ซูดีร์มันคัพ หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ สุธีรมานคัพ (อินโดนีเซีย: Sudirman Cup) เป็นการแข่งขันแบดมินตันประเภททีมผสมชิงแชมป์โลก จัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี โดยให้เกียรติ ดิก ซูดีร์มัน นักแบดมินตันชาวอินโดนีเซีย ผู้ก่อตั้งสมาคมแบดมินตันอินโดนีเซียขึ้น การแข่งขันจะเป็นการแข่งขันประเภททีมแบ่งเป็น 5 ประเภทได้แก่ ชายเดี่ยว, หญิงเดี่ยว, ชายคู่, หญิงคู่ และคู่ผสม โดยนำทีมที่ชนะเข้ารอบต่อไป การแข่งขันแบดมินตันซูดีร์มันคัพ จัดขึ้นครั้งแรก ณ จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 24-29 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 และเวียนไปจัดแต่ละประเทศทุกๆ 2 ปี

ซูดีร์มันคัพ
การแข่งหรือฤดูกาลปัจจุบัน:
เหตุการณ์กีฬาปัจจุบัน 2021 Sudirman Cup
กีฬาBadminton
ก่อตั้ง2532
ผู้ก่อตั้งGeorge Alan Thomas
จำนวนทีม28
ประเทศBWF member nations
ทีมชนะเลิศปัจจุบันธงของประเทศจีน จีน (12 สมัย)
ทีมชนะเลิศสูงสุดธงของประเทศจีน จีน (12 สมัย)
เว็บไซต์Sudirman Cup at Badminton.de


ถ้วยซูดีร์มันคัพ แก้

ถ้วยซูดีร์มันคัพ มีความสูงประมาณ 80 เซนติเมตร มีส่วนผสมของทองคำและเงินอยู่ 92 เปอร์เซนต์ ส่วนฐานตัวถ้วยทำมาจากไม้สักอย่างดี ลักษณะถ้วยจะออกแบบให้เหมือนทรงลูกขนไก่ ซึ่งใช้ในการแข่งขัน มีรูปทรงที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ลักษณะการแข่งขัน แก้

การแข่งขันจะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 7 กลุ่มจากทุกประเทศ ,ทวีป ,ทั่วโลก โดยจะนำทีมจากกลุ่มที่ 1 เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์เข้าไปแข่งขันเพื่อชิงถ้วยซูดีร์มันคัพได้

ผลการแข่งขัน แก้

ปี เจ้าภาพ รอบชิงชนะเลิศ
ชนะเลิศ ผลการแข่งขัน รองชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 2
2532 จาการ์ตา  
อินโดนีเซีย
3–2  
เกาหลีใต้
 
จีน
 
เดนมาร์ก
2534 โคเปนเฮเกน  
เกาหลีใต้
3–2  
อินโดนีเซีย
 
จีน
 
เดนมาร์ก
2536 เบอร์มิงแฮม  
เกาหลีใต้
3–2  
อินโดนีเซีย
 
จีน
 
เดนมาร์ก
2538 โลซาน  
จีน
3–1  
อินโดนีเซีย
 
เกาหลีใต้
 
เดนมาร์ก
2540 กลาสโกว์  
จีน
5–0  
เกาหลีใต้
 
อินโดนีเซีย
 
เดนมาร์ก
2542 โคเปนเฮเกน  
จีน
3–1  
เดนมาร์ก
 
อินโดนีเซีย
 
เกาหลีใต้
2544 เซบิยา  
จีน
3–1  
อินโดนีเซีย
 
เดนมาร์ก
 
เกาหลีใต้
2546 ไอนด์โฮเวน  
เกาหลีใต้
3–1  
จีน
 
เดนมาร์ก
 
อินโดนีเซีย
2548 ปักกิ่ง  
จีน
3–0  
อินโดนีเซีย
 
เดนมาร์ก
 
เกาหลีใต้
2550 กลาสโกว์  
จีน
3–0  
อินโดนีเซีย
 
อังกฤษ
 
เกาหลีใต้
2552 กว่างโจว  
จีน
3–0  
เกาหลีใต้
 
อินโดนีเซีย
 
มาเลเซีย
2554 ชิงเต่า  
จีน
3–0  
เดนมาร์ก
 
อินโดนีเซีย
 
เกาหลีใต้
2556 กัวลาลัมเปอร์  
จีน
3–0  
เกาหลีใต้
 
ไทย
 
เดนมาร์ก
2558 ตงกว่าน  
จีน
3–0  
ญี่ปุ่น
 
อินโดนีเซีย
 
เกาหลีใต้
2560 โกลด์โคสต์  
เกาหลีใต้
3–2  
จีน
 
ไทย
 
ญี่ปุ่น
2562 หนานหนิง  
จีน
3–0  
ญี่ปุ่น
 
ไทย
 
อินโดนีเซีย
2564 วันตา  
จีน
3–1  
ญี่ปุ่น
 
มาเลเซีย
 
เกาหลีใต้


ตารางเหรียญการแข่งขัน แก้

ทีม ชนะเลิศ รองชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 2 รวม(ครั้ง)
  จีน 12 (2538, 2540, 2542, 2544, 2548, 2550, 2552, 2554, 2556, 2558, 2562, 2564) 2 (2546,2560) 3 (2532,2534,2536) 17
  เกาหลีใต้ 4 (2534, 2536, 2546, 2560) 4 (2532, 2540, 2552, 2556) 8 (2538,2542,2544,2548,2550,2554,2558,2564) 16
  อินโดนีเซีย 1 (2532) 6 (2534, 2536, 2538, 2544, 2548, 2550) 7 (2540, 2542, 2546, 2552, 2554, 2558, 2562) 14
  เดนมาร์ก 2 (2542, 2554) 9 (2532,2534,2536,2538,2540,2544,2546,2548,2556) 11
  ญี่ปุ่น 3 (2558, 2562, 2564) 1 (2560) 4
  ไทย 3 (2556, 2560, 2562) 3
  มาเลเซีย 2 (2552, 2564) 2
  อังกฤษ 1 (2550) 1

แหล่งข้อมูลอื่น แก้