ตราสารสิทธิ หรือ ออปชัน (อังกฤษ: option บางตำราอาจเรียกว่า สัญญาสิทธิ หรือ ตราสารทางเลือก) เป็นหนังสือสัญญาหรือตราสารระหว่างบุคคลสองคนตามที่ระบุในหนังสือสำคัญ มีรายละเอียดคือ ชื่อผู้ซื้อสิทธิและชื่อผู้ขายสิทธิในสินค้าอย่างหนึ่ง มีการกำหนดหมดอายุสัญญา การกำหนดราคา ในอดีตการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าบุคคลเริ่มต้นทำกันเอง เมื่อมีความเจริญติดต่อกันซื้อขายมากขึ้น จึงมีสถานที่เป็นตลาดกลาง ตราสารสิทธิก็ได้พัฒนามาจนได้รับความนิยมมากขึ้น

สำหรับตราสารสิทธิของประเทศไทย เป็นหนังสือสัญญาหรือตราสารทางการเงินประเภทตราสารอนุพันธ์ โดยมีสินค้าอ้างอิงเป็นดัชนี SET50 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีลักษณะให้สิทธิแก่ผู้ถือตราสารเมื่อเปิดสถานะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายที่จะใช้สิทธิซื้อหรือขายในวันที่กำหนด วันสิ้นสิทธิแต่ละงวดแบ่งเป็นสี่งวดในหนึ่งปี หรือจะปิดสถานะแบบมีสิทธิก่อนวันหมดอายุก็ได้ตามตราสารสิทธิแบบอเมริกา

รูปแบบตราสารสิทธิ แก้

ตราสารสิทธิมีหลายรูปแบบอาทิ

  • ตราสารสิทธิแบบยุโรป (European option) คือตราสารที่สามารถใช้สิทธิได้เมื่อถึงวันสิ้นสิทธิ
  • ตราสารสิทธิแบบอเมริกา (American option) คือตราสารที่สามารถใช้สิทธิในวันทำการใด ๆ ก่อนหรือภายในวันสิ้นสิทธิ
  • ตราสารสิทธิแบบเบอร์มิวดา (Bermudan option) คือตราสารที่สามารถใช้สิทธิเฉพาะในวันที่กำหนดก่อนหรือภายในวันสิ้นสิทธิ
  • ตราสารสิทธิแบบระดับราคา (barrier option) คือตราสารที่มีเงื่อนไขว่าราคาของหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องต้องผ่านระดับราคาที่กำหนดจึงจะสามารถใช้สิทธิได้
  • exotic option
  • vanilla option

ชนิดของตราสารสิทธิ แก้

  1. call options คือสัญญาที่ผู้ซื้อสิทธิ์ คิดว่าดัชนี SET 50จะสูงขึ้น แต่ผู้ขายคิดว่าดัชนี SET 50จะลดลง
  2. put options คือสัญญาที่ผู้ซื้อสิทธิ์ คิดว่าดัชนี SET 50จะลดลง แต่ผู้ขายคิดว่าดัชนี SET 50จะสูงขี้น

(คำอธิบาย ผลที่เกิดขึ้นภายหลังมีการซื้อขายตราสารกันแล้วจริงๆๆ ผู้ซื้อจ่ายค่าพรีเมี่ยม เป็นเงินต้องคูณด้วย 200 บาท แล้วผู้ขายก้ได้รับค่าพรี่เมี่ยมไป พร้อมกับต้องรักษาสัญญาไว้จนกว่าจะปิด (มีคู่สัญญามารับผิดชอบสัญญาเดิมต่อไปแทน) หรือถือไว้จนหมด อายุงวดสัญญา

ถ้าดัชนี SET 50ไม่สูงขึ้นจริง ผู้ซื้อจะขาดทุน เท่าจำนวน พรีเมี่ยมมี่ได้จ่ายไปแล้วเท่านั้น ผู้ขายก็ได้รับ เงินค่าพรี่เมี่ยมไป ตั้งแต่ตอนขาย เท่านั้น

ถ้าดัชนีเสท SET สูงขึ้นจริง ผู้ซื้อจะได้กำไร ตามราคาพรี่เมี่ยมที่ไปตั้งขายปิดสถานะ แล้วผู้มาซื้อสัญญาต่อไปก็ผูกพันกับ ผู้ขายรายเดิม ต่อไป หรือถือจนหมดอายุ ตลาดจะคิดเงินตามที่ดัชนี SET 50เป็นจริงวันสุดท้ายของงวดสัญญา ตอนปิดตลาดแล้ว และตลาดจะเรียกเงินจากผู้ขาย มาเติมเงินเข้าบัญชี เพื่อนำมาจ่ายให้ผู้ซื้อจนครบ เสมือนได้ไปซื้อ ดัชนี SET 50 หรือ Future 50 (แต่นี้เราเรียกสินค้าสมมุตหรือสินค้าอ้างอิง )

