ตราสัญลักษณ์ผู้ชนะเลิศฟีฟ่า

ตราสัญลักษณ์ผู้ชนะเลิศฟีฟ่า (อังกฤษ: FIFA Champions Badge) เป็นตราสัญลักษณ์ในรูปโล่สีทองและสีขาว ซึ่งฟีฟ่ามอบให้แก่ผู้ชนะเลิศในการแข่งขันของฟีฟ่า ทั้งในระดับทีมชาติ (เช่น ฟุตบอลโลก, ฟุตบอลโลกหญิง, ฟุตซอลชิงแชมป์โลก, และฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก) และระดับสโมสร (เช่น ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก)

ตราสัญลักษณ์ซึ่งมอบให้กับทีมชาติที่ชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลโลก
ตราสัญลักษณ์ซึ่งมอบให้กับทีมสโมสรที่ชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก

ฟีฟ่าเป็นเจ้าของ ผลิตและให้ผู้อื่นเช่าสิทธิตราสัญลักษณ์ผู้ชนะเลิศฟีฟ่า ซึ่งสามารถติดได้เฉพาะบนเสื้อทีมชุดแรก (ที่ไม่ใช่ชุดพิเศษ หรือชุดฝึกซ้อม) ของทีมผู้ชนะเท่านั้น จึงเป็นเหมือนรางวัลชั่วคราว ซึ่งฟีฟ่ามอบตราสัญลักษณ์ครั้งแรกให้กับ เอซี มิลาน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2007

ตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของฟีฟ่านี้ ต่างกับกับสัญลักษณ์ที่ไม่เป็นทางการที่ทีมต่าง ๆ ติดเพื่อแสดงถึงชัยชนะ หรือถ้วยรางวัลที่สำคัญ เช่น ดวงดาว

ตราสัญลักษณ์ แก้

ข้อบังคับของตราสัญลักษณ์ แก้

 
คริสเตียโน โรนัลโด สวมเสื้อเรอัลมาดริด ซึ่งประดับตราสัญลักษณ์ผู้ชนะเลิศฟีฟ่า โดยเรอัลมาดริดเป็นผู้ถือครองตราสัญลักษณ์อย่างต่อเนื่องยาว 1,098 วัน ซึ่งเป็นสถิติสโมสร[1]

ตรานี้มีขนาด 78 × 58 มม. (3.1 × 2.3 นิ้ว) มีรูปร่างคล้ายโล่[a] และมีรูปถ้วยรางวัลที่ชนะเลิศ พร้อมจารึกคำว่า FIFA WORLD CHAMPIONS ถัดจากปีที่ชนะการแข่งขันของฟีฟ่า[3][4] ตราสัญลักษณ์มีเพียงสองสีเท่านั้น คือ ตัวอักษรสีทองบนพื้นหลังสีขาว และตัวอักษรสีขาวบนพื้นหลังสีทอง[5] ทีมชาติหรือสโมสรที่ชนะ จะประดับตราบนเสื้อจนกว่าจะสิ้นสุดการแข่งขันของฟีฟ่าในการแข่งขันครั้งต่อไป ดังนั้นจึงสวมใส่เพื่อแสดงถึงแชมป์ในปีการแข่งขันนั้น[1][4][6]

ตราสัญลักษณ์สามารถติดบนเสื้อได้ตั้งแต่วันที่ทีมเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันของฟีฟ่าจนถึงและรวมถึงวันสุดท้ายของการแข่งขันครั้งต่อไป (เช่น หากทีมชนะการแข่งขันอีกครั้ง พวกเขาสามารถประดับตราสัญลักษณ์ต่อไปได้)[7][8] ตราสัญลักษณ์สามารถติดได้เฉพาะเสื้อแข่งอย่างเป็นทางการของทีมชุดแรกของสโมสรเท่านั้น (ทั้งเสื้อเหย้า และเยือน) ซึ่งเป็นทีมที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันของฟีฟ่าครั้งนั้น และไม่สามารถติดในเสื้อพิเศษ หรือเสื้อย้อนรำลึกของสโมสร หรือทีมสำรองของสโมสร / ทีมอื่น ๆ ของสโมสร[7][8]

