ตระกูลฟูจิวาระ

(เปลี่ยนทางจาก ตระกูลฟุจิวะระ)

ฟูจิวาระ (ญี่ปุ่น: 藤原氏โรมาจิFujiwara) เป็นกลุ่มขุนนางที่เคยมีอำนาจและอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ต่อราชสำนักญี่ปุ่น ในยุคเฮอัง โดย ฟูจิวาระ โนะ โมโตสึเนะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคัมปากุ ซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางที่ทรงอิทธิพลที่สุด และคนของฟุจิวาระก็เข้ายึดครองอำนาจในราชสำนัก ทำให้กลายเป็นตระกูลทหารที่มีอำนาจสูงสุด ยาวนานกว่า 500 ปี โดยฟูจิวาระ ได้ผูกขาดตำแหน่งคัมปากุ เซ็สโช และไดโจไดจิงตลอด 500 ปี และยังให้บุตรสาวของตระกูลอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิ เพื่อให้เชื้อสายของตนเองเป็นจักรพรรดิอีกด้วย อย่างไรก็ตามจักรพรรดิเชื้อสายฟูจิวาระได้หมดไปในภายหลัง พร้อม ๆ กับการล่มสลายของตระกูลฟูจิวาระที่ครองอำนาจกว่า 500 ปี

ตระกูลฟูจิวาระ
แคว้นที่ปกครองแคว้นยามาโตะ
เชื้อสายตระกูลนางาโทมิ
ผู้นำคนแรกฟุจิวะระ โนะ คะมะตะริ
ก่อตั้งค.ศ. 668
ตระกูลย่อยฮกเกะ (ฟุจิวะระ)
ตระกูลฟุจิวะระ

เจ้าชายมาสะฮิโตะ คุโจ (ประมุขตระกูล)


ฟูจิวาระ คามาตาริ ต้นตระกูลฟูจิวาระ

ตระกูลฟูจิวาระล่มสลายลงไปปี ค.ศ. 1947 โดยสมาชิกในตระกูลทั้งหมดแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ส่งผลให้การปกครองและระบบศักดินาสิ้นสุดลง

ที่มาของตระกูลฟูจิวาระ - ยุคสมัยนาระ

แก้

ตระกูลฟูจิวาระ เริ่มต้นโดย ฟูจิวาระ โนะ คามาตาริ ซึ่งได้ทำการการปฏิรูปไทกะ จึงได้รับพระราชทาน นามสกุล ว่า ฟูจิวาระ จากจักรพรรดิเท็นจิ ฟูจิวาระ โนะ ฟูฮิโตะ บุตรชายของ คามาตาริ ได้ยกบุตรสาวให้ จักรพรรดิมมมุ เป็นพระจักรพรรดินี โอรสของพระองค์คือ เจ้าชายโอบิโตะ ซึ่งภายหลังเป็น จักรพรรดิโชมุ ฟูฮิโตะได้ยกบุตรสาวอีกคนหนึ่งให้กับ จักรพรรดิโชมุ ฟูฮิโตะมีทายาทเป็นชาย 4 คน คือ ฟูจิวาระ โนะ มูชิมาโระ, ฟูจิวาระ โนะ ฟูซาซากิ, ฟูจิวาระ โนะ อูมาไก และ ฟูจิวาระโนะ มาโระ ซึ่งแตกออกมาเป็น 4 ตระกูลย่อยคือ นังเกะ, ฮกเกะ, ชิกิเกะ และ เคียวเกะ ตระกูลฮกเกะ ได้ปกครองพื้นที่ทางเหนือและได้สืบทอดตระกูลฟูจิวาระต่อไป

