ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล
ผู้เขียนหลักของบทความนี้อาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเรื่องบทความ |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล (เกิด 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509) นักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตโฆษกกระทรวงกลาโหม
ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล | |
---|---|
![]() ฐิฏา ในปี พ.ศ. 2565 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ฐิติยา รังสิตพล 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | สิทธินันท์ มานิตกุล[1] |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยดัลลัส |
ชื่อเล่น | ปราง |
ประวัติ
พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุลนักการเมือง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวไทย[2][3] เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 มีชื่อเล่นว่า ปราง เป็นบุตรสาวของ สุขวิช รังสิตพล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตรองนายกรัฐมนตรี[4] กับผิวผ่อง รังสิตพล เป็นพี่สาวของ ศาสตราจารย์หญิง แพทย์หญิง นาวาตรีหญิง ฐิติพร สุวัฒนะพงศ์เชฏ และ ดร. ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม[5] ผิวผ่อง ณรงค์เดช รังสิตพล เป็นน้องสาว นาย ประสิทธิ์ ณรงค์เดช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พี่ชายนายเกษม ณรงค์เดช สามีของ คุณหญิง พรทิพย์ ณรงค์เดช
การศึกษา
- โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (สอบเทียบ)
- ปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท มหาวิทยาลัยดัลลัส
การทำงาน
เธอเริ่มรับราชการทหารตั้งแต่ปีพ.ศ. 2531 ในยศร้อยตรีหญิง ในแผนกทูตทหาร กองวิเทศสัมพันธ์ กรมข่าวทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งเป็นโฆษกกระทรวงกลาโหมคนแรก ในช่วงปีพ.ศ. 2538 - 2540[6]
เธอลาออกจากราชการในปีพ.ศ. 2540 และเข้าสู่การเมือง โดยเป็นรองโฆษกและรองเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ ตามลำดับ จนกระทั่งได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2544 สังกัดพรรคความหวังใหม่ [7]
ต่อมาในปีพ.ศ. 2545 พรรคความหวังใหม่ได้ถูกยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย เธอจึงได้เข้ามาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการของพรรค [8]
ในปีพ.ศ. 2565 เธอลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามผู้สมัครอิสระ[9] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง [10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[11]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[12]
อ้างอิง
- ↑ โสมชบาจ๊ะจ๋า 19/08/56
- ↑ ฐานข้อมูล พันโทหญิงฐิติยา รังสิตพล
- ↑ โสมชบาจ๊ะจ๋า 19/08/56
- ↑ ประวัติ “พ.ท.หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล” ผู้สมัครอิสระชิงผู้ว่าฯกทม. เจ้าของแม่บททางด่วน-รถไฟฟ้าใต้ดิน
- ↑ ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมคนใหม่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
- ↑ อดีต ส.ส.ปชป. เตรียมลงอิสระชิงผู้ว่าฯ กทม. หวังให้บทเรียน ปชป. “สูญพันธุ์”
- ↑ https://db.sac.or.th/clipping/public/library/1999/09/254216051.pdf
- ↑ https://voicetv.co.th/read/Vyj3q1khz
- ↑ หมายเลข 2 พ.ท.(หญิง) ฐิฎา รังสิตพล มานิตกุล
- ↑ https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/169241/amp
- ↑ "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-02. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.