เชิงการค้า แก้

ตราสัญลักษณ์ผลิตโดยบริษัทภายนอกในนามของฟีฟ่า (ซึ่งเป็นยูนิสปอร์ตใน ค.ศ. 2019)[9] และคำสั่งซื้อตราสัญลักษณ์จากผู้ผลิตเสื้อแข่งจะต้องผ่านฟีฟ่าเท่านั้น กอปรกับสถานการณ์ด้านลอจิสติกส์ของผู้ผลิตตราสัญลักษณ์ ทำให้เกิดความล่าช้าในการสั่งซื้อเสื้อฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐที่ผลิตโดยไนกี้ พร้อมตราใน ค.ศ. 2019[2][9] นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่าผู้ผลิตเสื้อรายใหญ่เช่นไนกี้ และพูม่า มีปัญหาเรื่องการขอใบอนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์จากฟีฟ่าสำหรับเสื้อทีมชุดแรกที่สามารถขายให้กับคนทั่วไปได้[10]

เช่นเดียวกับเกียรติประวัตินี้ รางวัลนี้นำมาซึ่งประโยชน์ทางการค้าต่อผู้ผลิตเสื้อผ่านยอดขายของเสื้อที่มีตราสัญลักษณ์[10][11]

การแข่งขันที่ไม่ได้จัดโดยฟีฟ่า แก้

การประดับตราสัญลักษณ์จำเป็นต้องมีข้อตกลงแยกต่างหากในการสวมตราสัญลักษณ์ในการแข่งขันที่ไม่ใช่ของฟีฟ่า ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 2009 สมาคมฟุตบอลอังกฤษ อนุญาตให้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2008 ประดับตราสัญลักษณ์ในการแข่งขันเอฟเอคัพได้ แต่ไม่อนุญาตให้ประดับตราสัญลักษณ์ในการแข่งขันพรีเมียร์ลีก[12] ซึ่งคล้ายกับกรณีของลิเวอร์พูล ซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2019[4][13] อย่างไรก็ตาม สมาคมฟุตบอลอังกฤษให้สิทธิลิเวอร์พูลสำหรับการประดับตราสัญลักษณ์สำหรับการแข่งขันพรีเมียร์ลีกในเกมที่เปิดบ้านพบกับวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ เมื่อ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2019[14][15] ซึ่งต่างกันกับเรอัลมาดริด พวกเขาได้รับอนุญาตให้ประดับตราสัญลักษณ์ในการแข่งขันทั้งหมดของลาลิกาสเปน[1]

ประวัติ แก้

 
คาร์ลี ลอยด์ สวมเสื้อฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐ ซึ่งประดับตราสัญลักษณ์ผู้ชนะเลิศฟีฟ่า โดยทีมหญิงของสหรัฐเป็นผู้ถือครองตราสัญลักษณ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2015 ซึ่งเป็นสถิติของทีมชาติ

สโมสร แก้

ตราสัญลักษณ์นี้ได้มีการมอบครั้งแรกให้กับเอซี มิลาน สโมสรจากอิตาลีซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกใน ค.ศ. 2007[16][17] ในช่วงเวลาที่มอบรางวัลให้กับเอซี มิลาน ฟีฟ่าประกาศว่าผู้ชนะเลิศสามทีมก่อนหน้านี้ของฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ได้แก่ โกริงชังส์, เซาเปาลู, และอิสโปร์ชีกลูบีอิงเตร์นาซีโยนัล ยังสามารถประดับตราสัญลักษณ์ได้จนกว่าจะได้ผู้ชนะเลิศการแข่งฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก รอบชิงชนะเลิศ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008[18] อย่างไรก็ตาม เมื่อโกริงชังส์เป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2012 ฟีฟ่ายืนยันว่านี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้รับตราสัญลักษณ์ผู้ชนะเลิศฟีฟ่าอย่างเป็นทางการ[19]

ทีมชาติ แก้

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวได้ขยายไปมอบให้กับผู้ชนะเลิศฟุตบอลโลก และได้รับการเสนอให้ผู้ชนะเลิศตั้งแต่ ค.ศ. 2006 อิตาลีจึงกลายเป็นทีมชาติแรกที่ได้ประดับตราสัญลักษณ์[b][5] ใน ค.ศ. 2009 ได้ขยายไปมอบให้กับผู้ชนะเลิศฟุตบอลโลกหญิง และมอบให้กับเยอรมนี ซึ่งชนะเลิศใน ค.ศ. 2007;[21] และให้กับญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2011[22][23] นอกจากนี้ยังได้ขยายไปมอบให้กับผู้ชนะเลิศฟุตซอลชิงแชมป์โลก และมอบให้กับบราซิล ซึ่งชนะเลิศใน ค.ศ. 2012[22][24] และใน ค.ศ. 2013 ได้ขยายไปมอบให้กับผู้ชนะเลิศฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก ซึ่งรัสเซียเป็นผู้ชนะเลิศครั้งแรก[22]

