดิรัสเซียอย่างย่อ
-
ตราแผ่นดินของจักรวรรดิรัสเซีย ที่ใช้ในหน่วยงานราชการของรัฐ และ เอกสารทางราชการ
-
มหาจลัญจกรณ์ของจักรวรรดิรัสเซีย
หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
แก้-
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ก่อนวันที่16 พฤษภาคม, พ.ศ. 2535
-
ตราแผ่นดินของสหพันธรัฐรัสเซีย 16 พฤษภาคม, พ.ศ. 2535 – 30 พฤศจิกายน, พ.ศ. 2536
-
ตราแผ่นดินของสหพันธรัฐรัสเซีย บนธงชาติที่ใช้ในส่วนราชการ มีตราแผ่นดิน
-
ตราแผ่นดินของสหพันธรัฐรัสเซีย ที่ใช้ในหน่วยงานราชการของรัฐ และ เอกสารทางราชการ
-
ตราแผ่นดินรัสเซีย (ภาพล่าง) และ ตราแผ่นดินของสหภาพโซเวียต พร้อมอักษรชิริลลิก “CCCP” (ภาพบน) ที่หน้าบันอาคาร ภายใน พระราชวังเครมลิน
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ตราแผ่นดินของรัสเซีย