ดมีตรี เมดเวเดฟ

รองประธานสภาความมั่นคงรัสเซีย
(เปลี่ยนทางจาก ดมิตรี เมดเวเดฟ)

ดมีตรี อะนาตอลเยวิช เมดเวเดฟ (รัสเซีย: เกี่ยวกับเสียงนี้ Дми́трий Анато́льевич Медве́дев ; อังกฤษ: Dmitry Anatolyevich Medvedev) เป็นรองประธานสภาความมั่นคงรัสเซีย อดีตนายกรัฐมนตรีรัสเซียคนที่ 10 และอดีตประธานาธิบดีรัสเซียระหว่างปี 2008 ถึง 2012

ดมีตรี เมดเวเดฟ
Дмитрий Медведев
เมดเวเดฟในปี ค.ศ. 2016
รองประธานสภาความมั่นคงรัสเซีย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม ค.ศ. 2020
(4 ปี 72 วัน)
ประธานวลาดีมีร์ ปูติน
ประธานาธิบดีรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 – 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2012
(4 ปี 0 วัน)
นายกรัฐมนตรีวลาดีมีร์ ปูติน
ก่อนหน้าวลาดีมีร์ ปูติน
ถัดไปวลาดีมีร์ ปูติน
นายกรัฐมนตรีรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 – 16 มกราคม ค.ศ. 2020
(7 ปี 192 วัน)
ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน
ก่อนหน้าวลาดีมีร์ ปูติน
ถัดไปมีฮาอิล มีชุสติน
เสนาธิการเครมลิน
ดำรงตำแหน่ง
30 ตุลาคม ค.ศ. 2003 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005
(2 ปี 15 วัน)
ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน
ก่อนหน้าอะเล็กซานเดอร์ โวโลชิน
ถัดไปเซียร์เกย์ โซบยานิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ดมีตรี อานาตอลเยวิช เมดเวเดฟ

(1965-09-14) 14 กันยายน ค.ศ. 1965 (58 ปี)
เลนินกราด, สหภาพโซเวียต
ศาสนาออร์โธดอกซ์รัสเซีย
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต (ก่อน 1991)
ไม่สังกัดพรรค (1991–2011)
รัสเซียหนึ่งเดียว (2011–ปัจจุบัน)[1]
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์da-medvedev.ru

เมดเวเดฟเกิดในครอบครัวนักวิชาการของโซเวียตในนครเลนินกราด[2] จบการศึกษาด้วยกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเลนินกราดในปี 1987 และสำเร็จปริญญานิพนธ์ในปี 1990 และเข้าทำงานเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เขาจบมา ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เขาสอนในวิชากฎหมายพลเรือนและโรมันจนถึงปี 1999 เขาเริ่มงานการเมืองครั้งแรกในฐานะผู้จักการการเลือกตั้ง และได้เป็นที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นทำให้เขาได้รู้จักและกลายเป็นเพื่อนกับวลาดีมีร์ ปูติน

ในเดือนพฤศจิกายน 1999 เมดเวเดฟได้เข้าทำงานในฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีรัสเซีย และในปี 2000 ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองเสนาธิการเครมลิน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2000 เขาได้เป็นฝ่ายหาเสียงของปูติน และในวาระการดำรงตำแหน่งที่สองของประธานาธิบดีปูตินในเดือนพฤศจิกายน 2005 เขาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง รับผิดชอบฝ่ายสังคมและสวัสดิการ[3] และยังเป็นประธานกรรมการบริษัทก็ซพรอม[4] รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ของรัสเซียอีกด้วย และดำรงตำแหน่งจนถึงปี 2008

เมื่อประธานาธิบดีปูตินดำรงตำแหน่งครบสองวาระในปี 2008 ด้วยข้อจำกัดทางรัฐธรรมนูญทำให้ปูตินตัดสินใจส่งเมดเวเดฟเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี[5] ด้วยการสนับสนุนจากฐานเสียงของปูตินทำให้เมดเวเดฟชนะเลือกตั้งด้วยเสียงกว่า 70.28% ของจำนวนผู้ลงคะแนน เมื่อเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาก็แต่งตั้งปูตินเป็นนายกรัฐมนตรี ตัวเมดเวเดฟถูกมองว่าเป็นเสมือนหุ่นเชิดของปูติน เมื่อเมดเวเดฟดำรงตำแหน่งครบวาระในปี 2012 ปูตินก็กลับมาลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เมื่อปูตินเป็นประธานาธิบดีครั้งที่สองแล้ว ก็ตั้งเมดเวเดฟเป็นนายกรัฐมนตรี จึงถูกสื่อเรียกการเข้ารับตำแหน่งของทั้งสองในครั้งนั้นว่าเป็น "การสลับตำแหน่ง"

อ้างอิง แก้

  1. "Russian Prime Minister Finally Joins Ruling Party". Radio Free Europe/Radio Liberty. May 22, 2012. สืบค้นเมื่อ September 11, 2020.
  2. Who is Dmitry Medvedev? เก็บถาวร 2008-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Russia Today. 2008-03-04. เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-05 (อังกฤษ)
  3. Medvedev sweeps to victory เก็บถาวร 2008-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Russia Today. 2008-03-04. เรียกขัอมูลวันที่ 2008-03-05 (อังกฤษ)
  4. Medvedev Dmitry Anatolievich เก็บถาวร 2008-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Gazprom. เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-05 (อังกฤษ)
  5. Putin sees Medvedev as successor BBC News. 2007-12-10. เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-05 (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

 
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Dmitry Medvedev
ก่อนหน้า ดมีตรี เมดเวเดฟ ถัดไป
วลาดีมีร์ ปูติน   ประธานาธิบดีรัสเซีย
(ค.ศ. 2008 – 2012)
  วลาดีมีร์ ปูติน
วลาดีมีร์ ปูติน   นายกรัฐมนตรีรัสเซีย
(ค.ศ. 2012 – 2020)
  มีฮาอิล มีชุสติน