สถิติ แก้

ข้อมูล ณ มกราคม ค.ศ. 2020

ระยะเวลาต่อเนื่อง แก้

  • เมื่อ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2019 ลิเวอร์พูลเป็นผู้สิ้นสุดการถือครองตราสัญลักษณ์ของเรอัลมาดริด ซึ่งเรอัลมาดริดประดับตราสัญลักษณ์เป็นเวลา 1,098 วันนับตั้งแต่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2016 และได้รับการบันทึกว่าเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดที่ทีมใด ๆ ของสโมสรได้รับตราสัญลักษณ์นี้[1]
  • ฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐประดับตราสัญลักษณ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 พวกเขาเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2015 ซึ่งเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดที่ทีมชาติใด ๆ ได้รับตราสัญลักษณ์นี้ (ยังไม่มีทีมชาติอื่นได้รับตราสัญลักษณ์สองครั้งติดต่อกัน)

จำนวนครั้ง แก้

  • สำหรับสโมสร เรอัลมาดริดได้รับสิทธิในการประดับตราสัญลักษณ์สี่ครั้งนับตั้งแต่เริ่มมอบตราสัญลักษณ์ ในขณะที่บาร์เซโลนาได้รับสิทธิสามครั้ง
  • สำหรับฟุตบอลทีมชาติ ทีมหญิงของสหรัฐได้ได้รับสิทธิในการประดับตราสัญลักษณ์สองครั้งนับตั้งแต่มอบตราสัญลักษณ์ แต่ไม่มีทีมฟุตบอลชายทีมใดได้รับสิทธิมากกว่าหนึ่งครั้ง
  • สำหรับทีมชาติอื่น ฟุตบอลชายหาดทีมชาติโปรตุเกส ได้รับสิทธิสองครั้ง

ผู้ชนะเลิศระดับทีมชาติ แก้

ฟุตบอล แก้

ชาย
ปี ทีม
2006   อิตาลี[5][10]
2010   สเปน[6][22]
2014   เยอรมนี[6][10][22][25]
2018   ฝรั่งเศส[10]
หญิง
ปี ทีม
2007   เยอรมนี[21]
2011   ญี่ปุ่น[22]
2015   สหรัฐ[9][20]
2019

ฟุตซอล แก้

ชาย
ปี ทีม
2012   บราซิล[22]
2016   อาร์เจนตินา[20]

ฟุตบอลชายหาด แก้

ชาย
ปี ทีม
2013   รัสเซีย[22]
2015   โปรตุเกส[26]
2017   บราซิล[27]
2019   โปรตุเกส[28]

ผู้ชนะเลิศระดับสโมสร แก้

ชาย
ปี สโมสร
2007   มิลาน[1][16][c]
2008   แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[1][12]
2009   บาร์เซโลนา[1][29]
2010   อินเตอร์มิลาน[30]
2011   บาร์เซโลนา[29]
2012   โกริงชังส์[19][31][c]
2013   ไบเอิร์นมิวนิก[31]
2014   เรอัลมาดริด[20][26]
2015   บาร์เซโลนา[26][32]
2016   เรอัลมาดริด[1][20][33]
2017
2018
2019   ลิเวอร์พูล[14][15]
2020   ไบเอิร์นมิวนิก