(สำหรับ พุท ก็อธิบายได้แบบเดียวกัน ในทางตรงข้าม)

ดังนั้น ออพชั่น จึงมี เปิดสถานะเริ่มแรก 4 แบบ คือ

  1. เปิดสถานะ ซื้อ คอลออพชั่น
  2. เปิดสถานะ ซื้อ พุทออพชั่น
  3. เปิดสถานะ ขาย คอลออพชั่น
  4. เปิดสถานะ ขาย พุทออพชั่น

เมื่อหมดอายุ งวดสัญญา ทุกสัญญาก็จะถูกล้างออกจากพอร์ต ตลาดทำการคำนวณค่าสัญญาคงเหลือเท่าไรแล้วจัดการใส่เงินเข้าบัญชีให้ แต่ถ้าเปิดสถานะขายแล้วขาดทุน ตลาดจะเรียกเก็บเอาส่วนที่ต้องจ่ายจากบัญชีไปให้ผู้เปิดสถานะซื้อเป็นคู่สัญญาคนสุดท้าย

และการปิดสถานะก่อนหมดอายุ อีก4แบบ

  1. ปิดสถาะนของ 1 ด้วยการ ขายคอลออพชั่น ที่สัญญาสไตรไพร์ เดียวกัน
  2. ปิดสถานะของ 2 ด้วยการ ขายพุทออพชั่น ที่สัญญาสไตร์ไพร์เดียวกัน
  3. ปิดสถานะของ 3 ด้วยการ ซื้อ คอลออพชั่น ที่สัญญาสไตร์ไพร์เดียวกัน
  4. ปิดสถานะของ 4 ด้วยการ ซื้อ พุทออพชั่น ที่สัญญาสไตร์ไพร์ เดียวกัน

การซื้อขายสัญญาออปชันในประเทศไทยเริ่มแรกเป็นการซื้อขายในตลาดเปิด (OTC) เท่านั้น ยังไม่มีการซื้อขายในตลาดฟิวเจอร์ส อย่างไรก็ตาม ตลาดฟิวเจอร์สได้เริ่มซื้อขายสัญญาออปชันบนดัชนี SET50 ในวันที่ 29 ตุลาคม 2550 หลังจากที่มีการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์ส บนดัชนี SET50 มาก่อนหน้านี้แล้ว

การใช้งานออปชัน แก้

  1. การป้องกันความเสี่ยง (Hedging) เช่น ถ้าสายการบินมีต้นทุนหลักคือราคาน้ำมัน ดังนั้นหากราคาน้ำมันมีราคาสูงขึ้นก็จะกระทบกำไรของสายการบิน เมื่อเป็นเช่นนี้สายการบินจึง long call option บนราคาน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น สายการบินจะขาดทุนจากการต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่จะได้รับการชดเชยจากกำไรจากการ long call option ทำให้สายการบินลดความผันผวนของกำไรได้
  2. การเก็งกำไร (Speculative) การลงทุนในสัญญาออปชันแทนการลงทุนในสินทรัพย์อ้างอิงจะทำให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงขึ้น เพราะ option มี gearing อย่างไรก็ตามหากเกิดการขาดทุนขึ้นอัตราผลขาดทุนจากสิทธิเลือกก็ย่อมสูงกว่าหลักทรัพย์อ้างอิง ตามหลัก High risk, high return (ความเสี่ยงสูง ค่าตอบแทนก็สูง)

การวิเคราะห์ราคาของออปชัน แก้

การวิเคราะห์ราคาของสัญญาออปชันมีหลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่นิยมและใช้งานสะดวกคือการทำงานผ่าน Black-Scholes Option Pricing Model โดยมีสมมติฐานว่าการเคลื่อนไหวของราคาของสินทรัพย์อ้างอิงเคลื่อนไหวแบบ Geometric Brownian Motion อย่างไรก็ตามวิธีนี้ยังมีข้อจำกัดเฉพาะกับ European Option เท่านั้น และอัตราดอกเบี้ย และค่าความแปรปรวนของอัตราการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์อ้างอิงยังต้องมีค่าคงที่ตลอดอายุของสัญญาออปชันด้วย รวมถึงสามารถใช้ได้กับสัญญาออปชันที่มีลักษณะเรียบง่าย (Plain Vanilla Option) เท่านั้น

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายวิธีที่ใช้วิเคราะห์ราคาสัญญาออปชันเช่น Binomial Option Pricing Model หรือการใช้ numerical approach เช่น การใช้ monte carlo simulation ซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่าวิธีของ Black & Scholes แต่ต้องอาศัยเทคโนโลยีช่วยเพื่อลดเวลาในการวิเคราะห์ราคาลง

อ้างอิง แก้

  • อัญญา ขันธวิทย์. 2547. การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • John C. Hull, Options, Futures, and Other Derivatives (5th Edition)

ดูเพิ่ม แก้

ion)