ฌัก แนแกร์
ฌัก แนแกร์ (ฝรั่งเศส: Jacques Necker) เป็นนายธนาคารชาวสวิสซึ่งกลายเป็นรัฐบุรุษ รัฐมนตรีคลัง และหัวหน้ารัฐบาลฝรั่งเศสในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ฌัก แนแกร์ Jacques Necker | |
---|---|
![]() | |
มุขมนตรีแห่งรัฐฝรั่งเศส | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กรกฎาคม 1789 – 3 กันยายน 1790 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 |
ก่อนหน้า | บารอนแห่งเบรอเตย |
ถัดไป | เคานต์แห่งมงมอแร็ง |
ดำรงตำแหน่ง 25 สิงหาคม 1788 – 11 กรกฎาคม 1789 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 |
ก่อนหน้า | อาร์ชบิชอปแห่งบรีแยน |
ถัดไป | บารอนแห่งเบรอเตย |
ขุนคลังเอก | |
ดำรงตำแหน่ง 25 สิงหาคม 1788 – 11 กรกฎาคม 1789 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 |
ก่อนหน้า | เอเตียน ชาร์ล เดอ บรีแยน |
ถัดไป | Joseph Foullon de Doué |
ผู้อำนวยการพระคลังหลวง | |
ดำรงตำแหน่ง 29 มิถุนายน 1777 – 19 พฤษภาคม 1781 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 |
ก่อนหน้า | หลุยส์ กาบรีแยล ตาบูโร |
ถัดไป | ฌ็อง-ฟร็องซัว ฌอลี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 กันยายน ค.ศ. 1732 เจนีวา, สาธารณรัฐเจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์ |
เสียชีวิต | 9 เมษายน ค.ศ. 1804 (71 ปี) กอแป, รัฐโว, สวิตเซอร์แลนด์ |
ศาสนา | โปรเตสแตนต์ |
แนแกร์เกิดในเจนีวาในยุคที่เจนีวายังเป็นรัฐอิสระ เขาเป็นบุตรของคาร์ล ฟริดริช เน็คเคอร์ ชาวเยอรมันเชื้อสายปรัสเซีย แนแกร์เริ่มมีผลงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เขาก็เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายมหาชนที่เจนีวา ต่อมาในปี ค.ศ. 1747 เขาถูกส่งตัวไปเป็นเสมียนที่ธนาคารของเพื่อนบิดาในกรุงปารีส ต่อมาในปี ค.ศ. 1762 เขาได้กลายเป็นหุ้นส่วนในธนาคารแห่งนี้และกลายเป็นเศรษฐีในระยะเวลาอันรวดเร็วจากการเก็งราคา ไม่นานต่อมาเขาก็ร่วมกับปีเตอร์ เธลลุสสัน นายธนาคารชาวสวิส ก่อตั้งธนาคารเธลลุสสันขึ้นในกรุงลอนดอน โดยแนแกร์เป็นหุ้นส่วนที่บริหารสาขาในปารีส ธนาคารแห่งนี้ยังปล่อยเงินกู้จำนวนมากแก่ราชสำนักฝรั่งเศส
ในปี ค.ศ. 1777 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการพระคลังหลวง (directeur général du Trésor royal) ซึ่งเทียบเท่ารัฐมนตรีคลัง[1] ซึ่งในช่วงแรกเขาได้รับความเชื่อถืออย่างมากจากการปฏิรูปจัดเก็บภาษีรายหัวให้มีความเท่าเทียม และแทนที่จะขึ้นภาษี เขากลับกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้สูง[2] ทำให้ได้เงินฝากมหาศาลมาปล่อยกู้แก่ราชสำนักฝรั่งเศสมาใช้จ่าย เขายังสนับสนุนเงินกู้แก่การมีส่วนร่วมของฝรั่งเศสในสงครามปฏิวัติอเมริกา[3] อย่างไรก็ตาม การก่อหนี้มหาศาลไปกับสงครามในอเมริกาทำให้วิกฤตการคลังขึ้นในปี 1781[4] ขณะเดียวกัน นโยบายปฏิรูปต่าง ๆ ของเขาก็สร้างศัตรูไปทั่วราชสำนักโดยเฉพาะกับพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ซึ่งคอยขัดขวางการปฏิรูปของแนแกร์ฝ่านทางพระราชสวามีมาตลอด แนแกร์จึงตัดสินใจลาออก
แนแกร์ถูกเรียกตัวกลับมาดำรงตำแหน่งมุขมนตรีแห่งรัฐ (principal ministre d'État) และขุนคลังเอก (Contrôleur général des finances) ในปี ค.ศ. 1788 ในห้วงเวลาที่วิกฤติทางการเมืองและสังคมกำลังก่อตัวในสังคมฝรั่งเศส เขาถูกมองว่าจะเป็นผู้ช่วยฝรั่งเศสให้พ้นภัย แต่ความพยายามต่าง ๆ ของเขาก็ไม่สามารถหยุดยั้งการปฏิวัติฝรั่งเศสไว้ได้ เขาถูปลดจากตำแหน่งในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 แต่หลังจากนั้นสามวันก็เกิดการทลายคุกบัสตีย์ขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเรียกตัวเขากลับมาเป็นมุขมนตรี
แนแกร์ยอมรับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลโดยตั้งเงื่อนไขกับพระเจ้าหลุยส์ว่าต้องให้อำนาจยับยั้งชั่วคราว (วีโต) แก่เขา และปฏิเสธที่จะทำงานร่วมกับรัฐบุรุษคนอื่น ๆ อย่างมีราโบ หรือลา ฟาแย็ต เขาได้ออกพระราชกฤษฎีกา 7 พฤศจิกายน ซึ่งเปิดทางให้คณะรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการสรรหาและเลือกโดยสภา กฎหมายฉบับนี้เป็นการปิดโอกาสไม่ได้เกิดฝ่ายบริหารที่มีอำนาจมากล้นจนเกินไป อย่างไรก็ตาม ความพยายามต่าง ๆ ของเขาดูจะไร้ผล จนผู้คนเริ่มหมดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวเขาทำให้เขาตัดสินใจลาออกในปี ค.ศ. 1790[5][6]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ M. Adcock, Analysing the French Revolution, Cambridge University Press, Australia 2007.
- ↑ Donald F. Swanson and Andrew P. Trout, "Alexander Hamilton, 'the Celebrated Mr. Neckar,' and Public Credit," The William and Mary Quarterly 47, no. 3 (1990): 424.
- ↑ Nicola Barber, The French Revolution (London: Hodder Wayland, 2004), 11.
- ↑ George Taylor, review of Jacques Necker: Reform Statesman of the Ancien Regime, by Robert D. Harris, Journal of Economic History 40, no. 4 (1980): 878.
- ↑ Furet and Ozuof, A Critical Dictionary,288.
- ↑ Doyle, William. The French Revolution. A Very Short Introduction.