หมายเหตุ แก้

  1. ตาม "ข้อบังคับอุปกรณ์ของฟีฟ่า ค.ศ. 2015" ระบุว่าขนาดคือ 80 × 55 มม. (3.1 × 2.2 นิ้ว) แต่โปรดทราบว่า ฟีฟ่าสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดได้ตามดุลยพินิจของตน[2]
  2. แม้ว่าฟีฟ่าจะมอบ "ตราสัญลักษณ์ผู้ชนะเลิศ" ให้กับเอซี มิลานเมื่อเจ็ดเดือนก่อนหน้านี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 เนื่องจากอิตาลีเป็นผู้ครองแชมป์จากฟุตบอลโลกปี 2006 บางครั้งฟีฟ่าอ้างถึงอิตาลีว่าเป็น "ผู้ถือครองตราสัญลักษณ์ทีมแรก" ในข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ[20]
  3. 3.0 3.1 ในช่วงเวลาที่มอบรางวัลให้กับเอซี มิลาน ฟีฟ่าประกาศว่าผู้ชนะเลิศสามทีมก่อนหน้านี้ของฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ได้แก่ โกริงชังส์, เซาเปาลู, และอิสโปร์ชีกลูบีอิงเตร์นาซีโยนัล ยังสามารถประดับตราสัญลักษณ์ได้จนกว่าจะได้ผู้ชนะเลิศในการแข่งฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก รอบชิงชนะเลิศ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008[18]อย่างไรก็ตาม เมื่อโกริงชังส์เป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2012 ฟีฟ่ายืนยันว่านี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้รับตราสัญลักษณ์ผู้ชนะเลิศฟีฟ่าอย่างเป็นทางการ โดยระบุว่า "โกริงชังส์ผู้ซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกครั้งล่าสุด เป็นสโมสรล่าสุดของกลุ่มทีมฟุตบอลพิเศษที่ได้รับเกียรติจากการประดับตราสัญลักษณ์ผู้ชนะเลิศฟีฟ่า[19]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Miguel Angel Lara (4 December 2019). "Real Madrid give up the world champions badge after 1,098 days". Marca. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019. On December 18, 2016, Real Madrid were crowned world champions after beating Kashima Antlers and they dethroned previous winners Barcelona. Straight after the final, Adidas launched Madrid's new kit which included the world champions badge. The team officially inaugurated that shirt on January 4, 2017, in a 3-0 Copa del Rey victory against Sevilla and have since played 172 official matches, of which they have won 108 and have scored a total of 392 goals while conceding 200.
  2. 2.0 2.1 "2015 FIFA Equipment Regulations" (PDF). FIFA. September 2015. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020. FIFA World Champions Badge (Chapter 14, page 81)
  3. "Bayern join elite group of badge-winners". Zurich: FIFA. December 21, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ March 30, 2018. The badge, featuring an image of the FIFA Club World Cup trophy and the text ‘FIFA World Champions 2013’, will act as a physical reminder of the team’s successful 2013 in which they first won the UEFA Champions League in May before being crowned World Champions in Morocco.
  4. 4.0 4.1 4.2 Glenn Price (21 December 2019). "Explained: Liverpool earn gold FIFA Champions Badge". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  5. 5.0 5.1 5.2 "First 'FIFA World Champions Badge' presented to Italy". FIFA. 2 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019. FIFA President Joseph S. Blatter today presented the very first 'FIFA World Champions Badge' to reigning world champions Italy in Coverciano, Italy. The Squadra Azzurra are the first national team to receive this badge, which from now on will be awarded after every FIFA World Cup™ finals competition. The reigning world champions will be able to wear the badge until the next FIFA World Cup.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Germany to Loose 2014 World Cup Winners Badge". Footy Headlines. 15 July 2018. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
  7. 7.0 7.1 Glenn Price (21 December 2019). "Explained: Liverpool earn gold FIFA Champions Badge". Liverpoolfc.com. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
  8. 8.0 8.1 Sports Editor (22 December 2019). "Liverpool won't wear golden badge for winning Club World Cup in Premier League". Irish Mirror. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019. A FIFA spokesperson said: "As per the usage guidelines, the winning team can wear the FIFA World Champions Badge from the day it becomes champions up to and including the final of the next edition of the tournament." Liverpool will be presented with the badge - which is 78 millimetres by 57mm - at an official ceremony. It will only be permitted on current first-team shirts - not retro shirts or training attire. {{cite news}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 Stephanie Yang (15 May 2019). "Show me the merch: what's going on with the USWNT's World Cup jersey sales?". Stars and Stripes F.C. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020. World Cup champion patches are manufactured by Unisport, which adds a layer of logistics obviously, and actually draws FIFA into the mix, as orders reportedly go through them (which makes sense, since it’s their brand).
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 "Is Nike Not Allowed To Sale France 2-Star Jersey With World Cup Winners Badge?". Footy Headlines. 9 December 2018. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
  11. "New Balance set for Liverpool kit boost following Club World Cup despite Nike deal". Irish Mirror. 28 December 2019. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020. Sports marketing expert Tim Crow wrote on Twitter: "After losing Liverpool’s licensing rights to Nike from next season, this is a big bonus for New Balance in the final few months of their LFC contract. FIFA Champions badge is a big sales driver as Real Madrid has shown."
  12. 12.0 12.1 Rory Smith (12 March 2009). "Manchester United 'world champions' crest rebuffed by Premier League". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019. The Premier League have risked a potential diplomatic row with Fifa by refusing Manchester United permission to wear a crest denoting their status as world champions on their shirts for the rest of the year.
