ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลีย
ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลีย (ละติน: Ducatus Curlandiæ et Semigalliæ, โปแลนด์: Księstwo Kurlandii i Semigalii, เยอรมัน: Herzogtum Kurland und Semgallen, ลัตเวีย: Kurzemes un Zemgales hercogiste) เป็นดัชชีในภูมิภาคบอลติก โดยก่อตั้งขึ้นในปี 1561 จนในปี 1569 ดัชชีนี้ได้กลายเป็นเครือรัฐของแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย และ เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย ตั้งแต่ปี 1569 ถึงปี 1726 ดัชชีได้เข้าร่วมกับ เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย โดย Sejm ในปี 1726[1] จนในวันที่ 28 มีนาคม 1795 ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลียได้ถูกผนวกกับจักรวรรดิรัสเซียในการแบ่งโปแลนด์ครั้งที่สาม
ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลีย | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1561–1795 | |||||||||||
ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลีย ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1740 | |||||||||||
สถานะ | เครือรัฐ ของ โปแลนด์–ลิทัวเนีย (1561–1726) | ||||||||||
เมืองหลวง | Mitau | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | เยอรมัน, ลัตเวีย, ลิโวเนีย, Latgalian | ||||||||||
ศาสนา | ลูเทอแรน, โรมันคาทอลิก | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
Duke | |||||||||||
• 1561–1587 | Gotthard Kettler (first) | ||||||||||
• 1769–1795 | Peter von Biron (last) | ||||||||||
สภานิติบัญญัติ | Diet | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
28 พฤศจิกายน 1561 | |||||||||||
1637–1690 | |||||||||||
28 มีนาคม 1795 | |||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
1870 | 27,286 ตารางกิโลเมตร (10,535 ตารางไมล์) | ||||||||||
1897 | 27,286 ตารางกิโลเมตร (10,535 ตารางไมล์) | ||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• 1870 | 619154 | ||||||||||
• 1897 | 674437 | ||||||||||
สกุลเงิน | Thaler | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ลัตเวีย | ||||||||||
Adjective: Couronian, Courish, or Courlandish
Demonym: Courlander or Couronian |
ต่อมาดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลียได้จัดตั้งรัฐอายุสั้นขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ถึงวันที่ 22 กันยายน 1918 โดยใช้ชื่อเดียวกัน โดยเป็นแผนที่จะจัดตั้งสหดัชชีบอลติก (United Baltic Duchy) โดย จักรวรรดิเยอรมัน จนเยอรมนียอมจำนนในภูมิภาคบอลติกในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พื้นที่ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลียได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศลัตเวีย หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจบลง; ดูเพิ่มที่ ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลีย (ค.ศ. 1918)
ดยุคแห่งคูร์ลัน
แก้- กอททาร์ด เคตต์เลอร์, 1561–87, หัวหน้าคณะอัศวินลิโวเนียคนสุดท้าย และดยุคแห่งคูร์ลันและเซมีกัลเลียคนแรก
- ฟรีดริช (1587–1642, ปกครองเซมีกัลเลียทางตะวันออก) และ วิลเฮล์ม เคตต์เลอร์ (1587–1616, ปกครองคูร์ลันด์ทางตะวันตก)
- จาคอบ เคตต์เลอร์, 1642–82, บุตรคนเดียวของวิลเฮล์ม เคตต์เลอร์
- ฟรีดริช คาสิเมียร์ เคตต์เลอร์, 1682–98, บุตรคนใหญ่ของจาคอบ เคตต์เลอร์
- ฟรีดริช วิลเฮล์ม เคตต์เลอร์, 1698–1711, บุตรชายคนเดียวที่ยังมีชีวิตรอดของฟรีดริช คาสิเมียร์ เคตต์เลอร์; อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอันนาซึ่งภายหลังได้ครองราชย์เป็น จักรพรรดินีแอนนาแห่งรัสเซีย, ไร้รัชทายาท
- เฟอร์ดินานด์ เคตต์เลอร์, 1711–37, บุตรคนสุดท้ายของจาคอบ เคตต์เลอร์ที่ยังรอดชีวิตอยู่ หลังการมรณกรรรมของเขา ตระกูลเคตต์เลอร์ ก็ไร้ซึ่งผู้สืบทอด
- เอิร์นส์ โยฮัน ไบรอน, 1737–40, คนโปรดของจักรพรรดินีแอนนาแห่งรัสเซีย; เขาได้รับเลือกโดยขุนนางคูร์ลันภายใต้คำสั่ง
- คณะแห่งดยุค, 1740–58, ไบรอนถูกเนรเทศไปไซบีเรีย/ยาโรสลาฟล์โดยจักรพรรดินีเอลิซาเบทแห่งรัสเซีย
- หลุยส์ เอิร์นส์ แห่งบรันสวิค-ลืนบูร์ก, 27 มิถุนายน – 6 ธันวาคม 1741, ถูกขับไล่หลังการยึดอำนาจในรัสเซีย
- คาร์ลแห่งแซ็กโซนี, 1758–63, โอรสในพระเจ้าออกุสตุสที่ 3, กษัตริย์แห่งโปแลนด์และอีเล็กเตอร์แห่งแซ็กโซนี
- เอิร์นส์ โยฮัน ไบรอน, 1763–69, ได้รับการสถาปนาใหม่โดย แคทเธอรีนมหาราชินี
- ปีเตอร์ ฟอน ไบรอน, 1769–95, บุตรของเอิร์นส์ โยฮัน ไบรอน คูร์ลันด์ถูกรวมกับรัสเซียในค.ศ. 1795 และเขาได้รับเงินเป็นการตอบแทน
อ้างอิง
แก้- ↑ Volumina Legum, t. VI, Petersburg 1860, p. 209.