ซูบัก
ซูบัก (อินโดนีเซีย: Subak) คือชื่อของระบบการจัดการน้ำ (ชลประทาน) สำหรับนาข้าวบนเกาะบาหลี จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีการคิดค้นเป็นเวลานานกว่า 1,000 ปี ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 สำหรับชาวบาหลี ระบบชลประทานบนเกาะนั้นไม่ง่ายที่จะจัดหาน้ำสำหรับพืชพรรณต่าง ๆ แต่น้ำถูกใช้ในการสร้างระบบนิเวศเทียม นาข้าวในบาหลีถูกสร้างรอบ ๆ วัด และการจัดสรรน้ำถูกสร้างโดยนักบวช ซูบักคือระบบชลประทานที่ยั่งยืนตามธรรมชาติซึ่งผูกสังคมเกษตรกรรมบาหลีเข้าด้วยกันภายในศูนย์ชุมชนของหมู่บ้านและวัดบาหลี[1] ครอบคลุม 19,500 เฮกตาร์ การจัดการน้ำอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของนักบวชในวัดต่าง ๆ ซึ่งมีการฝึกฝนปรัชญาไตรหิตกรณะ (Tri Hita Karana) หรือความสัมพันธ์ของดินแดนระหว่างวิญญาณ โลกมนุษย์ และพระเจ้า ไตรหิตกรณะเกี่ยวข้องกับวิธีการโบราณตามอย่างในอินเดียโดยฤๅษีในศาสนาฮินดู
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของจังหวัดบาหลี : ระบบซูบัก หลักการตามปรัชญาไตรหิตกรณะ * | |
---|---|
![]() | |
![]() นาขั้นบันไดบาหลีเป็นส่วนหนึ่งของระบบชลประทานซูบัก | |
พิกัด | 8°15′25.8″S 115°24′27.9″E / 8.257167°S 115.407750°E |
ประเทศ | ![]() |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (ii), (iii), (v), (vi) |
อ้างอิง | 1194 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2555 (คณะกรรมการสมัยที่ 36) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
มรดกโลก แก้
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 36 เมื่อ พ.ศ. 2555 องค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียน "ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของจังหวัดบาหลี : ระบบซูบัก หลักการตามปรัชญาไตรหิตกรณะ" ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้[2]
- (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
- (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
- (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
สมุดภาพ แก้
-
วัดปูราตามันอายุน (Pura Taman Ayun)
-
รูปปั้นพ่นน้ำบาหลีในวัดโกอากาจะฮ์