ยุคเรืองอำนาจ - สมัยเฮอังตอนต้น - ตอนกลาง

แก้

ในยุคสมัยเฮอัง ตระกูลฟูจิวาระสายฮกเกะ สืบทอดอำนาจต่อมา โดยได้รับตำแหน่งเป็น เซ็สโช (ผู้สำเร็จราชการเมื่อจักรพรรดิทรงพระเยาว์) คัมปากุ (ผู้สำเร็จราชการเมื่อจักรพรรดิทรงเจริญพระชนมพรรษาแล้ว) สมาชิกตระกูลฟูจิวาระผูกขาดสองตำแหน่งนี้ตลอดยุคเฮอัง เชื้อสายของฟูจิวาระถูกจับให้อภิเษกสมรสกับ จักรพรรดิ ส่งผลให้จักรพรรดิส่วนใหญ่ในสมัยเฮอัง เป็นเชื้อสายของตระกูลฟูจิวาระ ส่งผลให้อำนาจของตระกูลนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนแทบจะเป็นผู้ปกครองประเทศ โชเอ็งแทบทั้งหมดเป็นของตระกูลฟูจิวาระ อย่างไรก็ตามอำนาจของตระกูลฟูจิวาระเสื่อมลงเมื่อมีตระกูลซามูไร เข้ามามีอำนาจจนกระทั่ง มินาโมโตะ โยริโตโมะ สถาปนาตนเองเป็นโชกุนแห่งคามากูระ ส่งผลให้อำนาจของราชสำนักและตระกูลฟูจิวาระลดลงไป อย่างไรก็ตามตระกูลฟูจิวาระยังคงสืบทอดตำแหน่งต่อไป และมีเชื้อสายกับจักรพรรดิอยู่

สู่จุดแตกหัก และ การเสื่อมของอำนาจ

แก้

หลังจากตระกูลฟูจิวาระผูกขาดตำแหน่งเซ็สโช กับ คัมปากุ แล้ว ยังได้เป็นเจ้าของที่ดินเกือบทั้งญี่ปุ่น ว่าได้ว่าเป็นตระกูลที่มีอำนาจมากที่สุดในญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ตระกูลฟูจิวาระสามารถเปลี่ยนองค์รัชทายาท และจักรพรรดิได้ทำตามอำเภอใจ ส่งผลให้พวกเขามีอำนาจมากขึ้น ส่งผลให้พระราชบัญญัติของพระจักรพรรดิพังทลาย การเมืองมีแต่การฉ้อราชบังหลวงของตระกูลฟูจิวาระ อีกทั้งตระกูลฟูจิวาระยังซื้อขายตำแหน่งขุนนางโดยการติดสินบนพวกเขา ส่งผลให้พวกเขารวยมากขึ้น ๆ จนกระทั่งมีทรัพย์สินมากกว่าท้องพระคลังของประเทศ และทำตัวดั่งเป็นจักรพรรดิ พวกเขาควบคุมจักรพรรดิเป็นเวลานานจนกระทั่ง ถึงการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิโกะ-ซันโจ ได้เกิดการแก่งแย่งอำนาจกันระหว่าง จักรพรรดิโกซันโจ และ ขุนนางตระกูลฟูจิวาระ โดยจักรพรรดิโกะ-ซันโจมีพระประสงค์จะฟื้นฟู อำนาจของจักรพรรดิอีกครั้ง จักรพรรดิโกะ-ซันโจ ร่วมมือกับ ตระกูลไทระ และตระกูลมินาโมโตะ ได้เกิดสงครามขึ้นในสมัยของ ฟูจิวาระ โนะ โยรินางะ ซึ่งเกิดการแตกแยกทั้งในราชสำนัก และตระฟูลฟูจิวาระเอง รวมถึงตระกูลมินาโมโตะ และ ตระกูลไทระเองด้วย จนท้ายที่สุด ตระกูลฟูจิวาระแพ้สงคราม อำนาจของตระกูลเสื่อมลงมาก จนในที่สุดทายาทรุ่นหลังของตระกูลฟูจิวาระ ได้เปลี่ยนจากการฝักใฝ่การเมืองเป็นการเน้นที่ศิลปะ การแต่งกลอน และการวาดภาพแทน

