ตราแผ่นดินของทาจิกิสถาน
ตราแผ่นดินของทาจิกิสถาน ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยมีลักษณะอย่างเดียวกันกับ ตราเดิมของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก. ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ สัญลักษณ์ค้อนเคียวที่สื่อถึงการปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460 ได้ถูกตัดออก พร้อมกับมีการแก้ไขตราแผ่นดินในบางลักษณะ
ตราแผ่นดินของทาจิกิสถาน | |
---|---|
ตราอาร์มรุ่นต่าง ๆ | |
ตราแผ่นดิน พ.ศ. 2535 - 2536 | |
รายละเอียด | |
ผู้ใช้ตรา | สาธารณรัฐทาจิกิสถาน |
เริ่มใช้ | พ.ศ. 2536 |
โล่ | มงกุฎล้อมด้วยดาวห้าแฉก 7 ดวง พระอาทิตย์และภูเขา |
ประคองข้าง | ฝ้ายและข้าวสาลีล้อมรอบกับธงชาติทาจิกิสถาน |
ฐานรองข้าง | หนังสือ |
ด้านซ้ายช่อดอกฝ้าย และ ด้านขวา รวงข้าวสาลีเป็นรูปวงพระจันทร์ พันด้วยแถบริบบิ้นสีธงชาติ ซึ่งพืชทั้งสองชนิดนี้ เป็นสินค้าสำคัญที่ทำรายได้ให้ทาจิกิซสถาน สื่อถึง ดินแดนที่มีพืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ โดย ดอกฝ้าย หมายถึง ความบริสุทธิ์ของชนชาวทาจิก และ รวงข้าวสาลี หมายถึง ความสว่างไสวของชาติเหมือนรวงข้าวสีทอง เหนือช่อดอกฝ้าย และ รวงข้าวสาลี มีรูปภูเขาปาร์มาร์ภายใต้แสงรัศมีของดวงอาทิตย์ ประกอบมีรูปมงกุฎล้อมด้วยดาวห้าแฉก 7 ดวง รูปเหล่านี้เป็นสีทอง รองรับด้วยหนังสือ.
ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการประกาศใช้ตราแผ่นดินแบบแรก มีลักษณะเป็นรูปสิงโตยืนเหยียบภูเขาปาร์มาร์ รองรับรับด้วยรวงข้าวสาลีเป็นรูปวงพระจันทร์ พันด้วยแถบริบบิ้นสีธงชาติทั้งสองข้าง ในสมัยประธานาธิบดี เอมอมาลี ราห์มอน
ภาพ
แก้ดูเพิ่ม
แก้