ฌ็อง มักซีมีเลียง ลามาร์ก

ฌ็อง มักซีมีเลียง ลามาร์ก (ฝรั่งเศส: Jean Maximilien Lamarque; ค.ศ. 1770 – ค.ศ. 1832) นิยมเรียกอย่างลำลองว่า นายพลลามาร์ก เป็นผู้บัญชาการทหารชาวฝรั่งเศส ยศพลโท (général de division) ในสมัยสงครามนโปเลียนและในภายหลังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา นายพลลามาร์กเป็นหนึ่งในผู้นำคนสำคัญของกองทัพภายใต้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และได้รับการยกย่องอย่างมากจากคือการยึดครองกาปรีจากการปกครองของอังกฤษ รวมทั้งความพ่ายแพ้ของเขาแก่กองกำลังฝ่ายนิยมกษัตริย์ที่จังหวัดว็องเดเมื่อปี ค.ศ. 1815 ชัยชนะของเขาได้รับการชื่นชมอย่างมากโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ว่าเขาเป็นคนที่ "สร้างปาฏิหาริย์ และเหนือความคาดหวังอยู่เสมอ"

ฌ็อง มักซีมีเลียง ลามาร์ก
22 กรกฎาคม ค.ศ. 1770 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1832(1832-06-01) (61 ปี)

ฌ็อง มักซีมีเลียง ลามาร์ก
เกิดที่ แซ็ง-เซแวร์ จังหวัดล็องด์
ฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศส
อนิจกรรมที่ ปารีส
เหล่าทัพ ฝรั่งเศส กองทัพแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศส
ยศสูงสุด พลโท (général de division)
(เมื่อ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1807)
รับใช้ ฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1
ฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1
ราชอาณาจักรเนเปิลส์
ราชอาณาจักรสเปน (1808-1803)
การยุทธ สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
สงครามนโปเลียน
บำเหน็จ Royal Order of the Two-Sicilies

เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์

อาชีพอื่น นักการเมือง, นักเขียน

ภายหลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง นายพลลามาร์กก็ได้กลายมาเป็นฝั่งตรงข้ามทันทีในยุคของการกลับมาของการปกครองระบบเก่า (Ancien Régime) และต่อมาในการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์บูร์บงอีกครั้งในปี ค.ศ. 1830 เขาก็ได้ถูกแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังเพื่อเฝ้าระวังผู้นิยมราชวงศ์บูร์บง ที่เรียกตัวเองว่า "เหล่าผู้สืบสิทธิโดยนิติธรรม"(légitimistes) อันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับราชวงศ์ออร์เลอ็อง


ต่อมาในยุคของการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (July Monarchy) เขาเป็นผู้นำฝ่ายซ้าย (เสรีนิยม) หนึ่งในผู้สนับสนุนพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1ให้ขึ้นครองราชย์ ซึ่งในภายหลังก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เนื่องจากการปกครองแบบใหม่นี้ก็ยังไม่ได้ช่วยเรื่องสิทธิมนุษยชน และความมีเสรีภาพของพรรคการเมือง เขายังเป็นอีกผู้หนึ่งที่สนับสนุนการให้เอกราชของโปแลนด์และอิตาลีในขณะนั้น นายพลลามาร์กยังเป็นนักเขียนที่มีความคิดแนวเสรีนิยมคนหนึ่งในสมัยนั้น แนวความคิดต่างๆ ของนายพลลามาร์กทำให้เขาเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญในฝรั่งเศส การถึงแก่อสัญกรรมของเขาเป็นตัวแปรสำคัญที่กระตุ้นการกบฎของประชนชาวปารีสในเดือนมิถุนายน (June Rebellion) ปี ค.ศ. 1832 ซึ่งเป็นที่มาของฉากและบทประพันธ์เรื่องเลมีเซราบล์ (Les Misérables) ของวิกตอร์ อูโก

บรรณานุกรม แก้

  • Alfred Cobban, A History of Modern France, 1992.
  • Jill Harsin, Barricades: The War of the Streets in Revolutionary Paris, 1830–1848, 2002.
  • Vincent J. Esposito and John Elting, A Military History and Atlas of the Napoleonic Wars, 1999.