ซูซูกิ คิซาชิ (อังกฤษ: Suzuki Kizashi) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ที่ผลิตโดยซูซูกิ เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซูซูกิ คิซาชิ เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นแรกของซูซูกิที่ซูซูกิพัฒนาด้วยตนเอง เนื่องจากในช่วงก่อนหน้านั้น ซูซูกิ มีรถขนาดกลางอยู่แล้วรุ่นหนึ่ง คือ ซูซูกิ เวโรน่า (อังกฤษ: Suzuki Verona) ซึ่งเป็นรถที่แลกเปลี่ยนกับแดวู มอเตอร์สผลิตในช่วงปี พ.ศ. 2547-2549 ในตลาดอเมริกา ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่เนื่องจากในขณะนั้นซูซูกิต้องการขยายไลน์รถยนต์เพิ่มให้ครบทุกความต้องการ ซึ่งเป็นความหวังของซูซูกิ มอเตอร์เช่นกัน

ซูซูกิ คิซาชิ
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตซูซูกิ
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2552 - 2557
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถังซีดาน 4 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า โคโรน่า/คัมรี่
ฮอนด้า แอคคอร์ด
นิสสัน เซฟิโร่/เทียน่า
มาสด้า 626/6
มิตซูบิชิ กาแลนต์
อีซูซุ อาสก้า
ฮุนได โซนาต้า/ไอ40
เกีย ออพติมา
แดวู เอสเปอโร/เลกันซา/แม็กนัส/ทอสก้า
เชฟโรเลต มาลิบู
ฟอร์ด ทอรัส/มอนดิโอ
ซูบารุ เลกาซี
ซีตรอง ซองเทีย/C5/DS5
เปอโยต์ 406/407/508
โฟล์กสวาเกน พัสสาท
โอเปิล เวคตร้า/ซิกนัม/อินซีเนีย
โฮลเด้น คอมมอเดอร์
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าซูซูกิ เวโรน่า
รุ่นต่อไปซูซูกิ เซียส

ซูซูกิ คิซาชิ เป็นรถยนต์ที่มีชื่อแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า โหมโรง เช่นเดียวกับคำว่า Prelude ซึ่งเป็นชื่อรถสปอร์ตรุ่นหนึ่งของฮอนด้า มีฐานการประกอบอยู่ที่ชิซุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่น เริ่มจำหน่ายครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และหยุดการจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เริ่มจำหน่ายในญี่ปุ่นวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เริ่มจำหน่ายในอเมริกาเหนือวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เริ่มจำหน่ายในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และครั้งล่าสุดมีจำหน่ายที่อินเดีย วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โดยเป้าหมายคือการเป็นรถส่งสารแบรนด์ Suzuki DNA ให้แข็งแกร่งมากขึ้นพร้อมแข่งขันกับคู่แข่งซึ่งเป็นรถที่มีคุณภาพ มีรางวัลรับประกันได้ และขยายไลน์สินค้าให้ครอบคลุมทุกความต้องการนอกเหนือจากรถยนต์นั่งขนาดเล็ก รถจักรยานยนต์ และรถเอนกประสงค์

ซูซูกิ คิซาชิมีตัวถัง 1 แบบคือ ซีดาน 4 ประตู วางเครื่องยนต์อยู่ด้านหน้า มีระบบขับเคลื่อนล้อหน้าและระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 2.4 ลิตร พร้อมกับเกียร์ธรรมดา 6 สปีด และเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT มีระยะฐานล้อ 2,700 มม. ความยาว 4,650 มม. ความกว้าง 1,820 มม. และความสูง 1,480 มม.

อ้างอิง

แก้