ล่มสลาย

แก้

สี่สิบปีหลังจากการเสียชีวิตของ ฟูจิวาระ โนะ มิจินางะ บุตรชายของเขาไม่สามารถควบคุมอำนาจไว้ได้ รวมทั้งฟูจิวาระ โนะ โยรินางะ ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่ไม่ได้สืบทอดมาจากตระกูลฟูจิวาระนับจากจักรพรรดิยูดะ ได้ขึ้นครองราชย์ อำนาจของตระกูลฟูจิวาระอ่อนแอลงอย่างมาก ฟูจิวาระ โนะ โยรินางะได้ร่วมมือกันขุนนางหลาย ๆ ฝ่าย เมื่อพยายามกำจัดตระกูลฟูจิวาระให้หมดไป จากราชสำนัก และตำแหน่งผู้สำเร็จราชการอีกด้วย จนในที่สุดอำนาจของตระกูลฟูจิวาระได้หมดไป และได้มีตระกูลนักรบใหม่เข้ามาแทนที่คือ ตระกูลไทระ ส่งผลให้ตระกูลฟูจิวาระที่เรื่องอำนาจมากว่า 500 ปี ล่มสลายลงในเวลาเพียง 40 ปี หลังจากการล่มสลายของอำนาจพวกเขาได้หันมาใส่ใจด้านศิลปะการแต่งกลอนแทนการเมือง

หลังการล่มสลาย

แก้

ตระกูลฟูจิวาระได้หันมาใส่ใจในเรื่องศิลปะ โดยยังคงความเป็นตระกูลขุนนางอยู่ แต่อย่างไรก็ตามอำนาจของตระกูลฟูจิวาระได้หมดไปแล้ว เจ้าหญิงของราชวงศ์จักรพรรดิโดยส่วนใหญ่ได้รับการอภิเษกสมรสกับ ทายาทตระกูลฟูจิวาระเรื่อยมาจนถึง สมัยเฮเซ โดยเจ้าหญิงคนสุดท้ายที่อภิเษกสมรสกับตระกูลฟูจิวาระคือ อดีตเจ้าฟ้าหญิงทากะ ทากัตสึกาซะ ธิดาองค์ที่ 3 ในจักรพรรดิโชวะ

ตระกูลฟูจิวาระในยุคใหม่ - ปัจจุบัน

แก้

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบศักดินาของตระกูลฟูจิวาระได้หมดไป โดยยังเหลือไว้เพียงยศ "ฟูจิวาระ โนะ" เท่านั้น ภายหลังนี้ตระกูลฟูจิวาระมีศักดิ์เป็นเพียงพระญาติของจักรพรรดิธรรมดา ไม่ได้มีอำนาจใด ๆ อีก โดย เชื้อสายตระกูล ฟูจิวาระ คนสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งเซ็สโชและคัมปากุ คือ นิโจ นาริยูกิ เซ็สโช และ คัมปากุ คนสุดท้ายของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้สืบทอดของตระกูลฟูจิวาระในสายย่อยนั่นเอง หลังการปฏิรูปเมจิ เชื้อสายของตระกูลนี้ทั้งหมดได้รับยศเป็นเจ้าชาย และสิ้นสุดยศเจ้าชายเมื่อทหารอเมริกันปกครองญี่ปุ่น ในปัจจุบันตระกูลฟูจิวาระบางส่วนเป็นยากูซะ และมีบางส่วนเป็นผู้มีอำนาจและอิทธิพลทางธุรกิจอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีแตกไปกว่า 20 สายย่อย โดยมีสายใหญ่ ๆ ดังนี้

แม้จะแยกออกมาเป็นตระกูลเล็ก ๆ มากมาย แต่พวกเขาก็ยังคงความเป็นตระกูลญาติกัน เนื่องจากมีการสมรสระหว่างแต่ละตระกูลอยู่ตลอดเวลา และแต่ละตระกูลก็ล้วนอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิหรือเจ้าชาย เจ้าหญิง ตลอดด้วยเช่นกัน

ผู้สืบทอดของฟูจิวาระในปัจจุบันมีอยู่มาก เช่น ฟูจิวาระ ทัตสึยะ, เรียวซูเกะ ฟูจิวาระ, แฮร์รี ฟูจิวาระ, เคจิ ฟูจิวาระ, มาซาฮิโกะ ฟูจิวาระ, โนริกะ ฟูจิวาระ, โยชิอากิ ฟูจิวาระ, ยูกะ ฟูจิวาระ, ยากูโมะ ฟูจิวาระ, มายูกะ ฟูจิวาระ, ริงโงะ ฟูจิวาระ ที่เป็นผู้ที่ถือนามสกุลดังกล่าวตามสายหลัก และ นามสกุลฟูจิวาระอีกอื่น ๆ มากในสายผสม

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้