  13. Sean Bradbury (22 December 2019). "Liverpool get gold FIFA Champions badge but it won't be seen on Premier League shirts". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  14. 14.0 14.1 Chris Bascombe (25 December 2019). "Exclusive: Liverpool granted permission to wear gold badge for one Premier League game after Club World Cup victory". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 25 December 2019. The domestic governing body has accepted an application by the Merseysiders enabling them to celebrate their Club World Cup success with supporters; the home fixture with Wolves on December 29 being the designated date.
  15. 15.0 15.1 Chris Beesley (27 December 2019). "Liverpool confirm they will wear Gold FIFA Champions badge against Wolverhampton Wanderers". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 1 January 2020. Liverpool are only the second English club to lift the trophy following Manchester United in 2008 but back then the Premier League refused to allow them to sport the badge in their competition.
  16. 16.0 16.1 "FIFA awards special 'Club World Champion' badge to AC Milan". FIFA. 2 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019. At a ceremony today at the Home of FIFA in Zurich, FIFA General Secretary Jerome Valcke officially presented a badge to AC Milan's CEO Adriano Galliani to honour their club's victory at the 2007 FIFA Club World Cup. This new badge will also be provided to the winning club of all future editions of the competition.
  17. "FIFA awards special 'Club World Champion' badge to AC Milan". Zurich: FIFA. February 7, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-27. สืบค้นเมื่อ March 30, 2018.
  18. 18.0 18.1 "FIFA awards special 'Club World Champion' badge to AC Milan". FIFA. 7 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019. FIFA will also honour the three previous winners of the FIFA Club World Cup from Brazil - Corinthians, Sao Paulo FC and Sport Club Internacional - with a similar distinction
  19. 19.0 19.1 19.2 "Corinthians join elite group of badge-wearers". FIFA. 17 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-22. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019. Newly-crowned FIFA Club World Cup Champions Corinthians are the latest member of the exclusive group of football teams who have the honour of wearing the FIFA World Champions Badge.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 "Real Madrid presented with the FIFA World Champions Badge". FIFA. 16 December 2017. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
  21. 21.0 21.1 "German women honoured by FIFA". 21 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 22.6 22.7 "FIFA World Champions Badge honours Real Madrid's impeccable year". FIFA. 20 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019. The badge is also worn by the Japanese women’s national team following their triumph at the FIFA Women’s World Cup 2011™, while the most recent edition of the FIFA Futsal World Cup in 2012 saw the Brazilian national team take the title, along with the first FIFA World Champions Badge to be handed over for that particular competition. The latest tournament to be introduced to this exclusive award was the FIFA Beach Soccer World Cup Tahiti 2013, where reigning champions Russia were awarded the FIFA World Champions Badge.
  23. "German women honoured by FIFA". Zurich: FIFA. April 17, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2009. สืบค้นเมื่อ March 30, 2018.
  24. "Futsal kings to receive FIFA World Champions Badge". Zurich: FIFA. August 24, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-06. สืบค้นเมื่อ March 30, 2018.
  25. "Germany receive FIFA World Cup Badge at Die Mannschaft film premiere". FIFA. 10 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-16. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
  26. 26.0 26.1 26.2 "Barcelona honoured with FIFA World Champions Badge for third time". FIFA. 20 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-16. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
  27. "Holders entertain, while debutants play like veterans". FIFA. 23 November 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-25. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020. Defending 2017 Champions Brazil (wearning their FIFA Champions Badge
  28. "Portugal on top of the world, Italy and Russia claim silver and bronze". FIFA. 2 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-24. สืบค้นเมื่อ 3 April 2020.
  29. 29.0 29.1 "Badge of champions awarded to FC Barcelona". FIFA. 11 January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-16. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020. This is the second time that FC Barcelona have had the honour of wearing the badge, following their victory at the FIFA Club World Cup in 2009.
  30. "FC Internazionale receives the FIFA Club World Cup Champions Badge". FIFA. 6 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-16. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020. FIFA Director Walter Gagg, Inter Club President Massimo Moratti and Inter Club Captain Javier Zanetti attend the presentation of the FIFA Club World Cup Champions badge
  31. 31.0 31.1 "Bayern join elite group of badge-winners". FIFA. 21 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-16. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
  32. Alex Chick (30 December 2015). "Barcelona to debut gold World Champions badge against Real Betis". Eurosport. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
  33. "Real Madrid receive FIFA World Champions Badge in Japan". FIFA. 18 December 2016. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้