ตระกูลเอสเต
ตระกูลเอสเต (อังกฤษ: House of Este[1]) เป็นตระกูลของยุโรปที่แบ่งเป็นสองสาย สายอาวุโสคือ “เวลฟ-เอสเต” หรือ ตระกูลเวลฟ และสายรอง “ฟุลค์-เอสเต” (Fulc-Este) หรือที่มาเรียกว่า “ตระกูลเอสเต” ทั้งสองตระกูลเกี่ยวข้องกับตระกูลเว็ตติน (House of Wettin) ซึ่งเป็นตระกูลเก่าที่มีอายุแปดร้อยปี
สายอาวุโสของตระกูลเอสเตตระกูลเวลฟเป็นต้นตระกูลของดยุคแห่งบาวาเรีย (ค.ศ. 1070–ค.ศ. 1139, ค.ศ. 1156–ค.ศ. 1180), ดยุคแห่งดยุคแห่งแซกโซนี (ค.ศ. 1138–ค.ศ. 1139, ค.ศ. 1142–ค.ศ. 1180), พระมหากษัตริย์แห่งเยอรมนี (ค.ศ. 1198–ค.ศ. 1218) และที่มีอิทธิพลในประวัติศาสตร์มากที่สุด, ดยุคแห่งบรันสวิคและลืนเนอเบิร์ก (ค.ศ. 1208–ค.ศ. 1918) ผู้ต่อมาเป็น “เจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งฮาโนเวอร์” ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อสองสายของตระกูลกลับมารวมตัวกันอีกครั้งในปี ค.ศ. 1705
การประชุมแห่งเวียนนา (Congress of Vienna) ที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามนโปเลียน (Napoleonic wars) เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองของยุโรปอย่างสิ้นเชิง อาณาจักรเลือกตั้งแห่งฮาโนเวอร์ (อาณาจักรดยุคแห่งบรันสวิคและลืนเนอเบิร์ก — และปกครองโดยประมุขของสหราชอาณาจักรสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 โดยการเสกสมรส) ก็ถูกยุบเลิกโดยสนธิสัญญาและได้รับดินแดนเพิ่มขึ้นและก่อตั้งขึ้นเป็นราชอาณาจักรฮาโนเวอร์ ราชอาณาจักรใหม่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1815 ถึง ค.ศ. 1866 เมื่อราชอาณาจักรตกไปเป็นของพระปิตุลาของพระมหากษัตรีย์ของสหราชอาณาจักรตามกฎบัตรซาลลิคที่ไม่อนุญาตให้สตรีสืบสายการปกครอง ฉะนั้นเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียขึ้นครองราชย์พระองค์ก็ไม่ทรงมีสิทธิในราชอาณาจักรฮาโนเวอร์เช่นเดียวกับประมุขของสหราชอาณาจักรองค์ก่อนๆ หน้านั้น ตระกูลเอสเตจึงเป็นตระกูลที่ให้กำเนิดกษัตริย์ “ราชวงศ์ฮาโนเวอร์” แก่สหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1714–ค.ศ. 1901; ทางจอร์จที่ 1—วิลเลียมที่ 4, รวมทั้งสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) ตามสายเลือดแล้วผู้ครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลเอสเตทั้งทางพระราชมารดาและพระบิดาเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี
สายรองของตระกูลเอสเตรวมทั้งผู้ปกครองเฟอร์รารา (ค.ศ. 1240–ค.ศ. 1597) และโมดีนา และเรจจิโอ (ค.ศ. 1288–ค.ศ. 1796)
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ตระกูลเอสเต