การเงินแบบไม่รวมศูนย์

(เปลี่ยนทางจาก ดีไฟ)

การเงินแบบไม่รวมศูนย์ หรือ ดีไฟ (DeFi - decentralized finance) เป็นรูปแบบการเงินที่บริหารจัดการผ่านระบบบล็อกเชน แตกต่างจากการบริหารจัดการเงินแบบดั้งเดิมที่มีธนาคาร หรือสถาบันทางการเงินดูแล โดยดีไฟทำงานโดยใช้ระบบที่เรียกว่าสมาร์ตคอนแทร็กต์บนบล็อกเชน ที่การบริหารจัดการไม่ได้อยู่ที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง โดยอีเธอเรียมเป็นสกุลเงินที่นิยมมากที่สุดในระบบ[1] รูปแบบของดีไฟอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถให้ยืมสินทรัพย์จากผู้อื่น ในรูปแบบของอนุพันธ์ การแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี และการได้ดอกเบี้ยคล้ายกับบัญชีสะสมทรัพย์[2] โดยแอปพลิเคชันบางตัวของดีไฟมีการให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงเพื่อสนับสนุนการใช้งาน[2]แลกเปลี่ยนกับความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดขึ้น[1] ตัวเลขในเดือนมกราคม 2564 ได้มีสินทรัพย์ในระบบดีไฟมูลค่าเทียบเท่ากว่า 20,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (เทียบเท่าในส่วนของคริปโทเคอร์เรนซี) มีการใช้งานในระบบดีไฟ[3]

การกำกับดูแลในประเทศไทย แก้

ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ออกแนวทางในการกำกับการเงินแบบไม่รวมศูนย์ ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 โดยต้องได้รับอนุญาตจากก.ล.ต. และขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "'DeFi' movement promises high interest but high risk". Financial Times. 2019-12-30. สืบค้นเมื่อ 2020-10-06.
  2. 2.0 2.1 "Why 'DeFi' Utopia Would Be Finance Without Financiers: QuickTake". Bloomberg. 2020-08-26. สืบค้นเมื่อ 2020-10-06.
  3. Ponciano, Jonathan. "Ether's Market Value Surges $20 Billion In One Day While Bitcoin Prices Slow–Here's Why". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  4. "Decentralized Finance (DeFi) และการกำกับดูแลตามกฎหมายไทย". eFinanceThai. 2021-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้